27 ม.ค. 2020 เวลา 00:33 • ข่าว
ไทยเราเจ๋ง ‼️
เครดิตภาพจากอินเตอร์เน็ต
“ดร. สุภาภรณ์ นักเทคนิคการแพทย์” ผู้ถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสในค้างคาวไทย ตรงกับไวรัสอู่ฮั่น เจอก่อนจีน เปิดเผยโรคนี้ 2 วัน
ดร.ทนพญ.สุภาภรณ์ วัชรพฤษาดี นักเทคนิคการแพทย์ รองหัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์สภากาชาดไทย ในวันที่ 9 ม.ค.2563 ไทยพบว่า เป็นเชื้อไวรัสตระกูลโคโรน่า แต่ไม่สามารถระบุสายพันธุ์ย่อยได้ แต่พบว่ามีความคล้ายคลึงกับเชื้อที่ก่อโรคซาร์ส
ไวรัสโคโรน่า (Corona Virus) เป็นไวรัสที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่มีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอ(RNA) และมีเปลือกหุ้มด้านนอกที่ประกอบด้วยโปรตีนคลุมเป็นปุ่มๆ (spikes) ยื่นออกไปจากอนุภาคไวรัส ทำให้เมื่อดูด้วย กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จะเห็นเป็นเหมือนมงกุฎ ล้อมรอบในภาษาลาติน corona แปลว่า crown หรือ มงกุฎ จึงเป็นที่มาของชื่อเชื้อไวรัสในกลุ่มนี้
แบ่งเป็น 4 จีนัสคือ
📍Alpha-coronavirus : ก่อโรคในคนที่ทำให้มีอาการของระบบทางเดินหายใจที่ไม่รุนแรง และมักมีการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ
📍Beta-coronavirus : ก่อโรครุนแรงในคนและข้ามสปีชีส์มาจากสัตว์ เช่น SARS-CoV และ MERS-CoV
📍Gamma-coronavirus
📍Delta-coronavirus
กล่าวว่า เท่าที่มีข้อมูลตอนนี้ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 นี้ มีรหัสพันธุกรรมใกล้เคียงกับเชื้อที่พบในค้างคาวมากที่สุดที่ประมาณ 89% ได้แก่
🦇 ค้างคาวมงกุฎ
ซึ่งพบในจีน 2 สปีชีส์
🦇ค้างคาวเกือกม้าของจีน (Rhinolophus sinicus) ไม่พบในไทย
🦇ค้างคาวมงกฎยอดสั้นเล็ก (Rhinolophus thomast) พบในไทย
“ส่วนที่เชื้อจากค้างคาว จะอาศัยสัตว์ทะเลเป็นตัวกลางปรับเปลี่ยนสารพันธุกรรม ในการมาสู่คนนั้น ค่อนข้างยาก เพราะค้างคาวเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม การจะเป็นตัวกลางก็น่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนกัน แต่ก็อยู่ที่ความสามารถของตัวเชื้อด้วย“ดร.ทนพญ.สุภาภรณ์กล่าว
ดร.ทนพญ.สุภาภรณ์ กล่าวต่ออีกว่า
“ การตรวจหาโคโรนาตัวใหม่ต้องใช้วิธีพิเศษเพราะการตรวจวิธีปกติไม่สามารถตรวจเจอเชื้อได้ คือ เพิ่มปริมาณไวรัสแบบทั้งตระกูล(Family wide PCR) แล้วถอดรหัสพันธุกรรม ก่อนนำมาเปรียบเทียบรหัสพันธุกรรมจากธนาคารรหัสพันธุกรรมโลก
1
เมื่อถอดรหัสพันธุกรรมสำเร็จพบว่าเหมือนกับ “Bat SARS-like Coronavirus” ประมาณ 82-90% หลังจากนั้นจึงนำไปเปรียบเทียบกับเชื้อที่ตรวจพบที่อู่ฮั่นซึ่งพบว่าตรงกัน 100 %”
ไวรัสโคโรน่ามีสารพันธุกรรมเป็นอาร์เอ็นเอจึงมีโอกาสกลายพันธุ์สูง และสามารถก่อการติดเชื้อข้ามสปีชีส์ได้มากขึ้นในสถานที่ที่นำสัตว์เหล่านี้มาอยู่รวมกันอย่างหนาแน่น ดังเช่นในตลาดค้าสัตว์เพื่อเป็นอาหาร ที่เป็นแหล่งแพร่เชื้อ SARS-CoV จาก civet cat (ชะมด) สู่คน
เครดิตภาพจากอินเตอร์เน็ต
ขอบคุณที่มา : Archikoo
ขอขอบคุณเนื้อข่าวจาก Ref : Medtechtoday

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา