27 ม.ค. 2020 เวลา 05:16 • ธุรกิจ
อนาคต แบงค์ จะถูก Disruption อย่างรุนแรง!!
Libra อาจจะมาทำลายระบบการเงินของโลก!!
หรือ Cryptocurrency กำลังจะมาแทนเงินแบบกระดาษ!!!
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ประเทศไทยมีทางออก หรือหนทางสำรองเตรียมรับมือไว้บ้างแล้วรึยัง??
1
คำตอบคือ มีครับ!!
cr. https://www.salika.co/2018/08/25/project-inthanon-central-bank-digital-currency-by-bot/
ซึ่ง โปรเจคนี้ มีชื่อว่า "อินทนนน์"
อินทนนน์โปรเจค คืออะไร??
พูดให้เข้าใจง่าย ๆ คือ การที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย จับมือกับสถาบันการเงินอีก 8 แห่ง ร่วมกันพัฒนาระบบบน Blockchain และสร้างเครือข่ายที่จะโอนเงินสู่กันและกันขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็น ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งแน่นอนว่า เงินที่โอน ไม่ใช่เงินบาท แต่มันจะมีชื่อว่า "อินทนนท์"
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ฮือฮา ตั้งแต่ปลายปี 2018 กันเลย ที่แบงค์ชาติ ประกาศว่าจะทำ อินทนนน์โปรเจค เพราะในตอนนั้น น้อยคนนักที่คิดว่า ไทยเราจะปรับตัวรวดเร็วเช่นนี้
แต่นี่ก็ถือเป็นโอกาสที่ดี เป็นทางรอดที่ดูมีความหวัง ถ้าเกิด Libra ดังระเบิดระเบ้อขึ้นมา ทางไทยเองก็มี "อินทนนท์" เป็นตัวคอยคานอำนาจได้
ด้วยความที่มันเกิดจากธนาคารไทย และธนาคารแห่งประเทศไทย แน่นอนว่า Trust ที่มี ทุกคนย่อมต้องเชื่อ แน่ ๆ อยู่แล้ว ผิดกับ Libra ที่มาใหม่ คงต้องใช้เวลาสักพัก กว่าจะสร้าง Trust ขึ้นมาได้
ทำไมถึงชื่อ อินทนนท์โปรเจค?
เพราะในหลายประเทศเขา ก็มีโครงการทำ เงิน ดิจิทัลประจำชาติแบบเราเหมือนกัน และเขาก็นำชื่อสวนต่าง ๆ มาตั้ง อย่าง สิงคโปร์ ก็ใช้ชื่อว่า "Ubin" แคนนาดาก็ใช้ชื่อว่า "Jasper"
ก็เลยมองไปถึงสถานที่ที่สูงที่สุดในไทยอย่างดอย อินทนนท์ ซึ่งเหมาะกับการ "มองไกล" ของแบงค์ชาติในคราวนี้ จึงนำชื่อดอย อินทนน์ ที่ทุกคนน่าจะรู้จักกันดีมาใช้ นั่นเอง
2
cr. ภาพข่าวสด
ธนาคารที่ร่วมมือกับแบงค์ชาติ มีอะไรบ้าง?
รายชื่อธนาคารที่ร่วมมือกับแบงค์ชาติ ก็มี ธนาคารไทยพาณิชย์
ธนาคารกสิกรไทย
ธนาคารกรุงเทพ
ธนาคารกรุงไทย
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
ธนาคารธนชาติ
ธนาคารสแตนดาร์ทชาร์เตอร์ดไทย
ธนาคาร ฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้แบงกิ้งคอร์ปอเรชั่น ร่วมกับบริษัท R3(ผู้ดูแลระบบ Blockchain) ทำระบบนี้ด้วยกัน
ความคืบหน้าตอนนี้ไปถึงไหนแล้ว??
อินทนนท์ โปรเจค แบ่งเป็นทั้งหมด 3 เฟส ซึ่งตอนนี้ อยู่ในช่วงของ เฟสที่ 3
เฟสแรก เป็นการลองสร้างเหรียญ Cryptocurrency และใช้โอนเงินกันระหว่าง แบงค์กับแบงค์ ซึ่งเฟสนี้ผ่านไปได้ด้วยดี ตั้งแต่ต้นปี 2562
เฟสที่สอง เป็นการลองนำระบบ Blockchain มาใช้ในการซื้อขาย ตราสารหนี้ หรือพันธบัตร ที่มีกำหนดระยะเวลาซื้อคืน โดยใช้ หนึ่งใน ฟังก์ชั่นของ Blockchain ที่มีชื่ว่า Smart contract มาใส่เป็นข้อกำหนด ทำให้ไม่ต้องมานั่งเช็คว่าถึงเวลาแล้วรึยัง เมื่อถึงเวลาระบบจะทำการซื้อ-ขายคืน อัตโนมัติ ซึ่งก็ ผ่านไปเรียบร้อยแล้วเมื่อช่วง กลาง ๆ ปี 2562
เฟสที่สาม คือการโอนเงินข้ามประเทศ โดยร่วมมือกับ ธนาคารกลางฮ่องกง (Hong Kong Monetary Authority: HKMA) ในการทดสอบนี้ และข่าวดี ก็คือ เมื่อ 22 มกราที่ผ่านมานี้ ได้มีประกาศออกมาว่า ทดสอบเฟส 3 แล้ว สำหรับการโอนเงินข้ามประเทศ ผลปรากฎว่าเป็นไปได้ด้วยดี
มาถึงตรงนี้แล้วหลาย ๆ คนคงสงสัยใช่ไหมครับ แล้วจะใช้ได้เมื่อไหร่เหรียญนี้??
คำตอบที่แบงค์ชาติ เคยพูดไว้คือ ประมาณ 3-5 ปี จากการทำโปรเจค ซึ่งเริ่มตั้งแต่ 2561 ซึ่งมองในแง่ดี ก็อย่างเร็วคงไม่เกินปีหน้า
1
อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญมาก ๆ เลยคือเรื่องข้อจำกัด การวางกฎระเบียบให้ครอบคลุม ในด้านการใช้งาน เพื่อป้องกันการกระทำที่ผิดกฎหมายต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น ซึ่งอันนี้ จะต้องออกแบบให้ตรงกับ การใช้งานในปัจจุบันต่อไป
เห็นแบบนี้แล้วก็รู้สึกอุ่นใจขึ้นมาหน่อยนึงนะครับ ว่าต่อให้ มี Libra เข้ามา ทางประเทศไทยเองก็จะมี สกุลเงินของตัวเองไว้ใช้ด้วยเช่นกัน
ซึ่งข้อดีก็คือ จะกันการที่เงินในประเทศจะไหลออกไปนอกประเทศได้มากกว่า เพราะการใช้ สกุลเงินของประเทศเอง ย่อมดีกว่าสกุลของประเทศอื่น ๆ อยู่แล้ว
และอัตราที่ แบงค์ชาติกำหนดในเบื้องต้นคือ 1 เหรียญ เท่ากับ 1 บาทไทย ซึ่งก็เรียกว่าไม่แตกต่างอะไรเลยกับเงินที่เราใช้ ๆ อยู่
อนาคตเราอาจจะเปลี่ยนจากเงินสดไปเป็นเงินดิจิทัล กันจริง ๆ จัง ๆ
แต่สำหรับประเทศเรา คงต้อง ค่อย ๆ เป็น ค่อย ๆ ไปแหละครับ
เพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะสันทัดเทคโนโลยี แต่ จะไม่เปลี่ยน ก็คงจะยาก
เฝ้ารอดูกันต่อไปว่าอนาคต ของประเทศจะเป็นเช่นไร
ที่มา

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา