Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าคนเข้าป่า
•
ติดตาม
28 ม.ค. 2020 เวลา 07:49 • การศึกษา
ค้างคาว -ฮีโร่แห่งรัตติกาล ไม่ได้น่ากลัวอย่างคิด แต่มีประโยชน์มากกว่าที่เห็น
ตอนนี้ข่าวเกี่ยวกับไวรัสโคโรน่า กำลังเป็นที่แพร่หลายอย่างมาก การแพร่ระบาดที่รวดเร็วของโรคและความน่ากลัวที่ ณ ตอนนี้ยังไม่มียารักษาออกมา ทำให้หลายประเทศอยู่สภาวะตึงเครียด ล่าสุดทางการจีนได้ทำการประกาศเป็นสภาวะฉุกเฉินสั่งปิดประเทศเพื่อป้องกันเชื้อ อีกทั้งโรคระบาดนี้ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจ
ต้นตอสาเหตุ มุ่งเป้าไปที่ "ค้างคาว" ว่าเป็นพาหะนำโรค จากคลิปคนจีนกินค้างคาวที่ดังไปทั่วโซเชียล ทำให้ผู้คนเกิดความหวาดกลัวต่อค้างคาว และเกิดทัศนะคติในแง่ลบต่อค้างคาว และอาจลามไปถึงการไล่กำจัดค้างคาว แต่เรื่องนี้จะโทษค้างคาวอย่างเดียวก็ไม่ยุติธรรมนัก
ค้างคาวไม่ได้"น่ากลัว"อย่างที่คิด เพียงแต่เราต่างหากที่ทำให้มันน่ากลัว
มาทำความรู้จักกับ "ค้างคาว" ในอีกมุมหนึ่งกันครับ
เจ้าสิ่งมีชีวิตชนิดนี้มีความสำคัญต่อระบบ. หากขาดค้างคาวไป จะทำให้ระบบนิเวศเสียหายอย่างมาก !!!!!
เคยได้ยินคำว่า "นกมีหู หนูมีปีก" หรือ ค้างคาว ไหมครับ
ค้างคาวไม่ถือว่าเป็นสัตว์ปีก แต่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเพียงชนิดเดียวที่บินได้อย่างต่อเนื่อง ทั่วทั้งโลกมีค้างคาวมากกว่า 1,200 ชนิด แต่มีเพียง 3 ชนิดเท่านั้น ที่ดูดเลือดเป็นอาหาร ที่เหลือจะกินผลไม้ กินน้ำหวาน และกินแมลง
🍌ค้างคาวกินผลไม้ ได้แก่ ค้างคาวแม่ไก่ ค้างคาวบัว
🌸ค้างคาวกินน้ำหวาน ได้แก่ ค้างคาวเล็บกุด ค้างคาวหน้ายาวใหญ่
🦗ค้างคาวกินแมลง ได้แก่ ค้างคาวแวมไพร์ ค้างคาวหน้ายักษ์ทศกรรณ
ค้างคาวมักอาศัยอยู่กันเป็นกลุ่มจำนวนมากในบริเวณถ้ำที่มีความมืด และความชื้น หรือตามเพดานบ้าน ยอดไม้สูง และในไร่สวนของเกษตรกรรม
ตกเย็น ช่วงเวลา 4 โมงเป็นต้นไป ค้างคาวจะเริ่มบินจากที่อยู่กันเป็นฝูงเพื่อไปหาอาหาร โดยฝูงค้างคาวจะมีลักษณะเหมือนเกลียวคลื่น เพื่อป้องกันภัยจากพวกเหยี่ยว และสัตว์อื่นที่ชอบกินค้างคาว
สาเหตุที่ค้างคาวต้องออกหากินในเวลากลางคืน คือ
1. หลีกเลี่ยงการแย่งชิงอาหารจากสัตว์ชนิดอื่น เช่น นกเงือก นกนางเเอ่น
2. น้ำหวานส่วนใหญ่จะขับออกมาในช่วงเวลากลางคืนมากกว่า จึงทำให้รสชาติดียิ่งขึ้น เช่น พืชในสกุลสะตอ และเพกา
3. กลางคืนมีแมลงซึ่งเป็นแหล่งอาหารของค้างคาวมากกว่าตอนกลางวัน
ภารกิจยามค่ำคืน : 🦇🦇
เมื่อเจ้าค้างคาวออกทำภารกิจการล่าเหยื่อ โดยการปล่อย คลื่นเสียงออกไปเรียกว่า "คลื่นอุลตร้าโซนิก" คลื่นนี้จะสะท้อนกลับมาเมื่อไปกระทบกับสิ่งกีดขวาง ค้างคาวก็จะรับรู้ว่าคลื่นที่ปล่อยออกไปได้รับการกระทบอะไร เหยื่อหรือศัตรู และอยู่ห่างออกไปเท่าใด
ในหนึ่งคืนค้างคาวทำอะไรไปบ้าง🤔🤔
70% ของค้างคาวชนิดต่าง ๆ บนโลก กินแมลงเป็นหลัก มีงานวิจัยพบว่า
ใน 1 คืน ค้างคาวหนึ่งตัวสามารถกินยุงได้มากถึง 1,000 ตัว
ตัวอย่าง ค้างคาวฝูง maxican free -tailed bat จากถ้ำ Bracken cave ในรัฐเท็กซัส
สามารถกินแมลงได้ถึง 250 ตันภายใน 1 คืน
ในสหรัฐ ค้างคาวช่วยทำหน้าที่กำจัดศัตรูพืช อย่างแมลง
และตั๊กแตนให้เกษตรกรฟรีๆ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าถึง 3.7 พันล้านดอลล่าร์
หรือในไทย ค้างคาวปากย่น สามารถกินเพลี้ยกระโดดที่เป็นศัตรูพืชของข้าว
ได้คืนละเกือบ 20 ตัน
เรียกได้ว่า ค้างคาวเป็นนักล่าแมลงชั้นยอดเลยทีเดียว ดังนั้นหากปริมาณของค้างคาวลดลง อาจทำให้แมลงมีปริมาณเพิ่มขึ้นและส่งผลต่อการเกษตร เมื่อการเกษตรเสียหายเราก็จะสูญเสียผลผลิตที่เป็นอาหารตามไปด้วย
แมลงระบาดในต่างประเทศ ทำร้ายพืชผลการเกษตร
facebook.com
Đăng nhập hoặc đăng ký để xem
Xem bài viết, ảnh và nội dung khác trên Facebook.
ค้างคาวออกหากิน (Cr. https://www.sukhothainews.com/archives/111)
ฝั่งค้างคาวกินผลไม้/น้ำหวาน ก็มีบทบาทสำคัญมากไม่น้อยหน้าเช่นกัน
มีการศึกษาและค้นพบว่า ค้างคาวเป็นตัวการหลักที่ช่วย "ผสมเกสร" ให้
พืชเศรษญกิจที่สำคัญในภาคใต้ของประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 10 ชนิด เช่น
สะตอ ทุเรียน เพกา นุ่น ไม้ลำพู ลูกเหรียง และผลการศึกษาพบว่า
ค้างคาวเล็บกุดช่วยผสมเกสรพืช 2 ชนิด คือ สะตอ และทุเรียน
โดยมีส่วนช่วยถึง 80 - 100 % ซึ่งหากตีเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจที่ค้างคาวช่วยผสมเกสรจะคิดเป็น 420 ล้านบาทต่อปี (คำนวณรายได้สุทธิและหักลบ ตุ้นทุน เช่น ค่าเมล็ด ค่าปุ๋ย ค่ายา ค่าน้ำ) และเมื่อนำมาใช้คำนวณพื้นที่เพาะปลูกทุเรียนและสะตอที่อยู่ในบริเวณระยะการหากินของค้างคาวทั้งภาคใต้ พบว่าสามารถคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงถึง 4,400 ล้านบาทเลยทีเดียว
ไม่มีค้างคาว = อดกินทุเรียน
เคยมีกรณีตัวอย่างที่มาเลเซีย ได้ทำการระเบิดถ้ำหินปูนเพื่อผลิตปูนซีเมนต์ ผลปรากฎว่า สวนทุเรียนในรัศมี 100 กิโลเมตรไม่ติดผล เนื่องจากที่อยู่อาศัยของค้างคาวหายไป
และภารกิจอีกมากมายของค้างคาวในแต่ละคืน
นอกจากนี้ค้างคาวเป็นหนึ่งในตัวช่วยที่ทำให้ถ้ำมีความอุดมสมบูรณ์ ถ้ำถือว่าเป็นระบบนิเวศที่มีความซับซ้อนสูงมาก การมีค้างคาวอยู่เป็นตัวบ่งชี้ว่าถ้ำนั้นมีความสมบูรณ์เพราะ มูลของค้างคาวถือเป็นสารอาหารแก่สัตว์ชนิดอื่นและลูกค้างคาวที่ตกลง
ค้างคาวยังถือเป็นสัตว์อีกชนิดหนึ่งที่ช่วยกระจายเมล็ดพันธุ์ไปยังที่ต่าง ๆ ทำให้ระบบนิเวศเกิดความหลากหลายยิ่งขึ้น
อีกทั้ง "มูลค้างคาว" ยังมีมูลค่าในตลาดอีกด้วย เพราะมูลค้างคาวถือเป็นปุ๋ยที่มีธาตุอาหารสูงที่สุดในบรรดาปุ๋ยทุกชนิด เพราะมีธาตุอาหารครบทั้ง 13 ตัว
Photo by Geoff Brooks on Unsplash
เหรียญย่อมมีสองด้านเสมอครับ ค้างคาวอย่างที่รู้กันว่าค้างคาวถือเป็นแหล่งรวมโรคเลยก็ว่าได้ อีกทั้งค้างคาวยังเป็นผู้ที่ทำลายผลไม้ เรื่องนี้คือความจริงครับ เพราะค้างคาวบางชนิดกินผลไม้เป็นอาหาร
.
แต่หากเราพิจารณาถึงส่วนได้ส่วนเสีย ค้างคาว 1 ตัวหนักเพียง 30 กรัม ซึ่งกินอาหารได้เต็มที่ก็เพียงน้ำหนักตัวเท่านั้น (กินมากไปเดี๋ยวบินกลับไม่ไหว และสัตว์ก็ไม่กินเกินความต้องการของตัวเอง) ค้างคาวจะเลือกกินเฉพาะผลที่สุกจริง ๆ ถ้าไม่สุกหรือกลิ่นไม่แรงก็จะไม่กิน
.
ดังนั้นผลไม้ที่ค้างคาวจะกินได้คงเหลือแต่เพียงผลที่เหลือติดต้นเท่านั้น เพราะผลไม้ที่เกษตรกรส่วนใหญ่นำมาขายก็เป็นผลไม้ที่สุกซึ่งยังไม่สุกมาก
นอกจากนี้การที่ค้างคาวช่วยกินผลไม้ที่สุกมากออกจากต้น เท่ากับช่วยลดปัญหาหนอนศัตรูพืชออกไปด้วย โดยสิ่งสำคัญที่อยากให้ประชาชนคิดและตระหนักให้มาก คือ "ความสมดุลของธรรมชาติ" ในเมื่อค้างคาวช่วยผสมเกสรสร้างอาหารให้กับมนุษย์แล้ว มนุษย์เองก็ควรคืนอาหารเพียงเล็กๆ น้อยๆ ให้กับค้างคาวในธรรมชาติบ้างเช่นกัน
ค้างคาวไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เราคิด แต่ที่น่ากลัวคือ "มนุษย์" ไม่ใช่หรอ ที่นำสัตว์เหล่านี้มากินเป็นอาหาร กับ "ความเชื่อผิด ๆ" เกี่ยวกับการบริโภคของแปลก สุดท้ายแล้วผลนั้นก็จะย้อนกลับมาหาเราดังเช่นเหตุการณ์ที่กำลังระบาดอยู่ตอนนี้ใช่หรือไม่ ?
ทุกระบบย่อมต้องการความสมดุล หากเรากำลังทำให้ระบบเสียสมดุล ระบบก็ต้องหาทางทำให้ตัวเองกลับคืนสู่ภาวะ "สมดุล" และหากเราคือตัว "ทำลายสมดุล" จริง ๆ ระบบก็กำลังหาทางกำจัดเราอยู่ใช่หรือไม่ !!?
"เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ไม่ใช่ธรรมชาติเป็นส่วนหนึ่งของเรา"
หยุดการบริโภคสัตว์ป่า
blockdit.com
[เรื่องเล่าคนเข้าป่า] กรณีศึกษา ”ไวรัสโคโรน่า” จากการบริโภคสัตว์ป่า
กรณีศึกษา ”ไวรัสโคโรน่า” จากการบริโภคสัตว์ป่า
เรียบเรียงโดย : เรื่องเล่าคนเข้าป่า
ที่มา:
http://bathouseproject.org
สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservation Bureau, Thailand
https://th.wikipedia.org/wiki/ค้างคาว
https://www.facebook.com/naturetoon/photos/a.1077595008982015/1077596265648556/?type=3&theater
https://mgronline.com/science/detail/9520000005511
https://www.nps.gov/subjects/bats/benefits-of-bats.htm
10 บันทึก
111
32
22
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เพื่อนร่วมโลกผู้น่ารัก
10
111
32
22
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย