29 ม.ค. 2020 เวลา 02:52
“หน้ากากอนามัย” ป้องกัน “เชื้อไวรัส” ได้จริงหรือ ?
ในช่วงที่มีโรคระบาดจากเชื้อไวรัสเกิดขึ้น มีการรณรงค์ให้สวมหน้ากากอนามัย เพื่อลดความเสี่ยงของการติดเชื้อโรค แต่จริง ๆ แล้วหน้ากากอนามัยที่เราใช้กันอยู่ สามารถป้องกันเชื้อไวรัสได้จริงหรือไม่ ป้องกันได้มากน้อยแค่ไหน ?
ดร. เดวิด คาร์ริงตัน จากมหาวิทยาลัย Univercity of London ให้ข้อมูลกับ BBC News ว่า
“หน้ากากอนามัยที่คนทั่วไปใช้สวมกัน ไม่ได้มีความสามารถในการป้องกันเชื้อไวรัส หรือแบคทีเรียที่อยู่ในอากาศ”
ซึ่งเป็นที่ที่ไวรัสสามารถแพร่กระจายติดต่อกันเป็นทอด ๆ ได้ นั่นเป็นเพราะหน้ากากอนามัยทั่วไปเมื่อสวมเข้ากับใบหน้าแล้ว “หลวม” เกินไป ไม่มีชั้นกรองอากาศ และไม่ได้ปิดบังดวงตา ซึ่งก็ยังเป็นส่วนที่ติดเชื้อไวรัสได้เช่นกัน
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า หน้ากากอนามัยไม่มีประโยชน์ เรายังคงแนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส เพราะหน้ากากอนามัยยังคงช่วยลดการติดต่อของเชื้อไวรัสที่มาจากละอองน้ำลายจากการไอ จาม ซึ่งสามารถติดต่อและส่งผ่านเชื้อไวรัสจากมือสู่ปากได้
จากรายการการศึกษาของมหาวิทยาลัยนิวเซาธ์เวลส์ พบว่า คนมักเผลอใช้มือจับใบหน้าตัวเองเฉลี่ยแล้ว 23 ครั้งต่อชั่วโมง เมื่ออยู่ในโรงพยาบาล การที่บุคลากรต่าง ๆ สวมหน้ากากอนามัย จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสจากการไอ และจามของผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ได้
โฆษณา