29 ม.ค. 2020 เวลา 08:37 • สุขภาพ
...⚠️ โรคไข้หวัดใหญ่ อีก 1 โรคที่กำลังมาตามฤดูกาล ที่อาจถูกลืม ⚠️...
นอกจากเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธ์ใหม่ 2019
.
ยังมีโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอีก 1 โรค นั่นก็คือ...
โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza)
.
ที่เราทุกคนควรใส่ใจ และดูแลสุขภาพของเราให้ห่างไกลเชื้อไวรัสเหล่านี้
❓❓ รู้หรือไม่ ❓❓
สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในภาพรวมทั่วโลก มีระดับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
.
อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ...
องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่นี้ว่า
ยังอยู่ในระดับของไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
อ่านรายงานสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ในแต่ละภูมิภาคทั่วโลก
ได้ที่....https://bit.ly/2t6AD8p
┏━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━┓
สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ ในประเทศไทย
┗━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━┛
ข้อมูลอัพเดต: วันที่ 1 - 24 มกราคม 2563
จากกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ในปี 2563 ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 - 24 มกราคม 63 มีรายงานผู้ป่วยทั่วประเทศไทย จํานวน 16,348 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 24.66 ต่อประชากรแสนคน และเสียชีวิต 1 ราย คิดเป็นอัตราป่วยตาย ร้อยละ 0.01
.
จากกราฟจะเห็นได้ว่า จำนวนผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่เดือน ม.ค. 63
มีอัตราป่วยลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับปี 62 แต่ยังคงใกล้เคียงกับปี 61
.
ซึ่งถ้าดูตามสถิติช่วงเวลาที่เราควรระมัดระวังโรคไข้หวัดใหญ่เป็นพิเศษ คือ
⚠️ ช่วงต้นปี (เดือน ม.ค. - มี.ค.)
⚠️ ช่วงปลายฝนต้นหนาว (เดือน ก.ย. - ต.ค.)
และเมื่อนำข้อมูลมาจำแนกตามกลุ่มอายุ
จะเห็นว่า กลุ่มผู้ป่วยที่มีอัตราการป่วยสูงจะอยู่ในช่วงวัยเด็ก 👶🏻 👦🏻 👧🏻
จึงมีต้องให้ความสำคัญต่อการป้องกันควบคุมโรคในกลุ่มวัยเด็กและนักเรียน และในสถานที่ที่มีการรวมตัวกันของคนหมู่มากมากขึ้น เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน/มหาวิทยาลัย และโรงพยาบาล
หากนำข้อมูลมาจำแนกตามภาค
พบว่า ภาคที่มีอัตราการป่วยสูงสุด คือ ภาคเหนือ รองลงมาคือ ภาคกลาง
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และที่น้อยที่สุดคือ ภาคใต้
.
ทั้งนี้ พบผู้ป่วยเสียชีวิต 1 ราย ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า...เราเข้าข่ายเป็นผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ ⁉️
┏━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━┓
... ไข้หวัดใหญ่ (Influenza) ...
┗━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━┛
อาการของโรค
อาการจะเริ่มหลังได้รับเชื้อ 1-4 วัน โดยผู้ป่วยจะมีไข้แบบทันทีทันใด (38 °C ในผู้ใหญ่ ส่วนในเด็กมักจะสูงกว่านี้) ปวดศีรษะ หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลียมาก และอาจพบอาการคัดจมูก เจ็บคอ
.
ถ้าป่วยเป็นระยะเวลานานอาจจะมีอาการไอจากหลอดลมอักเสบ (post viral bronchitis) ซึ่งอาการจะรุนแรงและป่วยนานกว่าไข้หวัดธรรมดา (common cold)
.
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 1-2 สัปดาห์
.
แต่บางรายที่มีอาการรุนแรง เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ปอดบวม อาจทำให้เสียชีวิตได้
1
ผู้ที่เสี่ยงสูงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือเสียชีวิต ได้แก่
🔸 ผู้ที่อายุ 65 ปีขึ้นไป
🔸 เด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี
🔸 ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เช่น โรคปอด โรคหัวใจ โรคไต เบาหวาน
🔸 เด็กที่ได้รับการรักษาด้วยยาแอสไพรินเป็นเวลานาน
🔸 หญิงตั้งครรภ์ระยะที่ 2 หรือ 3 ในฤดูกาลที่มีไข้หวัดใหญ่สูง
💢 ถ้าไม่อยากเป็นโรคไข้หวัดใหญ่ (รวมถึง โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ) 💢
นี่คือสิ่งที่ควรรู้ 🔍
📍 การติดต่อโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ สามารถติดต่อได้ 3 ทาง คือ
.
1. การไอ จาม หรือหายใจรดกัน
เชื้อโรคจะปนเปื้อนกับฝอยละอองของเสมหะ น้ำมูก น้ำลาย และเมื่อฝอยละอองขนาดเล็กล่องลอยอยู่ในอากาศ ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดได้สูดลมหายใจเข้าไปก็จะติดเชื้อได้
.
2. การสัมผัสกับน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยโดยตรง
.
3. การสัมผัสกับสิ่งของเครื่องใช้ของผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า ผ้าเช็ดหน้า แก้วน้ำ ช้อน จาน ชาม ของเล่น หนังสือ ฯลฯ หรือสิ่งสาธารณะที่แปดเปื้อนเชื้อโรค เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได ราวโหนรถเมล์ เป็นต้น
📍 วิธีการป้องกัน
✔️กรณีที่เรายังไม่มีอาการป่วย 😊
แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ 💉ก่อนฤดูที่มีการระบาด และควรฉีดอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
รู้หรือไม่??? ถ้าเราอยู่ใน 7 กลุ่มเสี่ยงของผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ สามารถติดต่อขอรับการฉีดได้ฟรีนะ สำหรับของปี 2563 ต้องรอประกาศนะคะ
❗️ กรณีเริ่มรู้ตัวเองว่า มีอาการไข้หวัด ❗️
.
..... สิ่งที่เราควรทำคือ ลดการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น .....
.
ซึ่งสามารถปฏิบัติได้หลายวิธี เช่น
1. ควรหมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ
เพราะมือเป็นตัวกลางสำคัญในการแพร่เชื้อจากผู้ป่วยไปยังผู้อื่นโดยตรง
2. ใช้ผ้าหรือกระดาษทิชชูปิดปากและจมูกเวลาไอ/จาม
.
ที่สำคัญ❗️...หลังใช้ควรทิ้งกระดาษลงถังขยะที่มีฝาปิด
3. ควรแยกห้องนอน ไม่นอนปะปนร่วมกับคนอื่น
4. ผู้ป่วยที่มีอาการไข้ และ ไอ ควรพักผ่อนอยู่กับบ้านจนกว่าอาการจะดีขึ้น
5. ควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้งเมื่อป่วย เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นกรณีมีความจำเป็นต้องไปในที่ชุมชน เช่น ศูนย์การค้า โรงเรียน ที่ทำงาน รถประจำทาง และรถไฟฟ้า
แต่ถ้าคิดว่า ชัวร์ละ...น่าจะเป็นไข้หวัดใหญ่แน่ๆ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
💊 การรักษาโรคไข้หวัดใหญ่
การให้ยาต้านไวรัส ภายใน 48 ชั่วโมง นาน 3-5 วัน จะช่วยลดอาการและจำนวนเชื้อไวรัส โดยขนาดยาและวิธีการให้ยาขึ้นอยู่กับอายุและประวัติโรคประจำตัว
.
ในช่วงหลังๆ ของการรักษาด้วยยาต้านไวรัส อาจพบการดื้อยาซึ่งเป็นเหตุให้สามารถแพร่โรคไปยังคนอื่นได้ กรณีนี้อาจต้องให้ยาต้านไวรัสแก่ผู้เสี่ยงโรคสูงที่อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
.
กรณีมีอาการแทรกซ้อนจากเชื้อแบคทีเรียต้องให้ยาปฏิชีวนะด้วย และควรหลีกเลี่ยงยาลดไข้พวก salicylates เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค Reye's syndrome
เพื่อช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคที่เราเป็นอยู่ได้รวดเร็วและแม่นยำยิ่งขึ้น
นี่คือ...สิ่งที่ดาวจะบอกแพทย์ผู้ตรวจทุกครั้งที่เข้ารับการรักษา
🔸 เริ่มมีอาการป่วยเมื่อไร เป็นมาแล้วกี่วัน
🔸 อาการที่เป็นมีอะไรบ้าง (ไล่ตามอาการที่แสดงออกมา)
เช่น ปวดศรีษะ มีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว เจ็บคอ ไอแห้ง มีเสมหะสีเขียว น้ำมูกไหลมีสีเขียวหรือสีขาวใส ปวดท้อง มีอาการถ่ายเหลว ฯลฯ
🔸 ยาที่ได้รับประทานไปก่อนที่จะมาพบแพทย์มีอะไรบ้าง (ถ้าจำไม่ได้ก็พกติดตัวไปด้วย)
🔸 ก่อนที่จะป่วยมาไปทำอะไรมา เช่น ไปเที่ยวที่จีน ไปเที่ยวสวนสัตว์ดูนก
🔸 คนรอบข้างตัวเรามีอาการป่วยเช่นเดียวกันนี้มาก่อน (ถ้ามี)
🔸 โรคประจำตัวที่เราเป็น และประวัติการแพ้ยา (ถ้ามี)
โรคระบาดที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ เป็นโรคที่ติดต่อทางระบบทางเดินหายใจ
เราควรระมัดระวัง รักษาสุขภาพ ซึ่งคุณหมอหลายท่านมักพูดสั้นๆ ว่า
.
┏━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━┓
"กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ"
┗━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━┛
.
นอกจากนี้ เราควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ดื่มน้ำเยอะๆ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ (หลีกเลี่ยงออกกำลังกายในที่แจ้ง เนื่องจากปัญหาฝุ่น PM 2.5)
ด้วยความห่วงใยถึงทุกคน จาก ดาว 😊
References:
โฆษณา