Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นานาชนิดชีวิตโลก
•
ติดตาม
29 ม.ค. 2020 เวลา 09:08 • ประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์เมืองฟลอเรนซ์(Florence) หรือ เมืองฟีเรนเซ(Firenze) ของอิตาลี
ในระหว่างศตวรรษแรกก่อนคริสตกาล อิตาลีตอนกลางอยู่ใต้การปกครองของพวกอีทรัสคาน ต่อมา 59 ปีก่อนคริสตกาล จูเลียส ซีซ่าร์ แห่งจักรวรรดิโรมันได้บุกรุกเข้ามายึดครองอิตาลีและขับไล่พวก อีทรัสคาน ออกไปจากดินแดนนี้
ซีซ่าร์ตั้งเมืองฟลอเรนซ์เป็นเมืองในอณานิคมของโรมันขึ้นในบริเวณช่วงแคบที่สุดของแม่น้ำอาณ์โน จุดมุ่งหมายแรกสร้างขึ้นเพื่อเป็นเมืองพักผ่อนของคนชรา แต่เมื่อศตวรรษที่ 3 ฟลอเรนซ์ได้กลายเป็นเมืองสำคัญในฐานะศูนย์กลางของการค้าของโรมันในแถบนี้ ในศตวรรษที่ 5 เมื่อจักรวรรดิโรมันเสื่อมอำนาจลง ฟลอเรนซ์ถูกบุกรุกโดยพวกยุโรปเหนือ ทำให้ฟลอเรนซ์สูญเสียความเป็นอิตาลีไปนานกว่าพันปี ศตวรรษที่ 8 กษัตริย์ชาร์ลมาญขับไล่ผู้ปกครองอิตาลีในขณะนั้นออกไปจากดินแดน กษัตริย์ชาร์ลมาญได้เป็นจักรพรรดิจากการแต่งตั้งของพระสันตะปาปาประมุขแห่งศาสนจักร ความขัดแย้งระหว่างประมุขทั้ง 2 ฝ่ายทำให้อิตาลีเกิดสงครามกลางเมือง
ฟลอเรนซ์(florence) อยู่ใต้การปกครองของคน 2 พวก เป็นกลียุคของฟลอเรนซ์ มีการสู้รบนองเลือดกันกลางเมือง ตระกูลต่างๆสนใจแต่การค้าขายไม่ยุ่งกับการเมือง ครั้นถึงตอนปลายศตวรรดิ ตระกูลต่างๆที่รำรวยจากการค้า เป็นพวกมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองมากขึ้น
ได้ให้การสนับสนุนศิลปิน กวี และนักวิชาการทีมีความรู้ในศิลปะแขนงต่างๆ กล่าวได้ว่ายุคนี้เป็นยุคฟื้นฟูศิลปะกันอย่างจริงจัง
ทำให้ฟลอเรนซ์กลายเป็นเมืองศูนย์กลางศิลปะและวัฒนธรรรมของอิตาลีตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ฟลอเรนซ์รุ่งเรืองมากที่สุดในระหว่างศตวรรษที่ 11-15 ในฐานะเมืองอิสระที่แบ่งแยกการปกครองระหว่างศาสนจักร กับอาณาจักร กันได้อย่างลงตัวในปลายศตวรรษที่ 15 ฟลอเรนซ์อยู่ใต้การปกครองของตระกูลเมดิชี
ซึ่งปกครองฟลอเรนซ์เป็นเวลาถึง 300 ปี ตระกูลเมดิชีได้เป็นแกรนด์ดยุกของแคว้นทัสคานี คอสิโม เดอเมดิชี ซึ่งเป็นนายธนาคารผู้ริเริ่มนำศิลปะมาปรับใช้กับศาสนามีการก่อสร้างโบสถ์ วิหาร และศาสนสถานที่สำคัญหลายแห่งในฟลอเรนซ์ และ ลอเรนโซ่ อิลมัคนิฟีโค่
ได้เป็นผู้ปกครองเมืองฟลอเรนซ์เป็นคนต่อมา ลอเรนโซ่ เป็นผู้นำความเจริญมามให้ฟลอเรนซ์มากที่สุด ทั้งด้าน เศรษฐกิจ การเมือง ศิลปะและวัฒนธรรม
ต่อมาทัสคานีรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับอาณาจักรอิตาลี ทำให้ฟลอเรนซ์ได้เป็นเมืองหลวงของอิตาลี ในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1865-1871 และเมื่อโรมรวมเข้ากับอิตาลีในเวลาต่อมาฟลอเรนซ์จึงสูญเสียสถานะเมืองหลวงให้กับโรม
แต่ฟลอเรนซ์ก็ยังดำรงความมีชื่อเสียงในฐานะเมืองที่เป็นศูนย์กลางศิลปะและวัฒนธรรมของอิตาลีตลอดมา ในศตวรรษที่ 20 ฟลอเรนซ์เป็นศูนย์กลางทางการเงินกับการท่องเที่ยวของอิตาลี เมืองยังคงรุ่งโรจน์ด้วยธุรกิจการค้าที่ทำให้ฟลอเรนซ์มั่งคั่งรุ่งเรืองมาก่อน
ปีค.ศ. 1943-1944 ความรุ่งเรืองของฟลอเรนซ์สะดุดหยุดลงเพราะถูกยึดครองโดยกองทัพเยอรมัน ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ฟลอเรนซ์ได้รับความเสียหายอย่างหนักจากการถูกระเบิดทำลาย โดยเฉพาะฝ่ายเยอรมันได้ระเบิดทำลายสะพานข้ามแม่น้ำ อาร์โน เกือบทุกสะพานเพื่อสะกัดกั้นกองกำลังของฝ่ายสัมพันธมิตร คงเหลือแต่สะพานแวคคิโอ รอดพ้นมาจากการถูกระเบิดทำลายเพียงสะพานเดียว หลังการบูรณะซ่อมแซมเมืองที่เสียหายจากสงครามโลกแล้วก็เกิดน้ำท่วมใหญ่ในฟลอเรนซ์ ทำให้งานศิลปะที่เมืองฟลอเรนซ์ได้รับความเสียหาย ฟลอเรนซ์ได้รับความสูญเสียครั้งล่าสุดจากการถูกลอบวางระเบิดด้านนอก พิพิธภัณฑ์อุฟฟิซี่ในปี ค.ศ.1993 ทำให้ภาพเขียนถูกทำลายไปส่วนหนึ่ง
อย่างไรก็ตามฟลอเรนซ์ยังคงเป็นเมืองที่เต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมยุคเรอเนสซองส์ที่งดงามล้ำค่า เมืองที่ผู้รักงานศิลปะจะต้องไปเยือน ทั้งนี้ชาวโลกต้องขอบคุณ อันนา มาเรีย ทายาทคนสุดท้ายของตระกูล เมดิชี ก่อนตายนางทำพินัยกรรมยกทรัพย์สมบัติทั้งหลายของตระกูลเมดิชี ให้เป็นสมบัติของเมืองฟลอเรนซ์ โดยมีเงื่อนไขว่างานศิลปทั้งหลายที่ตระกูลเมดิชีมอบให้จะต้องเก็บรักษาไว้ที่เมืองฟลอเรนซ์ตลอดไป
ฟลอเรนซ์เป็นเมืองที่มีพิพิธภัณฑ์ โบสถ์ วิหาร และหอศิลป์ อีกทั้งโบราณสถานที่สำคัญๆ ในประวัติศาสตร์ให้ชมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์อุฟฟิซี่ พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ได้ชื่อว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในโลก เต็มไปด้วยงานศิลปะยุคเรอเนสซองส์ นอกจากงานศิลปะแล้วฟลอเรนส์ยังเป็นตลาดเครื่องหนังและเครื่องประดับสวยๆ ของอิตาลี
นอกจากจะเป็นเมืองกำเนิดของศิลปะแล้ว ฟลอเรนซ์ยังเป็นเมืองที่ฝังศพบุคคลสำคัญๆของโลกอีกด้วย เช่น ไมเคิลแองเจโล อัครมหาศิลปินผู้เป็นสัญลักษณ์ของเมือง กาลิเลโอ นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง และมัคคิอาเวลลี่ รัฐบุรุษคนสำคัญของอิตาลี
ขอบคุณทุกคนที่ติดตามรับอ่านเจ้าค้า
.. นานาชนิดชีวิตโลก.. ♥️
22 บันทึก
28
9
10
22
28
9
10
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย