Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Antfield
•
ติดตาม
30 ม.ค. 2020 เวลา 14:55 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
หลุมดำที่กำลังกลืนกินดาว อาจเผยให้เห็นถึงสิ่งที่ซ่อนอยู่ รวมถึงตำแหน่งและการมีอยู่ของพวกมัน
หลุมดำกำลังฉีกดาวออกเป็นริ้วพวยก๊าซยาวหลายปีแสง, เครดิตภาพ: NASA/JPL-Caltech
ทุกกาแล็คซี่ที่เราเห็นอยู่นั้น จะมีหลุมดำมวลมหาศาลแฝงตัวอยู่ บางหลุมนั้นอนอนนิ่งจนนักดาราศาสตร์เราไม่อาจรับรู้ถึงการมีอยู่ของมันได้
ส่วนประกอบของหลุมดำที่กำลังดูดกลืนมวลสาร, เครดิตภาพ: Source: Jeremy Schnittman/NASA’s Goddard Space Flight Center
แต่บางหลุมดำนั้นกลับส่องแสงเรืองรองให้เราเห็นได้ เมื่อมีดาวเคลื่อนที่ผ่านใกล้มันในระยะใกล้มากพอที่แรงดึงดูดของหลุมดำนั้นจะฉีกกระชากและดูดเอาดาวที่โชคร้ายนั้นเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของมัน 😯😔
youtube.com
TESS Catches its First Star-destroying Black Hole
For the first time, NASA’s planet-hunting Transiting Exoplanet Survey Satellite (TESS) watched a black hole tear apart a star from start to finish, a catacly...
ปรากฏการณ์ที่หลุมดำกำลังกินดาวนี้เราเรียกว่า tidal disruption event (TDE) ซึ่งแสงจากกลุ่มก๊าซที่กำลังวนรอบหลุมดำด้วยความเร็วสูงจนลุกจ้านี้ อาจทำให้หลุมดำนั้นดูสว่างราวกับซูเปอร์โนวาได้เลยทีเดียว
ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน โครงข่าย TESS (Transiting Exoplanet Survey Satellite) ของ NASA ได้ตรวจพบวัตถุที่เข้าข่าย TDE แล้วกว่า 39 ชิ้นโดย 22 ชิ้นนั้นเพิ่งถูกค้นพบในช่วงปีที่ผ่านมา
ขอบเขตการสำรวจท้องฟ้าของ TESS
โดย TDE ชิ้นแรกที่มนุษย์เราตรวจพบก็ได้มาจากดาวเทียมสำรวจอวกาศในย่าน x-ray ตั้งแต่ปี 1990
ซึ่ง TDE ที่เราเฝ้าสังเกตเห็นมาจนปัจจุบัน หลุมดำจะดูดกลืนมวลประมาณครึ่งหนึ่งของดาวที่โชคร้ายนั้น
ดาวเทียมดวงหนึ่งของ TESS
หลังจากเฝ้าสังเกตท้องฟ้าบริเวณหนึ่งมากว่า 4 ปี ในวันที่ 29 มกราคม 2019 TASS ก็ได้ตรวจพบ ASASSN-19bt เหตุการณ์การเขมือบดาว
เมื่อดาวเข้ามาใกล้หลุมดำมากเกินไป แรงดึงดูดมหาศาลของหลุมดำเริ่มทำให้ดาวเสียรูป
ก่อนที่จะถูกฉีกกระจุยกลายเป็นพวยก๊าซร้อน ส่วนหนึ่งจะปลิวหลุดออกไปจากหลุมดำ (ส่วนในวงสีแดง)
ส่วนที่เหลือก็จะหมุนวนรอบหลุมดำรอเวลาถูกดูดหายเข้าไป
เหตุการณ์ถูกตรวจจับได้ก่อนโดย TESS
ก่อนที่ดาวเทียม Swift และดาวเทียมสำรวจช่วง X-ray ของ ESA (องค์การสำรวจอวกาศยุโรป) จะร่วมเฝ้าติดตามปรากฏการณ์
ผลจากการสังเกตุพบว่าอุณหภูมิของสิ่งที่เหลือจากดาวนั้นลดลงเร็วมาก ๆ (ลดลง 20,000 เคลวิน ในเวลาไม่ถึง 10 วัน) ซึ่งแน่นอนว่าเนื่องจากเนื้อดาวถูกฉีกออก ทำให้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นที่เคยมีก็จะลดลง
ซึ่งปรากฏการณ์แบบนี้ถือว่าเกิดขึ้นได้ยากในกาแล็คซี่ของเรา คาดกันว่ามีโอกาสประมาณ 10,000 ถึง 100,000 ปีจึงจะเกิดขึ้นสักครั้ง
และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ทำให้เรารู้ว่า หลุมดำมันมีอยู่ตรงนั้น ล่องลอยอย่างสงบแม้มองไม่เห็น แต่พวกมันก็เฝ้ารอเขมือบเหยื่อเคราะห์ร้ายที่ผ่านเข้ามาใกล้ 😔
Source:
https://interestingengineering.com/black-holes-devouring-stars-may-shed-light-about-the-phenomenon-for-researchers
https://govirall.net/black-holes-caught-in-the-act-of-swallowing-stars-science/
https://www.sciencemag.org/news/2020/01/black-holes-caught-act-swallowing-stars
https://en.wikipedia.org/wiki/Tidal_disruption_event
https://interestingengineering.com/jaw-dropping-visualization-of-a-black-hole-created-by-nasa
9 บันทึก
96
34
5
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
Beyond Earth & Space Technology
9
96
34
5
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย