30 ม.ค. 2020 เวลา 13:47 • ธุรกิจ
เพราะอะไร "Start-up" ถึง "ล้มเหลว"
เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับ ธุรกิจstart-up หรือใช้ศัพท์แบบไทยๆ หน่อยก็ "วิสาหกิจเริ่มต้น" (สันติ กีระนันทน์, 2559) ถ้าเดินไปถามคนสัก 100 คนว่า
รู้จัก star-up ไหม เชื่อว่าทั้งหมด(น่าจะ)ตอบว่ารู้จัก แล้วถ้าถามต่อไปว่า มันคืออะไร เชื่อว่าเกือบทั้งหมดจะตอบว่า ทำธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีสร้างผลิตภัณฑ์อะไรสักอย่างออกมาเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของคนในยุค
digital
ที่กล่าวมาก็คิดว่าน่าจะ ok แต่ถ้าเอาแบบความหมายจากนักวิชาการที่ถือว่า
เป็นผู้เชี่ยวชาญงานวิจัยด้าน start up ให้ความหมายว่า "an organization
formed to search for a repeatable and scalable business model"
(Blank and Dorf, 2012) ก็ประมาณว่า เป็นองค์กรที่มีรูปแบบของการค้นหา เพื่อที่จะเข้าไปในธุรกิจที่ยังไม่มีคู่แข่งและรูปแบบของการดำเนินธุรกิจมี
ความยืดหยุ่นคล่องตัว......repeatable ก็ประมาณว่า การเข้าไปในธุรกิจที่เป็น blue ocean (ธุรกิจที่ยังไม่มีการแข่งขันรุนแรง) ส่วน scalable ก็คือการเพิ่มหรือลด, ขยายหรือย่อได้ นอกจากนี้ หน่วยงานของ อเมริกา อย่าง U.S. Small Business Administration ให้ความหมายว่า เป็นธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจและต้องเป็นุรกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตที่
สูง (อ้างใน สันติ กีระนันทน์ 2559)
ภาพจาก https://ru.freepik.com/free-vector/modern-business-start-up
https://www.google.com/url?sa=i&url=https%3A%2F%2Fwww.scoop.it%2Ftopic%2Fblue-ocean-strategy-by-beeyond%2Fp%2F4087038601%2F2017%2F10%2F18%2Fthe-three-key-components-of-a-successful-blue-ocean-shift&psig=AOvVaw2ENjUgIgDL_CyCCJxpst62&ust=1580473504009000&source=images&cd=vfe&ved=0CA0QjhxqFwoTCMjUxuKoq-cCFQAAAAAdAAAAABAP
เรามักจะได้พบเห็นข่าวธุรกิจที่ลงข่าวผู้ประกอบการ start up ที่ประสบความสำเร็จ ได้กำไร ได้เห็นการเติบโตแบบก้าวกระโดด ทว่า สิ่งที่มักจะไม่ค่อย
พูดกันหรือลงข่าวกันก็คือ ธุรกิจที่ล้มเหลว....อารมณ์เหมือนเวลาหุ้นขึ้น อวดกันตาม pantip , fb. แต่เวลาขาดทุน "เงียบกริบ" !
องค์กรอย่าง CBInsights ซึ่งเป็นแหล่งรวม venture capital (ผู้สนับสนุนเงินทุนแก่ strat up) ทำการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) จากกลุ่ม
ตัวอย่างที่เป็น start up 156 ราย
https://tronsystems.com.au/2017/11/08/top-20-reasons-startups-fail/
ผลการวิจัยสรุปออกมาเป็น 20 อันดับปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจstart up ล้มเหลว
ในที่นี้หยิบมา 3 อันดับแรก ได้แก่ สินค้าและบริการไม่เป็นที่ต้องการของ
ตลาด คิดเป็น 42% สรุปง่าย ๆ คือ สินค้า/บริการ มันไม่ตอบโจทย์หรือ
ไม่โดนใจลูกค้า ถามว่าแล้วทำออกมาทำไม? อาจมาจาก "นั่งอยู่ในห้องแอร์แล้ววาดฝันว่า ลูกค้าต้องการแบบนี้แบบนั้น" แต่ในความเป็นจริงคือ ไม่เคย
ทำ research หรือ สำรวจความต้องการของลูกค้า
สินค้า/บริการไม่ตอบโจทย์
2. ตังค์ไม่พอ (29%)
เงินทุน (money) เป็นทรัพยากรทางธุรกิจที่สำคัญในการทำให้ธุรกิจเดินหน้าไปได้ ถึงแม้ start up จะขึ้นชื่อว่า ในระยะแรกจะต้องมีค่าใช้
จ่ายมากกว่ารายได้ หรือต้องเข้าเนื้อ แต่หากปล่อยให้เข้าเนื้อนานเข้า ก็จะ
กลายเป็น กินทุน ซึ่งต้องหาเงินมาเพิ่มทุนหรือหา venture capital (VC) มาสนับสนุน แต่ถามว่า ถ้าใส่เงินไปแล้วยังไม่ควบคุมต้นทุน ใช้เงินแบบไม่อั้น
เพราะอ้างแต่ว่า ระยะแรกก็แบบนี้แหละ .....แบบนี้ถมเท่าไรก็ไม่เต็ม
ถมไม่เต็ม
3. team(ไม่)work (23%)
หลายหัวย่อมดีกว่าหัวเดียว ซึ่งStratup ไม่มีทางสร้างสรรค์นวัตกรรมให้
สำเร็จได้เพียงแค่คนๆเดียว แต่ต้องอาศัยทีมซึ่งแต่ละคนมีความชำนาญแตกต่างกันไป ถ้าteam มันwork สามัคคีกันดี อัตตาไม่เยอะ ก็เป็น
dream team แต่ ถ้าอัโก้ละวางกันไม่ได้ก็ ทีมบัมเทิง
ผลวิจัยข้างต้นเขาสำรวจกับกลุ่มตัวอย่างในต่างประเทศ แต่ถ้าถามว่า
บริบทประเทศไทยจะเหมือนกันไหม? คำตอบที่ได้คือเหมือนและ ไม่เหมือน
ที่เหมือนก็คือ 3 อันดับแรกมันเป็นปัญหาที่เกิดจากภายในตัวผู้ประกอบการ
start up เองซึ่งสามารถควบคุมหรือขจัดปัจจัยทั้ง 3 ได้ แต่ ที่ต่างกันและเฉพาะอย่างยิ่งกับ สภาพแวดล้อมแบบ Thailand only มันมี "ปัจจัยที่ควบคุม
ไม่ได้" ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดจากภายนอกstart up ที่จะมีอำนาจเข้าไปจัดการ
สิ่งนั้นคือ "การไม่บูรณาการของหน่วยงานรัฐ" ... รัฐมีนโยบายในการส่งเสริมstart up แต่ หาใครเป็นเจ้าภาพหลักไม่ได้ กล่าวคือ หน่วยงาน ก. คิดในมุมของ ก. ก็จะมุ่งส่งเสริมแต่สิ่งนั้น ในขณะที่หน่วยงาน ข. ก็คิดในมุมหรือมีขอบเขตที่ทำได้ภายใต้ระเบียบหน่วยงาน ก็ส่งเสริมในแบบหน่วยงาน ข.
การทำงานแบบแยกเป็นชิ้น บูรณาการไม่เป็น
เช่น หน่วยงานนึงส่งเสริมเรื่องแหล่งเงินทุน ก็เน้นให้แต่ทุนแต่ไม่สนับสนุน
know how อีกหน่วยงานมี know how แต่ไม่มีระเบียบเรื่องเงินทุน......ถ้าเรามีองค์กรใดเพียงองค์กรเดียวเป็นเจ้าภาพ แล้วเอาหน่วยงาน ก. กับ ข. มาอยู่ภายใต้ อะไรมันคงดีกว่านี้......
ในการแข่งขันกีฬา Thailand มักจะประสบความสำเร็จกับกีฬาประเภทบุคคล แต่ มักจะไม่ประสบความสำเร้จในกีฬาประเภททีม
สามารถอ่าน research ฉบับเต็มได้ที่ link ข้างบน
แหล่งอ้างอิง: สันติ ชวนคุย ตลาดทุนยุคใหม่ บริบทของตลาดทุนไทย,
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, 2559
โฆษณา