Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เรื่องเล่าคนเข้าป่า
•
ติดตาม
6 ก.พ. 2020 เวลา 02:40 • ความคิดเห็น
โลกกำลังเดินหน้าเข้าสู่ "สังคมใช้แล้วทิ้ง"
ทุกวันนี้โลกเต็มไปด้วยขยะ ขยะ แล้วก็ขยะ!!!
ตั้งแต่ขยะอวกาศ เช่น ดาวเทียมที่ปลดประจำการ ยันขยะในโลกของเรา
ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็จะมีแต่ขยะให้เราเห็นอยู่เต็มไปหมด และขยะก็มีมากมายหลายแบบ ส่วนหนึ่งก็เป็นผลมาจากการที่มนุษย์ทั่วทั้งโลกกำลังเพิ่มจำนวนมากขึ้น
Photo by Dustan Woodhouse on Unsplash
ทำให้โลกต้องพัฒนาเพื่อรองรับประชากรที่เพิ่มขึ้น และการพัฒนามักมาพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ พอคนมากขึ้น เศรษฐกิจโตขึ้น คนมีเงินมากขึ้น กำลังซื้อกำลังการบริโภคก็มากขึ้น ขยะก็ต้องมากขึ้นตามเช่นกัน
แต่นั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่ง เพราะไม่ได้หมายความทั้งหมดว่าทุกอย่างเติบโตแล้วขยะจะต้องมากตาม สาเหตุแท้จริงของปัญหาขยะมาจาก "พฤติกรรมคน"
คนเกี่ยวไรด้วย ????? พวกโรงงาน พวกอุตสาหกรรมต่างหาก!!!!
ทำมลพิษมากกว่าเราอีก ทั้งปล่อยควัน ทำน้ำเสีย สร้างมลพิษมากมาย
ก็จริงครับ... แต่หากเราลองมองย้อนกลับมาที่เรา
คุณเป็นแบบนี้หรือไม่ ???
มีเสื้อผ้าเต็มตู้เลยไม่รู้จะใส่ไรดี
.
รองเท้าเยอะจังใส่คู่ไหนดี
.
โทรศัพท์รุ่นใหม่ออกต้องเปลี่ยนแหละ
.
ของมันต้องมี!!!
ไอ้นี่ก็อยากได้ มากมายเต็มไปหมด
ช่วงชีวิตตั้งแต่เด็กยันโตสิ่งของที่คุณใช้ไปอยู่ไหนหมด
บ้างอย่างที่ไม่ได้ใช้แล้ว ถูกส่งต่อ ถูกแปรรูป นำกลับมาใช้ใหม่
หรือ "ถูกทิ้ง "
Photo by Becca McHaffie on Unsplash
โลกกำลังเดินไปข้างหน้าเรื่อย ๆ ทุกอย่างกำลังเติบโต เทคโนโลยีใหม่ ๆ
กำลังเข้ามา ทำให้เกิดค่านิยมสิ่งของที่เรียกว่า "เทรนด์" ขึ้นมา
.
สิ่งของต้องตามเทรนด์ เป็นไปตามยุคสมัย ส่วนสิ่งได้ไม่ทันสมัย
ก็ต้องถูกทิ้งไปตามระเบียบ นานไปพฤติกรรมเหล่านี้ถูกหลอมรวมเข้าไปในชีวิตประจำวันเราอย่างช้า ๆ จนกลายเป็นที่มาของคำว่า "สังคมใช้แล้วทิ้ง"
......... สังคมใช้แล้วทิ้ง คือ อะไร ..........
มันคือ การที่เรามีวัฒนธรรมซื้อของมาใช้แล้วใช้ไม่ได้นานก็ทิ้ง เปลี่ยนสิ่งของไปเรื่อย ๆ ตามแทรนด์ตามยุคสมัย สังคมแบบนี้เกี่ยวข้องอย่างมากมายกับทุกสิ่งในชีวิตประจำวันของเรา ตั้งแต่ ภาชนะการกินอาหาร เสื้อผ้าที่เราใส่
ของที่เราอยากได้ ของตกแต่งบ้าน เครื่องใช้ไฟฟ้า สารพัดต่าง ๆ นานา
แต่มีขยะหนึ่งที่มีอัตราการ "เพิ่มขึ้น" อย่างมากเป็นพิเศษในช่วงหลาย 10 ปี
หรือช่วงยุค 4.0 คือ "อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์"
Cr. https://www.matichon.co.th/economy/news_1334551
เมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว เราเพิ่งเริ่มใช้ประโยชน์จากไฟฟ้า หลังจากนั้นมาทุกสิ่งเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ผลิตภัณฑ์เครื่องใชไฟฟ้าผุดขึ้นมาอย่างรวดเร็ มากมาย ในตอนแรกผู้คนคิดว่าสิ่งพวกนี้เป็นของใช้ "ฟุ่มเฟือย" ไม่จำเป็นเพรา จู่ ๆ มีไฟฟ้าขึ้น จากที่สมัยก่อนเราจุดไฟใช้ถ่าน
ทำให้เราไม่มั่นใจในการใช้ แถม ณ ตอนนั้นยังมีราคาสูงอีกด้วย แต่หลังจากนั้นมาไม่นาน ทุกอย่างค่อย ๆ เปลี่ยนไป เครื่องใช้ไฟฟ้ามากมายกลายเป็น "สิ่งจำเป็น" ของเราไปเสียแล้ว....
กว่าที่เราจะรู้ตัวเราก็ขาดมันไม่ได้เสียแล้ว … ดังเช่น ทีวี ตู้เย็น พัดลม
ถัดมาอีกยุคสมัยในยุคที่เรียกว่าได้ว่าเป็น "ยุคทอง" ของดิจิตอลต่าง ๆ นานา โทรศัพท์กลายเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมี และ"โทรศัพท์" ก็ได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนตลอดไป
ผมมีคำถามที่อยากให้คุณคิดก่อนจะตอบครับ
ในช่วงระยะเวลา 2-3 ปี คนเปลี่ยนอะไรมากที่สุด
1. ทีวี
2. ตู้เย็น
3. โทรศัพท์
คำตอบคือ มือถือ !!!!!
เพียงระยะเวลา 3 ทศวรรษเท่าน้ันที่มือถือเกิดขึ้นมา ในปี 2018 ที่ผ่านมาทั่วโลกมีขยะอิเล็กทรอนิกส์มากว่า 50 ล้านตัน และส่วนใหญ่ไม่ได้รีไซเคิล
80% ของขยะอิเล็กทรอนิกส์บนโลกไม่ได้ถูกรีไซเคิล มีเพียง 20% เท่านั้นที่ได้รับการรีไซเคิล
Cr. https://www.posttoday.com/life/healthy/461096
ต่อไปเราจะขอแทนคำว่า ขยะอิเล็กทรอนิกส์ด้วยคำว่า E - waste นะครับ
แล้ว 80% ที่เหลือไปอยู่ไหน ???
คำตอบ คือ กระจัดกระจายอยู่ทั่วทุกที่ E-waste ที่ไม่ได้รับการจัดการจะถูกทิ้งรวมกับขยะอื่น ๆ ไปในหลุมฝังกลบ หรือ อยู่กับพวกรับซื้อของเก่าที่นำไปแยกเอาชิ้นส่วนต่าง ๆ เพื่อนำไปขาย แต่ขยะพวกนี้หากไม่ได้รับการจัดการที่ถูกวิธี จะให้เกิดมลพิษตามมาได้
หาก E-waste ถูกทิ้งรวมไปกับขยะมูลฝอยแล้วถูกนำไปเผา จะสร้างมลพิษทางอากาศที่ร้ายแรงกว่าคาร์บอนไดออกไซต์หลายเท่าตัว
1
การเปลี่ยนสมาร์ทโฟนบ่อยขนาดนี้ ผลที่ตามมาก็คือ E-waste ที่เพิ่ม
ขึ้นอย่างมากมาย ไม่น่าแปลกใจ เพราะในโลกที่เทคโนโลยีกำลังก้าวกระโดด อินเทอร์เน็ตมี "ความสำคัญต่อทุกสิ่ง" มันยิ่งทำให้ขยะ E-waste มีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย
Cr. https://www.matichon.co.th/region/news_368555
ราคาของความก้าวหน้า
กฎของโลกใบนี้กล่าวไว้ว่า........
"การที่เราจะกล่าวไปข้างหน้าได้ จำเป็นต้องทิ้งสิ่งบางอย่างไว้ข้างหลัง"
"มันคือการแลกเปลี่ยนที่เท่าเทียม...." ไม่มีอะไรบนโลกนี้ที่ได้มาฟรี ๆ ต้นไม้กว่าจะเติบโตได้ก็ต้องย่อมดูดซับคาร์บอน เพื่อให้ตัวเองได้เติบโต
.
หากเราอยากได้หนังสือสักเล่ม เราก็ต้องทำงานหาเงิน แลกแรงกายเพื่อให้
ได้มาซึ่งเงินไปซื้อหนังสือ ส่วนการได้มาซึ่งแรงกายของเรา
.
ก็เกิดจากกินอาหาร เพื่อให้ได้มาซึ่งพลังงาน การได้มาซึ่งอาหาร เราก็ต้อง
เสียทั้งน้ำ พื้นดิน เพื่อการเพาะปลูก
อ้าว !!!! แต่ถ้าได้หนังสือมาฟรี ๆ ละ เราจะเสียอะไร ???
ก็ทรัพยากรที่ใช้ทำหนังสือไงครับ!!! คงไม่สิ่งใดบนโลกใบนี้ที่อยู่ดี ๆ
ก็โผล่ขึ้นมาจริงไหม
( นอกจากเราจะมีเวทมนตร์ หรือมันมาจากนอกโลก อันนั้นก็ยกเว้น )
ในโลกที่มีเทคโนโลยีมากมายขนาดนี้เราจำเป็นต้องมีของทุกอย่างงั้นหรือ
สิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ นานา ที่เราใช้งานกันในปัจจุบัน เราจำเป็น
.
ต้องเปลี่ยนของทุกครั้งที่มีของใหม่ออกมา เพราะของเก่ามันไม่ตามเทรนด์
ทำให้เราดูไม่คูล
.
เหตุผลในการเปลี่ยนสิ่งของใช้งานของคุณคืออะไร??
.
เปลี่ยนเพื่อให้เราสะดวกสบายขึ้น หรือมันจำเป็นต่อการใช้งานจริง ๆ
เปลี่ยนเพราะของมันเก่าหมดสภาพ ไม่สามารถใช้งานต่อได้
เปลี่ยนเพราะเห็นคนอื่นมีก็อยากมีบ้าง
"สบายตอนนี้ ลำบากตอนหน้า" คุณเลือกอะไร
ถ้าเรามีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่คงทน สามารถเปลี่ยนได้ง่าย เราก็คงไม่ต้องอยู่ใน " สังคมใช้แล้วทิ้ง" ขนาดนี้
พูดให้ชัดก็คือ เราอยู่ในระบบที่ผู้ผลิตจงใจผลิตสินค้าที่มีอายุการใช้งานจำกัดโดยไม่จำเป็น เพื่อที่จะทำให้เราต้องทิ้งสินค้าตัวเก่า ไปซื้อสินค้าตัวใหม่
ไปเรื่อย ๆ
ตัวอย่างที่เห็นชัดเจนในตอนนี้ก็คงเป็นอุปกรณ์อย่าง สมาร์ทโฟน หรือ คอมพิวเตอร์ ครับ ในยุคก่อนเวลาคอมเราเสียเราก็มักส่งซ่อมร้านกันจริงมั้ยครับ (ผมว่าคอมพิวเตอร์สมัยก่อนทนกว่าสมัยนี้อีกนะครับ )
.
แต่พอมายุคนี้ กลายเป็นว่า ค่าซ่อม พอกับ เครื่องใหม่ในบางรุ่น เพราะสมัยก่อนผู้ผลิตไม่ได้ขัดขวางการ " ซ่อม" ส่วนไหนพังก็แค่เปลี่ยน ไม่ต้องซื้อเครื่องใหม่แล้วโยนเครื่องเก่าทิ้ง
แต่ ณ ตอนนี้การเป็นว่า เวลาเราไปร้าน มักได้คำตอบกลับมาว่า ซื้อใหม่เถอะ ซ่อมไปก็เสียเวลา อีกทั้งยังมีการขัดขวางการซ่อมอีกต่างหาก ตั้งแต่การสร้างให้สามารถซ่อมได้ยาก ไขควงที่ไม่มีตามท้องตลาด
.
ขู่ว่าถ้าเกิดการงัดแงะจะหมดประกัน ทำให้ความคิดการ ซ่อมเพื่อใช้ต่อ กลายเป็นทางเลือกที่ไม่ได้อยู่ในหัวเราแล้วด้วยซ้ำ เพราะถ้าพังซื้อใหม่ก็จบ เป็นการแก้ปัญหาโดยใช้เงินอย่างแท้จริง
Cr. https://www.99acres.com/articles/market-slump-impacts-real-estate-brokers-business.html
หากผู้ผลิตยังไม่ผลิตชิ้นส่วนที่คงทนขึ้นมา เราก็คงต้องอยู่กันแบบนี้ต่อไป ซึ่งในทางทฤษฎีแล้ว วัสดุคงทนนั้นทำได้ไหม ???
แล้วการผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในอวกาศล่ะ (แต่ราคามันแพงนะ ???)
ไม่จำเป็นต้องถึงขนาดใช้วัสดุแบบนั้นก็ได้ครับ แค่เปลี่ยนมาใช้วัสดุที่คงทนกว่าตอนนี้ก็พอ
แต่เราเป็นผู้บริโภคเราเกี่ยวไรด้วย
จะว่าไม่เกี่ยวก็ไม่ใช่ซะทีเดียว เพราะผู้ผลิตตอบสนองใครครับ ก็ผู้บริโภคไงครับ ถ้าไม่มีคนซื้อแล้วจะขายใคร
ถ้างั้นเราก็ห้ามซื้อของ!!!!!
มันก็คงเป็นไปได้ยากที่เราจะไม่ใช้ ไม่ซื้อ แต่เราสามารถลดการใช้ ลดการซื้อแทนได้ครับ หรือเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ประเด็นนี้เป็นเพียงมุมหนึ่งที่ผมหยิบยกขึ้นมาพูดให้ฟังครับ
เพราะในความจริง มุมมองของคนนั้นต่างกัน คนบางคนอาจบอกว่าก็เพราะฉันมีเงินการที่ฉันจะซื้อของเปลี่ยนของเพื่อความสะดวกสบายของตัวเองมันผิดตรงไหน!!!! ทำไมต้องทนใช้ของเก่า ๆ
ผมขอยกความหมายของคำว่า อนุรักษ์ ให้ฟังนะครับ
อนุรักษ์ "ไม่ใช่" การ "ไม่ใช้" แต่เป็นการ "ใช้ "เกิดประโยชน์สูงสุด
แล้วคุณใช้สิ่งของที่คุณได้มานั้นคุ้มค่าที่สุดหรือยัง ?????
เรียบเรียงโดย : เรื่องเล่าคนเข้าป่า
เพราะการอนุรักษ์ต้อง "เริ่มที่ตัวเรา "ครับ :)
ที่มา :
https://www.itu.int/en/mediacentre/backgrounders/Pages/e-waste.aspx
https://www.greenpeace.org/thailand/story/9813/goodlife-overconsumption-throw-away-society/
3 บันทึก
23
11
4
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
เรื่องของขยะที่ไม่ใช่แค่ขยะอีกต่อไป
3
23
11
4
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย