1 ก.พ. 2020 เวลา 10:58
Declining marginal utility เมื่อเงินที่เราต่างทำทุกอย่างเพื่อให้ได้มา อาจไม่ใช่คำตอบของความสุข
หากถามว่าทุกอย่างที่เราทำอยู่ในทุกๆวันนี้ เราทำไปเพื่ออะไร
ไม่ว่าจะเป็นการตื่นไปทำงาน การทนกับคนที่เราไม่ชอบ และการทำสิ่งที่เราไม่อยากทำ
ทุกๆคำตอบจะไปจบที่เราทำทุกอย่างเพื่อให้เรา “ความสุข” ไม่ว่าในปัจจุบันหรือในอนาคต
และหากถามว่าสิ่งไหนที่คิดว่าจะทำให้เรามีความสุขได้มากที่สุด
คนเกือบทั้งหมดคงจะตอบเหมือนกันว่าสิ่งนั้นก็คือ “เงิน”
แต่ในความจริงแล้วเงินสามารถซื้อความสุขได้เพียงระดับนึงเท่านั้น เพราะอะไรกัน?
นักเศรษฐศาสตร์และนักจิตวิทยาได้ใช้เวลาหลายสิบปีศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความมั่งคั่ง (Wealth) และความสุข (Happiness)
และสิ่งที่พวกเค้าพบคือความมั่งคั่งสามารถเพิ่มความสุขได้ก็ต่อเมื่อความมั่งคั่งนั้นพาคนเหล่านั้นออกจากความยากจน(Poverty)และเข้าสู้ชนชั้นกลาง
แต่ความมั่งคั่งแทบไม่สามารถเพิ่มความสุขได้เลยสำหรับคนชั้นกลางจนไปถึงคนรวย
โดยการศึกษาพบว่าคนอเมริกันที่มีรายได้ $50,000 ต่อปีมีความสุขมากกว่าคนที่มีรายได้ $10,000 ต่อปีมาก
แต่คนที่มีรายได้ $5,000,000 ต่อปีกลับไม่ได้มีความสุขกว่าคนที่มีรายได้ $100,000 ต่อปีซักเท่าไหร่
ผู้คนในประเทศที่ฐานะยากจนจะมีความสุขน้อยกว่าผู้คนในประเทศที่ฐานะปานกลาง
แต่ผู้คนในประเทศฐานะปานกลางกลับแทบไม่ได้มีความสุขน้อยกว่าผู้คนในประเทศที่ร่ำรวยมากๆ
นักเศรษฐศาสตร์จึงอธิบายไว้ว่าความมั่งคั่งจะมี “declining marginal utility” อยู่ในตัว
หรือการลดลงของความพึงพอใจที่มีต่อสิ่งๆหนึ่งที่มากขึ้น
อย่างเช่นหากเรากำลังหิวมากๆ แล้วเราสั่งพิซซ่ามา พิซซ่าชิ้นแรกมักจะอร่อยที่สุด
แต่ยิ่งกินไปเรื่อยๆความสุขที่ได้จากพิซซ่ามันจะยิ่งน้อยลงเรื่อยๆ ยิ่งชิ้นสุดท้ายสำหรับคนที่อิ่มแล้วอาจจะรู้สึกทรมานไปเลยก็ได้
ความหิว,หนาว,ร้อน,ป่วย,เหนื่อย มันแย่ แต่เมื่อเราสามารถซื้อตัวเองออกมาจากสิ่งเหล่านี้ได้
เงินที่เหลือก็เป็นเพียงแค่กองกระดาษที่เพิ่มขึ้นมาโดยไม่มีความหมาย
Adam Smith หรือบิดาแห่งเศรษฐศาสตร์ได้กล่าวไว้ว่า
“In what constitutes the real happiness of human life, they are in no respect inferior to those who would seem so much above them. In ease of body and peace of mind, all the different ranks of life are nearly upon a level, and the beggar, who suns himself by the side of the highway, possesses that security which kings are fighting for.”
-Adam Smith , The Theory of Moral Sentiments
กล่าวคือเงินสามารถซื้อความสุขให้เราได้ถึงแค่จุดๆที่เราไม่ทุกข์ในทางกายภาพ
และเมื่อนั้นความสุขมันก็จะมาจากมุมมองต่อโลกและความเข้าใจในตัวเองแทนครับ
Reference : Stumbling on happiness (2006) By Daniel Gilbert
โฆษณา