1 ก.พ. 2020 เวลา 13:35 • ธุรกิจ
"ฟังเพลงยังไงไม่ให้โดนจับว้า"
ทุกวันนี้การฟังเพลงสะดวกง่ายดายมากขึ้น มีโทรศัพท์เพียงเครื่องเดียวสามารถฟังเพลงได้เป็น 10 เป็น 100 เป็น1,000 เพียงปลายนิ้ว วันนี้อยากมาแบ่งปันกันครับ การฟังเพลงแบบ ชาวบ้านๆ โทรศัพท์เครื่องเดียวเสียบหูฟังหรือต่อบลูทูธเข้าลำโพงฟังกันในครอบครัวเต้นเเร้งเต้นกา มันไม่มีความผิดใด
แต่วันนี้ผมจะมาเขียนถึงการฟังเพลงแบบที่ต้องขออนุญาติแบบเป็นทางการ ต้องบอกอย่างนี้น่ะครับ เพลง เกิดจากคนที่มีความสามารถในทางดนตรี ไม่ว่าจะ ร้อง เล่น เต้น โชว์ กว่าจะทำให้เพลงนั้นดังคนรู้จัก มีกระบวนการทำงาน มีการลงแรง ลงเงิน สำคัญมีความล้มเหลวผิดหวัง จึงจะได้เพลงดังๆสักเพลง คนเขียนเพลง อาจจะเขียนมาเป็น 100 เป็น1, 000 กว่าจะโดนสักเพลง คนเล่นดนตรีเล่นแล้วเล่นอีกไม่รู้กี่รอบกว่าจะได้ทำนองติดหูคนฟัง บริษัทลงทุนเม็ดเงินถ้้าโชคดี เพลงนั้นดังก็ได้ตังกันไป ต้องบอกตรงนี้นะครับผมไม่ได้เข้าข้างใครสะที่เดียว ผมอยากบอกว่า ศิลปะ ก็ต้องการการสนันสนุนมันถึงพัฒนา เห็นเพลงเกาหลีไหมครับเค้าดังไปไกลทั่วโลก กังนำ ม้าขย่ม ผมอยากเห็นเพลงไทย น้ำพริกปลาทู(นึกท่าเต้น พี่สามารถ พยัคอรุ่น) แต่ฝรั่ง เกาหลีเต้น หรือ เพลงฉันรักเมืองไทย มีคนฝรั่งร้อง เกาหลีร้อง คงดีไม่ใช่น้อย ทั้งหมดนี้ที่เขียนมาอยากสื่อว่า คนในประเทศเค้าสนับสนุนกันอย่างเข้มแข็ง แล้วเราละกำลังมองอย่าไร
กฎหมายลิขสิทธิ์บ้านเรามีการกำหนด
การทำซ้ำ, เผยแพร่, แจกจ่าย ต้องบอกให้เจ้าของรับรู้และอนุญาติ ดังนั้นการฟังเพลงจึงต้องว่าด้วยการฟังแบบไหน สถานที่ไหน เช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ห้าง ในร้าน สนามบิน จะต้องขอเจ้าของก่อน (หมายถึงการเปิดออกลำโพงในที่สาธารณะ)และต้องได้รับอนุญาติ จึงจะถูกต้อง จริงๆแล้วไม่ยุ่งอยากครับ เราอยาก ฟัง เปิด เล่น เพลงใครเราเข้าพี่ Google.เลยใครเป็นบริษัทผลิตเอาเบอร์แล้วโทรถามครับ เก็บตังไหม ถ้าฉันจะใช้้เพลงคุณไปใช้ที่นี่ รูปแบบนั้น ได้ไหม หรือ มีค่าใช้จ่ายอย่างไง ผมเชื่อว่าต่อลองคุยกัน คุยกันเค้ายินดีแน่นอนครับ
สิ่งที่เกิดขึ้นในหน้าข่าว ว่ามีการจับกุม ทำให้หลายคน รู้สึกว่าเจ้าหน้าที่ และเจ้าของเพลงทำโหดร้ายจัง อยากให้เรามองอย่านี้ครับ การที่เราอยู่กันเป็นหมู่มากย่อมต้องมีกฎเกณ์ ของมันต้องมีเจ้าของ และรายได้ของเค้า เค้าก็ต้องได้ เช่นกันถ้าเป็นเรา เราก็อยากได้เงินหรือผลประโยชน์จากสิ่งทีเราสร้างสรรค์ ดังนั้นจงมองให้เห็นถึงการพัฒนาทุกอย่างมีต้นทุน
พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์
สุดท้ายนี้ถ้าผู้อ่านเห็นเป็นประโยชน์ กดถูกใจหรือแชร์ ให้เป็นพลังใจแก่ผมด้วยครับ หรือจะเพิ่มเติมสิ่งที่เป็นประโยชน์แรกเปลี่ยนความเห็น ด้วยความหวังพรุ่งนี้ต้องดีกว่า จาก #ผู้น้อยหัดเขียน
โฆษณา