2 ก.พ. 2020 เวลา 19:32 • ประวัติศาสตร์
2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 ทหารกองทัพแดงของสหภาพโซเวียตกว่า 1 ล้านนายบุกเข้าปลดปล่อยสตาลินกราดเมืองสตาลินกราดหลังการต่อสู้นานกว่า 5 เดือน ทหารกองทัพนาซีเยอรมันถูกจับเป็นเชลย 91,000 นาย
.
ยุทธการที่สตาลินกราด (Battle of Stalingrad) เป็นสมรภูมิการสู้รับที่สำคัญแห่งหนึ่งในมหาสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพนาซีเยอรมันต้องการบุกยีดครองสหภาพโซเวียตด้วยเหตุผลด้านแหล่งทรัพยากรธรรมชาติแหล่งน้ำมันบากูสามารถใช้สนับสนุนการรบ รวมไปถึงฮิตเลอร์นั้นมีความเกลียดชังลัทธิคอมมิวนิสต์ตั้งแต่ในช่วงที่ฮิตเลอร์เริ่มสร้างอำนาจทางการเมืองในเยอรมันนี
.
หลังจากใช้เวลาวางแผนอย่างลับ ๆ นานกว่า 7 เดือน ฮิตเลอร์ส่งปฏิบัติการบาร์บาร็อสซา (Operation Barbarossa) เคลื่อนกองทัพเยอรมันเข้าโจมตีสหภาพโซเวียตแบบสายฟ้าแลบเคลื่อนทัพด้วยคลื่นรถถังโจมตีขนาดมหึมาในวันที่ 22 มิถุนายน ค.ศ. 1941 แบ่งกองทัพออกเป็น 6 เส้นทาง ทิศเหนือเป้าหมายเมือง Leningrad เมือง Vitebsk เมือง Rogocher เมือง Kiev เมือง Cherkossy และเมือง Stalingrad โดยกองทัพทั้งหมดจะเคลื่อนไปรวมพลเข้ายึดกรุง Moscow ของเมืองหลวงของสหภาพโซเวียต
.
แม้กองทัพหลักจะสามารถเดินทัพเข้าไปในเขตแดนสหภาพโซเวียตจนเกือบถึงกรุง Moscow ด้วยสายการส่งกำลังบำรุงที่ยาวเหยียดและเริ่มเข้าสู่ฤดูหนาวทำให้กองทัพนาซีเยอรมันเริ่มต้นเป็นฝ่ายอ่อนแอประกอบกับการต้องแบ่งกำลังเพื่อช่วยทหารที่กำลังต่อสู้ในเมือง Stalingrad ซึ่งกองทัพนาซีไม่สามารถตีให้แตกพ่ายและกลับต้องตกเป็นฝ่ายถูกกองทัพแดงของสหภาพโซเวียติปิดล้อมเสียเอง
.
19 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 เริ่มเปิดฉากปฏิบัติการยูเรนัส (Operation Uranus) กองทัพแดงสหภาพโซเวียต 1 ล้านนาย นำโดยนายพลเซมิออน ตีโมเชนโค (Semyon Timoshenko) เริ่มต้นบุกปิดล้อมเมืองสตาลินกราดที่อยู่ภายใต้การยึดครองของกองทัพที่ 6 นาซีเยอรมัน กองทัพยานเกราะแพนเซอร์ที่ 4 และกองทัพโรมาเนีย ภายใต้การบัญชาการของจอมพลฟรีดริช เพาลุส (Friedrich Paulus)
.
ปฏิบัติการยูเรนัส (Operation Uranus) เป็นการรบช่วงสุดท้ายของยุทธการที่สตาลินกราด (Battle of Stalingrad) ที่ยาวนาน 5 เดือน เพื่อช่วงชิงเมืองสตาลินกราดของสหภาพโซเวียติซึ่งมีความสำคัญด้านยุทธศาสตร์เป็นเมืองอุตสหกรรมโรงงานผลิตรถถังของสหภาพโซเวียติโดยเฉพาะสายการผลิตรถถัง T-34 ในการบุกสภาพโซเวียติและเส้นทางเข้าถึงแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ของสหภาพโซเวียติในขณะนั้น การเสียเมืองสตาลินกราดให้กองทัพนาซีเยอรมันอาจกลายเป็นจุดเปลี่ยนให้ฝ่ายนาซีเยอรมันกลายเป็นผู้ชนะในสงครามโลกครั้งที่ 2
.
การต่อสู้กันระหว่างกองทัพรถถัง
.
การต่อสู้เกิดขึ้นอย่างดุเดือดโดยกองทัพแดงใช้กำลังรถถังกว่า 900 คันวิ่งเข้าใส่โจมตีด้วยความรวดเร็ว พลทหารเยอรมันที่อยู่แนวหน้าฝั่งแม่น้ำดอนได้ยินเสียเครื่องยนต์รถถังกองทัพแดงสนั่นหวั่นไหว กองทัพนาซีเยอรมันที่ขาดพร้อมด้านเสบียงและอุปกรณ์ป้องกันความหนาวเยือกแข็งถูกตีแตกพ่ายอย่างรวดเร็ว
.
กองทัพนาซีเยอรมันค้นพบว่ารถถัง Panzer ของพวกเขาติดเกราะที่บางกว่ารถถังของกองทัพแดงและยากต่อการทำลายได้ง่าย ๆ แม้จะโดนยิงเข้าอย่างจังโดยเฉพาะรถถังหนัก KV1 หรือ รถถังคลีเมนต์ โวโรชีลอฟ (Kliment Voroshilov Tank) มีน้ำหนักมากถึง 45 ตัน ติดตั้งเกราะหนา 90 มิลลิเมตร ปืนใหญ่ 76.2 มิลลิเมตร รถถังกองทัพนาซีเยอรมันต้องใช้วิธีวิ่งอ้อมไปยิงจากด้านหลังหรือด้านข้างของรถถังกองทัพแดงเพราะเป็นตำแหน่งที่มีเกราะหนาน้อยกว่าด้านหน้า การรบในครั้งนี้เป็นสงครามระหว่างรถถังที่สำคัญครั้งหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่ 2
.
23 พฤศจิกายน ค.ศ. 1942 กองทัพแดงบุกโอบล้อมเมืองสตาลินกราดได้สำเร็จ ทหารกองทัพแดงทั้ง 2 กองพลเดินทางมาพบกันที่เมืองคาลัช บัดนี้ภายกองทัพแดงสามารปิดล้อมเมืองสตาลินกราดที่มีกองทัพที่ 6 นาซีเยอรมัน กองทัพยานเกราะแพนเซอร์ที่ 4 และกองทัพโรมาเนียได้เรียบร้อยแล้ว กองทัพแดงสามารถตัดการขนส่งอาวุธ เสบียงของกองทัพนาซีได้เกือบทั้งหมด กองทัพนาซีเยอรมันต้องใช้วิธีขนส่งอาวุธและอาหารทางอากาศให้ทหารในเมืองสตาลินกราด
.
กองทัพนาซีเยอรมันใช้ปฏิบัติการพายุฤดูหนาว (Operation Winter Storm) ใช้ทหารนาซีเยอรมัน 50,000 นาย พร้อมรถถังตีฝ่าวงล้อมกองทัพแดงเข้าไปช่วยกองทัพที่ 6 นาซีเยอรมัน กองทัพยานเกราะแพนเซอร์ที่ 4 และกองทัพโรมาเนียในเมืองสตาลินกราด แผนการนี้เกือบประสบความสำเร็จสามารถบุกโจมตีเข้าไปถึงระยะ 70 กิโลเมตรก่อนถึงเมืองสตาลินกราดแต่ก็ไม่อาจเข้าไปช่วยเหลือกองทัพที่ 6 ในเมืองสตาลินกราดได้สำเร็จ
.
ฮิตเลอร์สั่งจอมพลฟรีดริช เพาลุสห้ามยอมแพ้
.
จอมพลเอริช ฟ็อน มันชไตน์เสนอปฏิบัติการสายฟ้าฟ้าแลบ (Operation Thunderclap) ให้กองทัพที่ 6 ยอมแพ้ถอยออกมาจากเมืองสตาลินกราดทางด้านทิศตะวันตกแต่แผนการนี้ถูกอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ปฏิเสธและออกคำสั่งให้กองทัพที่ 6 ของนาซีเยอรมันสู้จนตัวตายห้ามยอมแพ้โดยเด็ดขาด หากจอมพลฟรีดริช เพาลุสถูกจับตัวก็ขอให้ฆ่าตัวตาย ต่อมาจอมพลฟรีดริช เพาลุสถูกองทัพแดงจับกุมตัว
.
อย่างไรก็ตามในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1943 กองทัพที่ 6 นาซีเยอรมัน กองทัพยานเกราะแพนเซอร์ที่ 4 และกองทัพโรมาเนียยอมแพ้ที่เมืองสตาลินกราด ทหารถูกจับกุมตัวเป็นเชลยกว่า 91,000 นาย ส่งตัวไปยังค่ายกักกันของกองทัพแดงในสหภาพโซเวียต ในจำนวนเชลยทั้งหมดนี้รอดชีวิตกลับบ้านหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงเพียงแค่ไม่กี่พันนายเท่านั้น
.
อ่านเพิ่มเติม : ปฏิบัติการยูเรนัส (Operation Uranus) กองทัพแดงเริ่มต้นบุกปิดล้อมเมืองสตาลินกราด https://thehistorynow.com/operation-uranus/
.
เรียบเรียงโดย THE HISTORY NOW
.
กดติดตาม THE HISTORY NOW รวบรวมข้อมูลประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจทั้งด้านประวัติศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม สงคราม ประเพณี บุคคลสำคัญ เทคโนโลยี วันนี้ในอดีต เพื่อขับเคลื่อนสังคมแห่งแบ่งปันข้อมูลและการเรียนรู้ในประเทศไทย
.
กด Follow Twitter | www.twitter.com/TheHistoryNowth
กด Follow Instagram | www.instagram.com/thehistorynow
โฆษณา