Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ห้องโอบอุ่นใจ
•
ติดตาม
3 ก.พ. 2020 เวลา 10:59 • ไลฟ์สไตล์
ความเชื่อหลัก core believes
เส้นทางการเติบโตที่ต้องอยู่รอด ประสบการณ์ครอบครัว วัฒนธรรมที่หล่อหลอม ทำให้เรามีกระบวนการตัดสินใจเพื่อมีชีวิตรอดทางกาย และจิตใจ เราสร้างความเชื่อหลักเพื่อใช้เปนแนวทางดำเนินชีวิต
วิธีการสำรวจ
1. เริ่มด้วยการสังเกตบทสนทนาที่เรามีกับตนเอง กับคนรอบตัว เรามีคำว่า “ควร ต้อง น่าจะ” หรือท่าทีการสั่งการ การบอกกล่าว สั่งสอน คุณค่าที่ยึดถือที่มีต่อท่าทีชีวิต เรื่องราวความขัดแย้ง ท่าทีความสัมพันธ์ อะไร อย่างไรบ้าง
เช่น “จะทำอะไร ควรจะคิดให้รอบคอบหน่อย”.
“เธอต้องรู้ซิ ว่าอะไรควร ไม่ควร “
“การช่วยเหลือเปนสิ่งที่ดี หัดมีน้ำใจบ้าง”
“ตาต่อตา ฟันต่อฟัน อย่าไปยอม ยิ่งอ่อนแอยิ่งโดนข่มเหง”
ฯลฯ
2. ลองสังเกตครับว่าเวลาที่เจอเหตุการณ์ที่ขัดแย้งกับอะไรบางอย่างในตัวเรา เช่น คุณค่า ความต้องการ เหตุการณ์หรือตัวก่อกวนนั้นก่อเกิดปฎิกิริยาอะไรในตัวเรามันก่อเกิดเสียงตัดสินต่อตัวเรา ต่ออีกฝ่ายอย่างไรบ้าง เสียงตัดสินนั้นจะเปนร่องรอยในการสืบค้นความเชื่อหลักนั้น
เช่น. หงุดหงิดเวลาที่อีกฝ่ายมีอารมณ์ความรู้สึกท่วมท้น. สะท้อนความเชื่อ “คนเราควรมีเหตุผล” ผิดหวัง โกรธ เสียใจเวลาที่อีกฝ่ายคนสำคัญไม่ใส่ใจ เพิกเฉย ความเชื่อที่ขับเคลื่อนก็อาจเปน “ถ้าเรามีน้ำใจให้ เราควรได้น้ำใจตอบ”
Core Beliefs
หรือ ‘ความเชื่อหลัก’ เป็นสิ่งที่อยู่ในตัวเราทั้งโดยรู้และไม่รู้ตัว เช่น เสียงตัดสินในใจที่มีต่อตัวเองและผู้อื่นด้วยการใช้คำว่า “ควร / ต้อง / น่าจะ” เป็นกฎเกณฑ์ในการดำเนินชีวิตซึ่งมีเบื้องหลังมาจากกฎครอบครัว เช่น
1.Deficiency เชื่อว่า “เรามีความขาดพร่อง เรายังดีไม่พอ” ทำให้มีท่าทีแบบ ‘try hard’ คือกดดันเรียกร้องตัวเองอยู่เสมอว่า ต้องพยายามทำให้มากขึ้น ต้องทำให้ดีขึ้น
2.Struggle เชื่อว่า “โลกนี้ไม่ง่าย เราจึงต้องต่อสู้ฟาดฟัน” ทำให้มีพฤติกรรมแบบ ‘be strong’ คือต้องมีความเข้มแข็ง และเป็นเรื่องยากที่จะขอความช่วยเหลือจากคนอื่น หรือแม้แต่การแสดงความอ่อนแอผ่านการร้องไห้ก็ไม่ควรทำ
3.Sense of Suffering เชื่อว่า “โลกนี้มันทุกข์ยาก เศร้าหมอง” แง่หนึ่งช่วยปลอบประโลมให้เราอยู่กับความทุกข์ได้ แต่ก็ทำให้เรามีพฤติกรรมแบบยอมจำนน ไม่กล้าเปลี่ยนแปลง ไม่กล้าทำในสิ่งที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น โดยคิดว่ามันเป็นเรื่องสมเหตุสมผลแล้วที่เราจะทุกข์
4.Dichotomies ความเชื่อลักษณะแบ่งขั้ว-แบ่งฝ่าย หรือแนวคิดแบบ “ได้อย่างก็ต้องเสียอย่าง” เช่น ด้านหนึ่งเราอยากมีอิสระเป็นตัวของตัวเอง แต่อีกด้านก็ต้องการเชื่อมโยงกับผู้อื่น จึงเกิดความขัดแย้งในใจระหว่างความรู้สึกสองขั้ว เพราะเชื่อว่าการจะได้สิ่งหนึ่งก็ต้องยอมสูญเสียอีกสิ่งหนึ่ง (แต่เป็นไปได้ไหมที่เราจะดูแลความต้องการทั้งสองส่วนนี้ โดยไม่จำเป็นต้องเลือก)
5.อื่นๆ เช่น ความเชื่อว่า “ความรักต้องมีเงื่อนไข” ถ้าเราอยากได้ความรัก เราก็ต้อง ‘please others’ หรือความเชื่อว่า “โลกนี้รักคนเก่ง” ถ้าคนอื่นจะรักเรา เราก็ต้อง ‘be perfect’
คุณค่าของการเรียนรู้เรื่องนี้ ก็เพื่อการมีความสามารถรู้เท่าทันตนเอง ลดทอนความขัดแย้งที่มีกับตนเอง กับความสัมพันธ์เวลาที่เจอโจทย์ท้าทาย เจอเหตุการณ์ เรื่องราวที่เปนตัวก่อกวน
และถ้าเราจะอิสระจากกลไกความเชื่อที่สร้างอุปนิสัยตอบโต้ เราก็ต้องเท่าทันกลไกนี้เพื่อมีช่องว่างให้เราเลือกตัดสินใจในหนทางสร้างสรรค์กว่าได้.
เราก็ต้องเริ่มต้นที่การทำงานด้วยการรู้จักความเชื่อหลักที่ซ่อนในตัวเรา
ขอให้ทุกท่านมีความสุขในการเรียนรู้ เข้าใจตนเองกับแบบฝึกหัดนี้นะครับ
ด้วยรักและปรารถนาดี
ความเชื่ออะไรทำให้เขา คนนี้มาอยู่ ณ จุดนี้
ระหว่างตัวกระตุ้นกับการตอบโต้ มีช่องว่างที่เราสามารถอำนาจ คือ ความสามารถมีอิสระที่จะเลือกการตอบสนองที่ต่างจากกลไกการตอบโต้ เราสามารถตอบสนองบนเส้นทางการเติบโตและความมีอิสระ
บันทึก
4
2
4
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย