4 ก.พ. 2020 เวลา 11:18 • การศึกษา
DATA พาเพลิน #4 : "โคโรน่า เอฟเฟค"
DATA พาเพลิน #4
ยอมรับเลยครับ โพสต์นี้เหนื่อยเอาเรื่อง พิมพ์ๆลบๆอยู่สอง - สามวัน
...เหตุเกิดจากคำถาม(โง่ๆ)อีกแล้ว
เมื่อวันที่ 30 มกราคม เวลาประมาณเที่ยงๆ น้องๆลงไปทานข้าวเที่ยงกัน ผมเลยฝากซื้อเจลล้างมือ ผลปรากฏว่า...หมด ของขาดตลาด
วันรุ่งขึ้นไปร้านขายยาเพื่อหาซื้อหน้ากากอนามัยเพิ่ม ปรากฏว่า...หมดอีก
เมื่อวานเข้าไปดูตาม Shopping online...หมด หมด หมด
ด้วยความคับแค้นใจ จึงเกิดคำถามในใจว่า
....ทำไมเราไม่รู้ตัวก่อนหน้านี้!
"กู๋" พอจะทำนายให้เราได้มั้ย
(1)
ผมใช้คำค้นหา
1.โคโรน่า
2.ไวรัส
3.โคโรน่า+ไวรัส
โดยค้นหา 30 วันย้อนหลัง เฉพาะในประเทศไทย
(1)
กราฟถูกยกตัวขึ้นชัดเจน จากสถานการณ์ยอดผู้ติดเชื้อและยอดผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2563
แต่มาพีคสุด และถูกค้นหาสูงสุดในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2563 หลังจากมีข่าวพบผู้ป่วยหญิงชาวจีน ที่หัวหินติดเชื้อไวรัสโคโรน่า
(2)
คราวนี้ผมใส่คำค้นหาอีกหนึ่งชุด
1.หน้ากากอนามัย
2.mask
3.เจลล้างมือ
(2)
กราฟคำค้นหา ถูกยกตัวขึ้นตามลำดับ
จุดพีคคือวันที่ 30-31 มกราคม
มาถึงจุดนี้ ผมมีความไม่แน่ใจอยู่บางประการ คือ
...คำค้นที่เกี่ยวข้องกับหน้ากากอนามัย ถูกก่อกวนจากบางปัจจัยอยู่หรือไม่
หากวัดเอาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า สถานการณ์ค่าฝุ่นละออง PM 2.5 ในบ้านเรา ก็เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดคำค้นหาอย่าง"หน้ากากอนามัย" เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว บวกกับเหตุการณ์ไวรัสโคโรน่าในปัจจุบัน ยิ่งไปกันใหญ่ สิ่งที่พอทำได้คือ ลองใช้ชุดคำเพิ่มอีกสักหน่อย
ผมสร้างชุดคำค้นหาอีกหนึ่งชุด
1.หน้ากากอนามัย+pm
2.mask+pm+2.5
(3)
(3)
คำค้นหา วิ่งขึ้นไปพีคในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ.2563 ซึ่งตรงกับปริมาณค่าฝุ่นละอองในสัปดาห์นั้น (ค่าฝุ่นพีควันที่ 20)
https://www.airvisual.com/thailand/bangkok
คราวนี้เรากลับมาที่หน้ากากอนามัยและไวรัสโคโรน่ากันต่อ
(4)
ผมเลยใช้อีกวิธีหนึ่งที่ง่ายๆและไม่ซับซ้อนเท่าไหร่ คือ ผมเลือกค้นหาข่าวย้อนหลังในช่วงเฉพาะตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม - 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 และดูคำค้นหายอดนิยมในแต่ละวันประกอบ
(4)
(5)
ผลลัพธ์ที่ได้ ผมสรุปข้อมูลตามนี้...
(5)
อย่างที่กล่าวมาข้างต้น จุดพีคของเหตุการณ์อยู่ในวันที่ 25 มกราคม พ.ศ.2563 หลังจากมีข่าวพบผู้ป่วยหญิงชาวจีน ที่หัวหินติดเชื้อไวรัสโคโรน่า
วันที่ 26 มีผู้ป่วยต้องสงสัย เพิ่ม 3 คน
วันที่ 27 หน้ากากอนามัยที่หัวหินขาดตลาด
วันที่ 28 หน้ากากอนามัยขาดตลาด
วันที่ 29 หน้ากากอนามัยขาดตลาด
วันที่ 30 ผมฝากน้องซื้อเจลล้างมือ....
หากนำทั้งหมดมารวมกัน เราก็พอสามารถมองเห็นบางอย่างได้...
(6)
(6)
กราฟ 6A ทางด้านซ้ายคือคีย์เวิร์ดอย่าง โคโรน่า ไวรัส เมื่อมาถึงจุดพีคสุดของเหตุการณ์ (ในกรอบเวลา 30 วันที่ผ่านมา) วันที่ 25 (จุดสีแดง) กราฟก็กดตัวลง ส่วนกราฟ 6B คือคีย์เวิร์ดของอุปกรณ์ป้องกัน...กราฟทั้งสองอัน กำลังวิ่งสวนทางกัน
กราฟ 6B จากวันที่ 25 วิ่งขึ้นไปจนแตะความพีคในวันที่ 30 และ 31 มกราคม แสดงให้เห็นว่าผู้คนกำลังค้นหาอุปกรณ์ป้องกันเชื้อโรคอย่างหนักหน่วง หลังจากรู้ว่าพีคของวันที่ 25
จุดตัดของเส้นคำค้นหา (กากบาทสีเทา) อาจบ่งบอกถึงการพยายามสลับคำค้นหา เพื่อให้เข้าถึงสินค้าได้มากขึ้น คำนี้ไม่มี คำนี้อาจจะมี (เช่น ผมพิมพ์คำว่า "หน้ากากอนามัย" เจอเจ้าที่ขาย เมื่อสอบถามไปกลับกลายเป็นว่า สินค้าหมด ผมก็จะค้นหาใหม่โดยพิมพ์คำว่า "mask" เผื่อว่าจะไปพบเจ้าที่มีของขายอยู่)
กล่าวโดยสรุป เป็นไปได้มั้ยว่า...
1.หน้ากากอนามัยที่ขาดตลาดอย่างหนัก มาจาก 2 สาเหตุคือ ปัญหาค่าฝุ่น PM 2.5 และไวรัสโคโรน่า (ออกแนวเคราะห์ซ้ำกรรมซัด)
2.ตั้งแต่วันที่ 27 ของที่เริ่มขาดตลาดตามร้าน กระตุ้นให้ผู้คนเริ่มค้นหาหน้ากากใน"กู๋"มากขึ้น โดยคาดหวังว่าจะสามารถหาซื้อได้จากทางออนไลน์แทน
3.ถ้าผมรู้จุดพีคของเหตุการณ์นี้ (ในกรอบเวลานี้) ผมยังสามารถซื้อหน้ากากอนามัยกับเจลล้างมือในวันที่ 25 และ 26 ได้ทันเวลา!
ทั้งหมดนี้คือข้อมูลที่ทำมานำเสนอ ผมไม่ต้องการชี้นำแต่อย่างใด แต่อยากให้เกิดการต่อยอดทางความคิดต่อไปครับ
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ปี 2009
ไวรัสโคโรน่า ปี 2020
10 ปี โรคระบาดก็วนกลับมา
...โลกกำลังสร้างสมดุลอีกครั้ง
ขอให้ทุกท่านปลอดภัยและสุขภาพแข็งแรง (มีหน้ากากและเจลล้างมือใช้)ครับ
*ขอปิดท้ายด้วย"โคโรน่า เอฟเฟค" อีกหนึ่งเรื่องทึ่เกิดขึ้นในขณะนี้
(7)
โคโรน่าเบียร์ เบียร์สัญชาติเม็กซิโก กำลังถูกเชื่อมโยงกับไวรัสโคโรน่า อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นคีย์เวิร์ดที่เหมือนกัน ด้วยความไม่รู้(จริงๆ)หรือเล่นพิเรนทร์ โคโรน่าเบียร์ถูกผนวกกับไวรัสโคโรน่าจนเกิดเป็นคำค้นหา อาทิเช่น...
1 beer virus
2 corona beer virus
3 beer coronavirus
(7)
ถึงแม้ว่าทางบริษัทจะมั่นใจว่าผู้บริโภคจะไม่นำเอาสินค้าของบริษัทไปเชื่อมโยงกับเชื้อไวรัสโคโรนาที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในประเทศจีนขณะนี้ แต่เปอร์เซนต์คำค้นหา ตั้งแต่วันที่ 18-26 มกราคม พบคำว่า “"corona beer virus" เพิ่มขึ้นถึง 2,300%, คำว่า "beer virus" เพิ่มขึ้น 744% และ คำว่า "beer coronavirus" เพิ่มขึ้น 3,233%
แต่โดยความคิดส่วนตัวของผม(และประสบการณ์ในการทำแบรนด์ดิ้ง) ผมคิดว่ามีในระยะยาวอย่างแน่นอน ต้องรอดูต่อไป...
***หมายเหตุ DATA ข้อมูลที่เกิดขึ้นในโพสต์นี้ เป็นการรวบรวมข้อมูลคำค้นหาบนแพลตฟอร์มของกูเกิ้ลอย่างเดียวเท่านั้น ข้อมูลและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเกิดจากการรวบรวมและบันทึก ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ผู้เขียนและทีมงาน DATA พาเพลิน มีเจตนารมณ์เพื่อให้ชุดข้อมูลดังกล่าว เกิดการต่อยอดทางความคิดแก่ผู้อ่าน ไม่ได้มีความประสงค์จะชี้นำในเรื่องใดๆแต่อย่างใด
ชอบกดไลก์ ใช่กดติดตาม
ขอบพระคุณทุกการติดตาม
#DATAพาเพลิน
#DATAPAPLEARN

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา