7 ก.พ. 2020 เวลา 14:23 • การศึกษา
อริยสัจ 4 กับวิทยาศาสตร์ เหมือน หรือ ต่างกันอย่างไร ?
ลองมาทำความเข้าใจกันดูสักหน่อยดีกว่าครับ
🤔🤔🤔
ก่อนที่เราจะไปเปรียบเทียบ ว่า หลักธรรม เรื่องอริยสัจ 4 กับ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ นั้นเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
เราก็ต้องมาทำความรู้จักกับสิ่งนั้นๆก่อนว่า คืออะไร ? จริงไหมละครับ ☺️
งั้น เรามาเริ่มกันที่ทางฝั่งของ ศาสนา กันก่อน ดีกว่าครับ 🙂
🌸 อริยสัจ 4 คืออะไร
ถ้าจะให้พูดง่ายๆ ก็คือ วิธีการแก้ปัญหา ด้วยปัญญาในการดำเนินชีวิตประจำวัน ตามหลักเหตุและผลและปัจจัยต่างๆ เพื่อให้หลุดพ้นจากความทุกข์
โดยอาศัยหลักธรรมอยู่ 4 ประการ 😁
🔹หลักธรรม ข้อที่ 1. คือ ทุกข์
คือสิ่งที่ทำให้เราเกิดความไม่สบายกาย และใจ เป็นผลที่เกิดมาจากเหตุปัจจัยต่างๆ
🔹หลักธรรม ข้อที่ 2. คือ สมุทัย
คือเหตุ ของทุกข์ ที่เกิดขึ้น แต่ละคนก็คงจะมีทุกข์ที่แตกต่างกันไปมากน้อยแตกต่างกัน กิเลส ตัณหาต่างไป ที่ถาโถมเข้ามา สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นต้นเหตุของความทุกข์ทั้งสิ้น
🔹หลักธรรม ข้อที่ 3. คือ นิโรธ
นิโรธ นั้นคือ การดับความทุกข์ที่เกิดขึ้น ได้อย่างประจักษ์ชัด
🔹หลักธรรม ข้อที่ 4. คือ มรรค
เป็นแนวทางของการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้น เพื่อการดับความทุกข์ ซึ่งมีแนวทางการปฏิบัติอยู่ 8 ประการ หรือที่เราเรียกว่า มรรคมีองค์ 8 หรือที่เราสามารถเรียกแบบสั้นสั้นว่า ทางสายกลาง
🚀 วิทยาศาสตร์
อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นความจริงของธรรมชาติ ที่เราสามารถ พูดคุย และพิสูจน์ได้จากการทดลองต่างๆ อย่างเป็นเหตุเป็นผล
โดยอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ที่มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน ดังนี้
🔸กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ข้อที่ 1. คือ การกำหนดปัญหา
คือการตั้งคำถามต่างๆนานา ที่เกิดขึ้น เช่น ทำไม ที่ไหน เมื่อไหร่ คำพูดต่างๆเหล่านี้ล้วนเป็นคำที่กำลังบ่งบอกว่า กำลังมีปัญหาเกิดขึ้น
🔸กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ข้อที่ 2. คือ การตั้งสมมติฐาน
เป็นการคาดเดา คำตอบ ของปัญหาที่เกิดขึ้น ที่ไม่ว่าคุณจะคิดอย่างไร มันก็จะไม่มีคำตอบที่จะบอกคุณได้หรอกว่า ถูก หรือผิด เพราะมันเป็นเพียงแค่การคาดเดาเท่านั้นเองครับ
🔸กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ข้อที่ 3. คือ การทดลอง
เป็นขั้นตอนที่ใช้กระบวนการ ขั้นตอนต่างๆรวมไปถึงการรวบรวมข้อมูล เพื่อใช้ในการพิสูจน์ ตามข้อสันนิษฐาน ว่าเป็นจริงตามการคาดเดาหรือไม่
🔸กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ข้อที่ 4. คือ การสรุปผล
หลังจากการทดลองทุกๆครั้ง สิ่งที่เราต้องทำก็คือการสรุปผล ในการสรุปผลนั้น ถ้ามันเป็นไปตามการคาดเดา หรือสมมุติฐาน ที่เราตั้งขึ้นมาในตอนแรก ก็ถือว่า เรามาถูกทาง สามารถตอบคำถาม ของปัญหาได้สำเร็จ
แต่ถ้า ข้อสรุปนั้นยังไม่สอดคล้อง กับสมมุติฐาน เราก็อาจจะพูดได้ว่า มันไม่ใช่หนทางของการแก้ปัญหา ที่เกิดขึ้น จึงต้องกลับไปตั้งสมมติฐาน และทำการทดลองใหม่อีกครั้งหนึ่ง
💠 คราวนี้ ลองมาเปรียบเทียบระหว่าง อริยสัจ 4 กับ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ดู เราจะเห็นว่า ทั้งสองสิ่งนี้มีความ คล้ายคลึงกันมากๆ
🔻ทุกข์ นั้นเหมือนกับ ปัญหา ที่ทำให้เราเกิดความไม่สบายกายและใจ ต่างๆนานา
🔻สมุทัย ที่เหมือนกับ การตั้งสมมุติฐาน การมองหาสาเหตุของปัญหาและความทุข์ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน อะไรละ ที่เป็นสาเหตุของปัญหาและความทุกข์ ทำไมเราถึงไม่มีความสุข...
🔻มรรค ที่เหมือนกับ การทดลอง ด้วยวิธีการต่างๆ อย่างมีขั้นตอนและเหตุผล จะทำให้เรานั้นพบกับวิธีของการแก้ปัญหาและการดับทุกข์
🔻นิโรธ ที่เหมือนกับ บทสรุปของปัญหาต่างๆ ที่ทำให้เรานั้นเกิดความไม่สบายกายและใจ ซึ่งกว่าที่เราจะมาถึงจุดนี้ได้ ก็ต้องผ่าน การตั้งคำถาม สมมุติฐาน และการแก้ปัญหาต่างไป เพื่อที่จะได้พบคำตอบที่เรียกว่าความสุขนั่นเอง
อ่านจบแล้ว ทุกคนมีความคิดเห็นอย่างไรกันบ้างครับ ลองมาแสดงความคิดเห็นพูดคุยกันได้ที่ชองคอมเม้นด้านล่างเลยครับ 😁
และสุดท้ายนี้ อย่าลืม กดว้าว เพื่อบอกเราว่าอ่านมาถึงบรรทัดสุดท้ายนะครับ 😆😆
Ref:
🔸http://www1.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=2827:4&catid=96:2009-09-19-10-13-59&Itemid=326
🔸https://sites.google.com/site/social054/bth-thi-4/hawkhx-yxy-4-2
🔸http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~cpornth1/Web_SciProject/a02.htm
🔸https://ngthai.com/science/21673/scienctificprocessing/
วิทย์นิดนิด เรียบเรียง 6/2/2563
สามารถหลังไมค์มาคุยกับเรา ได้ที่ลิงค์ด้านล่างนี้นะครับ 😁😁🔻🔻
☀️บทความนี้คือบทความที่ตั้งเวลาล่วงหน้า ขอบคุณทุกๆคนที่เข้ามาอ่านและติชิมล่วงหน้านะครับ
โฆษณา