6 ก.พ. 2020 เวลา 23:00 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
#อัศจรรย์ธรรมชาติสู่นวัตกรรม EP. 3
--"รู้หรือไม่ เครื่องตรวจจับท่อแก๊สรั่วและน้ำมันรั่วได้รับแรงบันดาลใจมาจากค้างคาว"--
ต้นปี 2020 ที่ผ่านมานี้ เราก็เจอกับข่าวใหญ่อยู่หลายอย่าง ที่ส่งผลด้านลบต่อความรู้สึกของเรา ตั้งแต่เริ่มต้นปีเลยที่เดียว หนึ่งในปัญหาที่ทำเอาหลายๆ คนหวั่นวิตกเป็นอย่างยิ่ง นั่นก็คือ การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ที่มีต้นทางมาจากเมืองอู่ฮั่น (Wuhan) มณฑลหูเป่ย์ (Hubei) ของประเทศจีน
โดยในวารสารการแพทย์ Lancet ได้วิเคราะห์ทางพันธุกรรมและชี้ว่าต้นตอของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ หรือ 2019-nCoV มีแหล่งกำเนิดของเชื้อมาจากค้างคาว โดยวันนี้ ant ไม่ได้มาพูดถึงเจ้าค้าวคาวในด้านเชิงเชื้อพาหะของไวรัส แต่ ant พาทุกคนไปดูความมหัศจรรย์ตามธรรมชาติของเจ้าค้างคาว
ความมหัศจรรย์ของเจ้าค้างคาวในที่นี้ คือ มันกลายเป็นแรงบันดาลใจให้กับทีมวิศกรทีมหนึ่ง พัฒนาอุปกรณ์ตรวจจับการรั่วไหลของท่อส่งแก๊สและน้ำมัน จากเทคนิคที่เจ้าค้างคาวใช้ในการล่าเหยื่อและหลบหลีกสิ่งกีดขวาง มันจะเป็นยังไงนั้น ant จะเล่าให้ฟัง
ถ้าใครเคยคลุกคลีอยู่ในวงการของเครื่องมือวัดอุตสาหกรรมจะรู้ว่า มันมีเครื่องวัดท่อแก๊สรั่วและท่อน้ำมันรั่วอยู่ โดยเครื่องมือดังกล่าวอาศัยหลักการของความยาวคลื่นในย่าน ultrasound หรือไม่ก็เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคนิคทางคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าในการตรวจวัด
แต่ทีมวิศกรจากห้องปฏิบัติการ National Physical ของ Lancaster University เป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอังกฤษ ร่วมกับบริษัท Hybrid Instruments ได้พัฒนาระบบสแกนการรั่วไหลของท่อส่งแก๊สและท่อส่งน้ำมันแบบใหม่ขึ้นมา โดยอาศัยหลักการสะท้อนที่รู้จักกันในชื่อ "backscatter หรือ การกระเจิงกลับ" เป็นพฤติกรรมที่คลื่นหรืออนุภาคสะท้อนจากวัตถุหรือพื้นผิวที่ตกกระทบนั่นเอง
โดยหลักการการกระเจิงกลับแบบใหม่นี้ ไม่ได้อาศัยเทคนิคของความยาวคลื่นในย่าน ultrasound แต่เป็นการอาศัยเทคนิคการกระเจิงกลับจากรังสีสองชนิดนั่นก็คือ นิวตรอนเร็ว (fast-neutron) และ รังสีแกมา (gamma ray) ในการตรวจจับการกัดกร่อนของท่อที่เป็นสาเหตุของการรั่ว
ทำไมถึงใช้อนุภาคดังกล่าว เพราะว่าอนุภาคนิวตรอนและรังสีแกมามีคุณสมบัติเฉพาะที่เป็นประโยชน์ เช่น อนุภาคนิวตรอนจะมีอันตรกิริยากับวัสดุที่มีความหนาแน่นต่ำเช่น พลาสติกเป็นหลัก แต่ถ้าเป็น "นิวตรอนเร็ว" ก็จะมีความสามารถในการทะลุทะลวงสูงจึงเหมาะกับการใช้ตรวจสอบวัสดุที่มีความหนามากๆ ส่วนรังสีแกมามีอันตรกิริยากับโลหะเป็นหลักนั่นเอง
โดยรังสีทั้ง 2 ชนิดนี้ จะสร้างสัญญาณทางไฟฟ้าที่แตกต่างกันขึ้นมา นั่นหมายความว่าทีมวิศกรจะทำการเก็บค่าของรังสีทั้งสองชนิดด้วยอุปกรณ์ตรวจจับชนิดใหม่ที่มีชื่อว่า "Mixed Field Analyser"
ต้องขอบคุณเจ้าค้างคาวแล้วแหละงานนี้ มันกลายเป็นพระเอกตัวจริงแบบไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ ที่ทางทีมวิศกรได้อาศัยหลักการกระเจิงกลับในการค้นหาวัตถุของมัน และพัฒนาเครื่องตรวจจับการรั่วไหลของท่อส่งแก๊สและท่อส่งน้ำมันออกมา ซึ่งนวัตกรรมนี้แน่นอนว่าจะต้องช่วยลดค่าใช้จ่ายและอันตรายจากการรั่วไหลของท่อส่งทั่วโลกได้อย่างดีเยียม
ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามารับชม ติดตามเรื่องราวดี ๆ ด้าน #วิทยาศาสตร์ #เทคโนโลยี และ #นวัตกรรม ได้ที่ #antnumber9 #มดหมายเลข9
#เครื่องตรวจจับท่อแก๊สรั่วและน้ำมันรั่วได้รับแรงบันดาลใจมาจากค้างคาว #การกระเจิงกลับ #backscatter #ใช่รังสีสองชนิดตรวจจับท่อแก๊สรั่วและน้ำมันรั่ว #นิวตรอนเร็ว #fast_neutron #รังสีแกมา #gamma_ray
โฆษณา