ตอนที่ 5 ธาตุทั้ง 4
แล้วเหนือกว่าเท่าไหร่ล่ะ ถึงจะ OK ก็ต้องกลับไปดูข้อที่ 2 คืออารักขสัมปทา ที่ได้อธิบายเรื่องการแบ่งทรัพย์ตามมาตรฐานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ว่า ต้องแบ่งเป็น 4 ส่วนเท่าๆ กัน คือ
เอาเก็บไว้ใช้เลี้ยงดูตัวเอง และ ครอบครัว ให้มีความสุข 1 ส่วน หรือ 25%
เอาไว้ใช้ในการลงทุน 2 ส่วน หรือ 50%
เก็บเอาไว้ใช้ในคราวจำเป็น 1 ส่วน หรือ 25%
เราทำได้ไหม ถ้ายังทำไม่ได้ ก็ต้องย้อนกลับไปดู 3 ข้อแรก คือ
1 อุฎฐานสัมปทา
2 อารักขสัมปทา
3 กัลยาณมิตตตา
พูดง่ายๆ อีกอย่างหนึ่งก็คือ ข้อที่ 4 สมชีวิตา นั้น เป็นตัวชี้วัดว่า เราฝึกปฏับัติ 3 ข้อแรก ได้ถูกต้องสมบูรณ์แค่ไหน ถ้าเราทำได้ถูกต้องสมบูรณ์ เราจะมีรายได้มากกว่ารายจ่าย และมากพอที่จะแบ่งทรัพย์ออกเป็น 4 ส่วนตามมาตรฐานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้
ก็จบเรื่อง เป้าหมายพัฒนาคุณภาพชีวิตด้าน เศรษฐกิจ นะ
ก่อนที่จะพูดเรื่องเป้าหมายต่อไป ขอทบทวนตอนที่ 1 สักนิดนะ ว่ามนุษย์มีเป้าหมายอยู่ 2 ประเภทคือ
1 เป้าหมายที่ไม่ได้พัฒนาคุณภาพชีวิต
2 เป้าหมายที่พัฒนาคุณภาพชีวิต
เป้าหมายที่พัฒนาคุณภาพชีวิตในทางพระพุทธศาสนา มี 4 เรื่องใหญ่ๆ คือ
1 เป้าหมายพัฒนาคุณภาพชีวิตด้าน เศรษฐกิจ ก็พูดจบไปแล้ว ต่อไปเป็น
2 เป้าหมายพัฒนาคุณภาพชีวิตด้าน สุขภาพ
3 เป้าหมายพัฒนาคุณภาพชีวิตด้าน ความสัมพันธ์
4 เป้าหมายพัฒนาคุณภาพชีวิตด้าน พัฒนานิสัย
จากนี้ไป ก็ขอขยายความข้อ 2 นะ เป้าหมายพัฒนาชีวิตด้านสุขภาพ
มีพุทธภาษิตอยู่ว่า “อโรคยา ปรมาลาภา” แปลว่า “ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ”
หลายท่านคงเคยได้ยินภาษิตนี้ ความจริงภาษิตนี้ครอบคลุมทั้งโรคทางกาย และโรคทางใจนะ แต่ในคลิป VDO นี้ จะพูดเฉพาะโรคทางกาย
ถ้าว่าโดยรายละเอียด พระพุทธองค์ทรงตรัสเกี่ยวกับเรื่องการรักษาสุขภาพไว้มากมาย ดังนั้น ในคลิป VDO นี้ จะไม่พูดเรื่องรายละเอียด แต่จะพูดโดยหลักการ
เอาเรื่องหลักการของร่างกายก่อน คำสอนในพระพุทธศาสนา ร่างกายของมนุษย์ประกอบไปด้วย ธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ
ดิน คือ ส่วนที่เป็นของแข็งในร่างกายได้แก่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ลำไส้ใหญ่ ลำไส้เล็ก อาหารใหม่ (หมายถึงอาหารที่เราเพิ่งรับประทานเข้าไป) อาหารเก่า (หมายถึงอุจจาระ) เป็นต้น