9 ก.พ. 2020 เวลา 10:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
การระบายความโกรธ ดีกับเราจริงไหม ?
1.
เชื่อว่าหลายคนคงจะเหมือนผม คือเติบโตมากับความเชื่อว่า
ถ้าเรามีความโกรธ จะต้องปลดปล่อยออกไปบ้าง
ไม่เช่นนั้นจะกลายเป็นเก็บกด
ไอเดียนี้จะเทียบความโกรธเหมือนหม้อต้มความดัน
เมื่อความดันมากถึงจุดหนึ่งต้องระบายความดันออก
ไม่เช่นนั้นก็อาจจะระเบิดออกมาได้
ซิกมันด์ ฟรอยด์ ก็แนะนำเช่นนั้น
เขาเชื่อว่าการเก็บอารมณ์ทางลบ เช่น โกรธหรือเกลียดไว้มากๆ จะเป็นผลเสียต่อจิตใจ
การปลดปล่อยไปบ้างจะดีกับสุขภาพมากกว่า
ผม Sigmund Freud ไม่ใช่คนต้นคิดเรื่อง Catharsis แต่ผมเชื่อเช่นนั้นและโน้มน้าวให้คนเชื่อตามได้มาก
ในทางวิชาการ ทฤษฎีนี้มีชื่อเรียกว่า catharsis
แต่คำถามคือ ความเชื่อนี้เป็นจริงเหรือเปล่า ?
2.
ความเชื่อใน catharsis นี้เกิดขึ้นมาก่อนที่วิชาจิตวิทยาแบบที่เป็นวิทยาศาสตร์จะเกิดขึ้น
หมายความ เป็นสมมติฐานที่เกิดขึ้นด้วยการใช้เหตุผล ใช้สามัญสำนึก
แล้วก็เชื่อต่อๆกันมาเรื่อยๆ โดยไม่เคยมีการมาพิสูจน์ด้วยหลักฐานหรือการทดลอง
จนเมื่อประมาณสัก 60-70 ปีก่อน (กะคร่าวๆนะครับ) ก็เริ่มมีการนำสมมติฐานนี้มาพิสูจน์ด้วยการทดลอง
ในช่วง 60 กว่าปีที่ผ่านมานี้ มีคนทำงานวิจัยเพื่อทดสอบสมมติฐานนี้จำนวนไม่น้อย
ผมจะไม่ลงไปที่การทดลองใดการทดลองหนึ่ง แต่จะเล่าหลักการกว้างๆของทำการทดลองเหล่านี้ให้ฟัง
พอให้เห็นภาพว่าเขาทำกันยังไงบ้าง
1 งานวิจัยมักจะไม่บอกอาสาสมัครตรงๆว่าทำงานวิจัยเกี่ยวกับอะไร
1
2 มักจะเริ่มด้วยการจัดฉากที่ทำให้อาสาสมัครู้สึกโกรธ โดยที่พวกเขาไม่รู้ว่าการทำให้โกรธเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย
1
3 แบ่งอาสาสมัคเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึงเป็นกลุ่มทดลอง อีกกลุ่มเป็นกลุ่มควบคุม
4 กลุ่มทดลองให้ทำอะไรก็ได้ที่ได้ระบายอารมณ์ด้วยความรุนแรง เช่น เอาค้อนไปทุบของสักสิบนาที หรือให้ชกกระสอบทราย (โดยไม่บอกว่านี่คือการให้ระบายอารมณ์ เช่น อาจจะบอกว่าเป็นงานวิจัยที่ทดสอบความแข็งแรงของค้อนเป็นต้น)
5 อีกกลุ่มให้นั่งเฉยๆสักสิบนาที โดยไม่ให้รู้ว่าตัวเองถูกให้นั่งเฉยๆ เช่น บอกว่าต้องรอนักวิจัย หรือ คอมพ์เสียรอการแก้ไข
6 เปิดช่องทางให้อาสาสมัคร ได้แก้แค้นคนที่ทำให้โกรธ เช่น ให้เขียนคำวิจารณ์การทำงาน
สิ่งที่พบมาตลอดในเกือบทุกการทดลองคือ....
กลุ่มที่ได้ระบายอารมณ์ มีแนวโน้มจะโกรธมากขึ้นกว่าเดิม เมื่อมีโอกาสแก้แค้นก็มีแนวโน้มจะทำเกินกว่าเหตุ
กลุ่มที่ต้องนั่งเฉยๆ 10 นาที มีแนวโน้มจะหายโกรธหรือปล่อยเรื่องให้ผ่านไปโดยไม่พยายามจะแก้แค้นมากนัก
1
ในบางงานวิจัยยังพบว่า กลุ่มที่ได้แสดงออกถึงความโกรธ มีแนวโน้มจะจำเหตุการณ์นั้นได้นานกว่า กลุ่มที่ปล่อยให้เรื่องนั้นผ่านไปอีกด้วย
โดยสรุป งานวิจัยแนวนี้จะแสดงให้เห็นว่า การระบายอารมณ์โกรธออกมาด้วยการกระทำมีแนวโน้มจะทำให้โกรธมากขึ้น อยากแก้แค้นมากขึ้น และจำความโกรธได้นานขึ้น
คำถามคือ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
ก็มาถึงงานวิจัยแบบที่สอง ที่จะช่วยตอบคำถามนี้
1 งานวิจัยแนวนี้ จะเป็นการนำเด็กหรือคนที่ปกติรู้ว่าเป็นคนใจเย็นมาเป็นอาสาสมัคร  แล้วแบ่งอาสาสมัครเป็น 2 กลุ่ม
2 กลุ่มที่หนึ่ง ทุบตีสิ่งของ ชกตุ๊กตาล้มลุก เหมือนว่ากำลังโกรธใครอยู่ สัก 15 นาที คือทำจนเหนื่อย
3 กลุ่มที่ 2 ให้นั่งเฉยๆ
4 ขณะที่กลุ่มแรกยังเหนื่อยอยู่ รีบให้มาทดสอบด้วยการให้อ่านเรื่องที่ชวนให้โกรธ หรือให้ดูคลิปวีดีโอที่ชวนให้โกรธ แล้ววัดดูว่า “รู้สึกโกรธ” มากน้อยแค่ไหน
สิ่งที่จะพบคือ การให้ทำอะไรที่ "รุนแรง" มีแนวโน้มจะทำให้โกรธง่ายขึ้น
จากงานวิจัย 2 แบบนี้ นำไปสู่ข้อสรุปว่า
เมื่อมีเหตุการที่ทำให้โกรธ => 
ก็จะนำไปสู่ อารมณ์โกรธหรืออารมณ์ไม่ดี
เมื่ออารมณ์ไม่ดี => 
กลไกความเครียดในร่างกายจะทำงาน มีการหลั่งฮอร์โมนเครียดออกมามากมาย
เมื่อร่างกายเครียด (ใจเต้นเร็ว กล้ามเนื้อเกร็งตึง) => 
จะมีผลย้อนกลับไปที่สมอง ทำให้สมองสร้างอารมณ์โกรธขึ้นมาอีก
วนไปเรื่อยๆ
จุดที่สำคัญมากและอยากเน้นให้เห็นจุดหนึ่งอยู่ที่ตรงนี้ครับ
บางครั้งตอนเริ่มต้นเหตุการณ์ที่ทำให้โกรธมมันเล็กมาก
แต่พอเราปลดปล่อยอารมณ์และพฤติกรรมโกรธออกไป
เราจะโกรธมากขึ้น จนสุดท้ายเรื่องเล็กจะกลายเป็นเรื่องใหญ่ขึ้นมา
ดังนั้นการปล่อยความโกรธ
จึงเหมือนการราดน้ำมันเข้าไปในกองไฟให้ความโกรธเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
คำถามหนึ่งที่เชื่อว่าหลายคนแอบสงสัยต่อคือ แล้วการออกกำลังกายจะช่วยไหม?
การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่แนะนำและถูกมองว่าเป็นทางออกที่สร้างสรรค์ของการระบายความโกรธ แต่จริงๆมันก็เหมือนดาบสองคมครับ จะดีหรือไม่ดี มันขึ้นกับสถานการณ์ด้วย
1
จะเข้าใจตรงนี้ผมขอเล่างานวิจัยเพิ่มเติมอีกหน่อย
วิธีการวิจัย แนวนี้ จะคล้ายกับที่เล่ามาก่อนหน้า คือ
ทำให้อาสาสมัครโกรธโดยไม่รู้ตัว
แล้วแบ่งเป็นสองกลุ่ม
กลุ่มแรกให้นั่งเฉยๆ
กลุ่มสองให้ออกแรง แต่กลุ่มที่สองนี้จะเพิ่มรายละเอียดอีกนิดหน่อยดังนี้ครับ
1
กลุ่ม 2A  ให้ออกแรง โดยตอนออกแรงให้นึกถึงคนที่ทำให้โกรธไว้ จะได้ระบายความโกรธ
กลุ่ม 2B ให้ออกแรงแต่ให้คิดเรื่องอื่นไปด้วย เพื่อไม่ให้นึกถึงเรื่องที่ทำให้โกรธ กลุ่มนี้จะเหมือนการไปเล่นกีฬา แล้วสนุกหรือเพลิดเพลินกับการเล่นกีฬา
1
สิ่งที่พบคือ กลุ่มที่ให้นั่งเฉยๆ ก็ยังเป็นกลุ่มที่เหลือความโกรธน้อยที่สุด  
กลุ่มที่บอกให้ออกแรงแล้วคิดถึงคนที่โกรธไปด้วยจะยังโกรธมากที่สุด 
ส่วนกลุ่มที่เลียนแบบการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ความโกรธจะอยู่ตรงกลาง
2
หลังจากอธิบายถึงที่มาที่ไปกันมายืดยาว
ก็ถึงเวลาสรุปเป็นคำแนะนำแล้วครับ
สรุป วิธีการจัดการกับความโกรธที่ดีที่สุด คือ
 
1 ตัดไฟแต่ต้นลม คือ อย่าให้ความโกรธขึ้นมาครอบงำได้
อย่าปล่อยความรู้สึกโกรธออกไป เช่น แสดงท่าทาง ตวาด
เพราะมันจะยิ่งทำให้โกรธมากขึ้น
1
2 พูดง่ายแต่ทำยาก การระงับอารมณ์โกรธเมื่อเกิดเหตุการณ์เฉพาะหน้าไม่ใช่สิ่งที่จะเบรกกันได้ง่ายๆ การฝึกต้องทำก่อนหน้าที่จะโกรธ และทำเป็นประจำ เช่น การฝึกสติ ตามรู้อารมณ์ให้ทัน อย่างสม่ำเสมอ
1
3 การกดความโกรธไว้ ไม่ได้ทำให้เก็บกด
4 ถ้าอยากระบายความโกรธควรเล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย โดยระหว่างเล่นอย่าไปนึกถึงเรื่องที่โกรธ วิธีนี้นอกจากจะช่วยเรื่องโกรธแล้ว ยังได้สุขภาพที่ดีเป็นของแถม
ก็หวังจะว่ามีประโยชน์นะครับ 
ใครมีประสบการณ์ที่คล้ายๆกันก็ลองแชร์ให้คนอื่นรับรู้ได้ในคอมเมนต์นะครับ
สำหรับเรื่องถัดไป ผมอยากจะชวนไปคุยกันต่อว่า
ทำไมเมื่อเรารู้สึกโกรธ เราจึงอยากแก้แค้น ?
สมองเราวิวัฒนาการความรู้สึกอยากแก้แค้นมาเพื่ออะไร?
(ปิดท้ายด้วยโฆษณา)
ถ้าชอบเรื่องราวเกี่ยวกับวิวัฒนาการของร่างกาย สมองและจิตวิทยาของมนุษย์ แนะนำหนังสือ Bestseller ของผมเอง 3 เล่ม เรื่องเล่าจากร่างกาย, 500 ล้านปีของความรัก เล่ม 1 และ 2 สามารถสั่งซื้อได้จากลิงก์
อ่านบทความประวัติศาสตร์อื่นๆเพิ่มเติมได้ที่
คลิปวีดีโอเกี่ยวกับประวัติศาสตร์
โฆษณา