ตัวอย่างที่สอง
นาย ค อายุ 40 ปี รายได้ 40,000 บาทต่อเดือน
นาย ค เปรียบเหมือนนาย ก ที่ได้รับเงินเดือนเพิ่มปีละ 4-5% นาย ค มีภาษีเงินได้ปีละ 8,600 บาท ด้วยเงินเดือนที่สูงขึ้นตามอายุงาน นาย ข จึงใช้ชีวิตในมาตราฐานที่สูงขึ้นในแต่ละด้าน ทั้งค่าอาหาร ที่พัก และค่าใช้จ่ายส่วนตัวต่างๆ ทำให้มีรายจ่ายพื้นฐาน รวมปีละ 63% ของรายได้รวม และมีรายจ่ายอื่นๆ รวมกัน 20% ของรายได้ เมื่อหักค่าใข้จ่ายทั้งสองก้อนจะมีเงินเหลือ 62,950 บาท ซึ่งนาย ค มีความรู้สึกว่าตัวเองมีการออมเงินเพิ่มขึ้นกว่าเดิมแล้ว นาย ค เลือกใช้เงิน 31,475 บาท เพื่อซื้อของใช้ส่วนตัวให้ตัวเอง และเก็บเงินส่วนที่เหลือ 31,475 บาทเป็นเงินออม จะเห็นได้ว่าเมื่อนาย ค ได้รับการตอบสนองความต้องการพื้นฐานแล้ว นาย ค เลือกที่จะตอบสนองความต้องการในขั้นที่สูงขึ้นคือ Social Belonging (การเป็นส่วนหนึ่งของสังคม), Esteem (การได้รับการเคารพ) ทำให้นาย ค ใช้เงินมากขึ้นกว่าการเพิ่มของรายได้ ดังนั้นเมื่อจัดสรรเงินใส่กระปุกแต่ละใบจะเห็นได้ว่าแม้นาย ค จัดสรรเงินใส่กระปุกใบที่ 5 มากขึ้นแต่กลับเป็นไปในสัดส่วนที่ลดน้อยลง. การมีรายได้มากขึ้นจึงไม่ได้หมายถึงการออมมาขึ้น. นาย ค เปรียบเป็นตัวแทนของพฤติกรรมการใช้จ่ายของคนกลุ่ม Henry ที่รายได้สูง กินหรู ใช้ชีวิตหรู