11 ก.พ. 2020 เวลา 13:02 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เชิญพบกับ The Speyer Wine Bottle ขวดไวน์ที่เก่าแก่ที่สุดของโลก อายุ 1,680 ปี รสชาติของประวัติศาสตร์ (ที่กินไม่ได้)
1. Speyer คือชื่อของเมืองที่ไวน์ขวดนี้ถูกค้นพบ ประเทศเยอรมนี ซึ่งพบอยู่ในหลุบศพของขุนนางชาวโรมัน เมื่อปี ค.ศ.1867
2. การบ่ม การหมัก การรักษาไวน์ ถือเป็นศาสตร์การผลิตที่ซับซ้อน เพราะทุก ๆ แบรนด์ต่างมีสูตรของตนเอง บางแบรนด์แนะนำว่าเมื่อไวน์ถูกบรรจุลงขวดแล้ว จะสามารถเก็บได้นานกว่า 10 ปี แต่ไม่ควรเกิน 20 ปี โดยที่บางแบรนด์ก็บอกว่าเก็บ ๆ ไปเถอะยิ่งนานยิ่งดี แต่สำหรับเจ้าขวดนี้ถูกเก็บอยู่นานถึง 613,000 วัน หรือก็คือ 1,680 ปี แน่นอนว่ามันไม่สามารถนำมาดื่มได้แล้วครับ
3. ทำไมถึงดื่มไม่ได้แล้วล่ะ ไหนบอกว่ายิ่งนานยิ่งดี (คำตอบโคตรจะคลุมเครือ เพราะนักวิจัยไม่อยากเปิดขวดเพื่อนำของเหลวออกมาหาคำตอบ พวกเขากลัวว่าจะทำให้ทั้งขวดเสียหายได้) แต่นักโบราณคดีก็ได้สรุปสั้น ๆ ว่า คนในอดีตเมื่อบรรจุไวน์ลงในขวดแล้ว พวกเขามักเติมน้ำมันมะกอกลงไปนิดนึง เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศทำไวน์เสียรสชาติ (สมัยก่อนนู้นยังไม่มีการใช้จุกไม้ก็อก มีเพียงใช้น้ำผึ้งทาแล้วใช้ไฟลนเป็นฝาปิดขวดเท่านั้น)
และแน่นอนว่าเมื่อระยะเวลาผ่านมานานขนาดนี้ แอลกอฮอล์ก็อาจหลงเหลืออยู่บ้าง (เพราะไม่เคยถูกเปิด) แต่คุณคงไม่อยากกินน้ำมันมะกอกที่บูดมาเป็นเวลานานร่วม 2 พันปีอย่างแน่นอน จริงมั้ยครับ ? ฮ่า ฮ่า
#Fact
อุณหภูมิที่ถูกวิจัยมาแล้วว่าเหมาะสมที่สุดในการเก็บรักษาไวน์คือ 12-15 องศาเซลเซียส และหากเก็บไว้ที่อุณหภูมิสูงเกิน 30 องศาเซลเซียส ไวน์จะเสียคุณภาพ นั่นคือเสียทั้งกลิ่นและรสชาติ (แต่ยังสามารถรับประทานได้ ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย)
อ้างอิง (Ref.)
โฆษณา