Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า
•
ติดตาม
12 ก.พ. 2020 เวลา 13:03 • ธุรกิจ
ประเทศจีน ปั้น ธุรกิจ/สตาร์ทอัพ จนยิ่งใหญ่ได้อย่างไร? (2)
บริษัทในจีนมีหลายบริษัททีเดียวที่ทำสินค้าโดย "ได้รับแรงบันดาลใจ" มาจากโลกตะวันตก
แต่หากให้เลือกมาแค่ 1 บริษัท ที่ลอก เอ้ย!ได้รับแรงบันดาลใจมาเต็มๆ แบบสำเนาถูกต้อง ก็คงต้องเลือกบริษัทที่มีชื่อว่า Xiaomi (อ่านว่า เสียวหมี่ หรือ ฉาวหมี่)
มาถึงวันนี้ เพื่อนๆ น่าจะพอทราบเรื่องราวของ Xiaomi กันมาพอสมควรแล้ว ว่าบริษัทนี้ทำธุรกิจอะไร โดยนอกจากมือถือที่หน้าตาละม้ายคล้ายโทรศัพท์มือถือของ Apple ก็จะมีเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะในบ้าน เช่น เครื่องฟอกอากาศ pm2.5 และที่ดูดฝุ่นแรงสูง เป็นต้น
ในบทความนี้ แอดมินจึงขอเล่าถึง เรื่องราวประวัติของผู้ก่อตั้ง และปัจจัยที่ทำให้บริษัท Xiaomi ขึ้นมาโดดเด่นในเวทีโลกได้แบบทุกวันนี้
หากพร้อมแล้วไปติดตามกันเลย
1) CEO และผู้ก่อตั้งของบริษัท ก็คือ Lei Jun (อ่านว่า เหลย จุน) โดย เหลย จุน เกิดที่เมืองเซียนเถา (Xiantao) มณฑลหูเป่ย (ที่เกิดโคโรนาไวรัสนั่นแหล่ะ) โดยเมืองเล็กแห่งนี้มีชื่อเสียงด้านการผลิตนักกีฬาโอลิมปิค มากกว่าผลิตนักธุรกิจ
2) เหลย จุน เข้าศึกษาด้านคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยอู่ฮั่น โดยเหลย จุน ได้มีโอกาสอ่านหนังสือ ที่ชื่อว่า "Fire in The Valley" ซึ่งบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาของการเกิดขึ้นของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล หรือ "PC" โดยหนังสือก็เล่าเรื่องราวช่วงที่ สตีฟ จ็อบส์ ร่วมกับ สตีฟ วอซเนียก ก่อตั้งบริษัท Apple เอาไว้ด้วย
Cr. techcrunch
เหลย จุน ยึดเอาสตีฟ จ็อบส์ เป็นแรงบันดาลใจ และตั้งเป้า อยากจะปั้นบริษัทชั้นนำด้วยฝีมือของตัวเองบ้าง เขาจึงรีบเรียนให้จบใน 2 ปี เพื่อจะได้ไปทำตามฝัน
Cr. Finance Twitter
3) ในช่วงเริ่มต้นอาชีพ เหลย จุน ได้เข้าทำงานในบริษัท Kingsoft ในจีน ซึ่งเป็นบริษัทที่ทำซอฟต์แวร์ คล้ายๆ เอกสาร Word คล้ายๆ Microsoft
เหลย จุน แสดงฝีมือ โดยเริ่มจากการเป็นวิศวกร ด้วยความเป็นคนบ้างานมากๆ - บางทีทำงานเกิน 100 ชั่วโมงต่อสัปดาห์!
ประกอบกับความสามารถที่เหนือกว่าวิศวกรทั่วๆไป ทำให้ เหลย จุน เจริญเติบโตในหน้าที่การงาน นำพาบริษัท Kingsoft เติบโต แตกไลน์สินค้าสู่โปรแกรม Antivirus (ในคอมนะ ไม่ใช่ไวรัสโคโรน่า) และขึ้นดำรงตำแหน่ง CEO หลังจากทำงานได้เพียง 5 ปี
1
นอกจากนี้เขายังนำบริษัท Kingsoft เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง ได้เป็นผลสำเร็จ ในปี ค.ศ. 2007
4) หลังจากประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว เหลย จุน ผันตัวเองไปเป็นนักลงทุนที่ลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพต่างๆ ในจีน โดยร่วมผลักดันสตาร์ทอัพให้เติบโตด้วย
บริษัทตัวอย่างได้แก่ เว็บไซต์ e-commerce ขายหนังสือที่ชื่อว่า
Joyo.com
ซึ่งถูก Amazon ซื้อกิจการกลายเป็น Amazon China ในปี 2014
เขายังได้ร่วมลงทุนใน เว็บบราวเซอร์ที่ชื่อว่า UCweb โดยลงหุ้นกับเพื่อนไป 603 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และถูก Alibaba ซื้อกิจการไปในปี 2014 เช่นกัน ด้วยมูลค่า 3.8 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ
5) จริงๆ แล้วช่วงที่เป็นนักลงทุน ปี ค.ศ. 2008 เหลย จุน วิเคราะห์ สถานการณ์ในจีนช่วงนั้นแล้วพบว่า มีเทรนด์ใหญ่ๆ ที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีน 3 อย่างด้วยกัน ก็คือ
หนึ่ง โซเชียลเน็ตเวิร์ก
สอง e-commerce
และ สาม อินเทอร์เน็ตไร้สาย และมือถือ
เหลย จุน ร่วมกับนักลงทุนคนอื่น ทำมันทั้ง 3 ข้อเลย ผลก็คือ ข้อหนึ่ง ล้มเหลวไม่เป็นท่า ข้อสองพอไหว ส่วนข้อสาม ก็คือ บริษัท Xiaomi นั่นเอง
6) ปลายปี 2009 เหลย จุน ร่วมกับเพื่อนซี้ อย่าง หลิน บิน (Lin Bin) ที่มีประสบการณทำงานที่ Microsoft 11 ปี และ Google อีก 4 ปี
ร่วมกับทีมก่อตั้ง ที่มีประสบการณ์โชกโชนด้านเทคโนโลยีและการตลาดอีกกว่า 10 คน การเดินทางของพวกเขา จึงได้เริ่มขึ้นตั้งแต่ตอนนั้น
7) ปัจจุบันอาจเรียกได้ว่า Xiaomi คือ จ้าวแห่งอุปกรณ์อัจฉริยะ IoT หรือ Internet of Things คือ อุปกรณ์ทุกอย่างของ Xiaomi เชื่อมต่อกันผ่านแอปพลิเคชัน ที่ Xiaomi ออกแบบขึ้นมาเอง
เคล็ดลับความสำเร็จของ Xiaomi คือ อะไร?
1
1) โมเดลธุรกิจที่เป็นเอกลักษณ์
คือ ถ้าพูดถึงสินค้าของ Xiaomi ก็คือ สินค้าคุณภาพเยี่ยม ในราคาที่ถูกเหลือเชื่อ
1
Xiaomi ตั้งเป้าที่จะขายสินค้าราคาย่อมเยา เพื่อให้คนทั่วไปซื้อมือถือไปใช้ได้ โดยพวกเขาพยายามตัดต้นทุนที่ไม่จำเป็น ซึ่งต้นทุนส่วนหนึ่งก็คือ ต้นทุนโฆษณาการตลาด และการกระจายสินค้าสู่ร้านค้าปลีก
บริษัทเลือกใช้ Model ขายสินค้าตรงถึงผู้บริโภค "Direct to Customer" โดยใช้ช่องทาง e-commerce ผ่านเว็บไซต์ของตัวเอง
ด้านการตลาด เหลย จุน สวมวิญญาณ สตีฟ จ๊อบส์ ใช้ตัวเองเป็นพรีเซ็นเตอร์ แนะนำสินค้า และด้วยราคาที่น่าตกใจ ก็ทำให้เกิดเหล่าสาวก หรือ Mi Fan ที่จะเป็นคนช่วยบอกต่อความเจ๋งของสินค้า โดยไม่ต้องเสียเงินโฆษณา
นอกจากนี้ Xiaomi ยังรับฟังความเห็นของลูกค้า Mi Fan ว่าบริษัทควรที่จะพัฒนาสินค้าไปในแนวทางไหนบ้าง ทำให้โดนใจผู้บริโภคอย่างมาก
เหลย จุน เคยบอกว่าจริงๆ แล้วโมเดลธุรกิจ Xiaomi ไม่ได้เหมือน Apple แต่เหมือน Amazon (e-commerce) และ Google ซะมากกว่า (หารายได้จากโฆษณา)
Xiaomi เอากำไรจากมือถือ เพียง 5% เท่านั้น แต่สร้างรายได้จาก แอปพลิเคชัน รายได้โฆษณา และอุปกรณ์อื่นๆ ที่มีใช้ตราสินค้า Xiaomi เหมือนขายด้ามมีดโกนถูกๆ แต่ขายใบมีดโกนแพงๆ
2) การสร้างระบบนิเวศน์ (Ecosystem)
นอกจากในจีน ยังมีการสนับสนุนสตาร์ทอัพอย่างดีเยี่ยมแล้ว ทาง Xiaomi เองก็ยังสร้างระบบนิเวศน์ ของอุปกรณ์ Internet of Things
1
Xiaomi เปิดให้บริษัทรายเล็กเข้ามาร่วมผลิตสินค้า IoT โดยทาง Xiaomi จะดูและเรื่องการออกแบบให้ผลิตภัณฑ์มีความสวยงามน่าใช้ และดูและงานขายและการตลาด โดยทางบริษัทที่มาเข้าร่วมกับ Xiaomi ก็จะมีหน้าที่ด้านการออกแบบสินค้าให้มีฟังก์ชั่นพิเศษ และการผลิตสินค้า
2
ผู้บริโภคจึงมีความมั่นใจในมาตรฐานคุณภาพสินค้า ที่ Xiaomi วางเอาไว้ และสามารถซื้อสินค้าในราคาที่เข้าถึงได้
1
3) เหลย จุน และ ทีมงานที่สุดยอด
ไค-ฟู ลี (ผู้เชี่ยวชาญด้าน AI) เคยบอกว่าเขาเชื่อใน Xiaomi เพราะ 3 เหตุผลด้วยกัน หนึ่งเหลย จุน สองเหลย จุน และสามเหลย จุน
อย่างที่เล่าไปเมื่อวานว่าสตาร์ทอัพจีนทำงานแบบ 9-9-6 คือ 9 โมงเช้าถึง 3 ทุ่ม 6 วันต่อสัปดาห์
1
แต่ที่ Xiaomi บางทีทำงานกันแบบ 0-0-7 คือ เที่ยงคืน ถึง เที่ยงคืน 7 วันติด นั่นคือ ไม่หลับไม่นอนกันเลย โดยเฉพาะช่วงที่ออกสินค้าใหม่
1
นอกจากนี้ผู้ร่วมก่อตั้ง และทีมงานของบริษัทก็ถือว่า มีชื่อชั้นระดับโลก จนสามารถโค่นแชมป์เก่าลงได้
นักลงทุนที่ลงทุนใน Xiaomi เคยคิดก่อนลงทุนว่า พวกนี้ที่มานำเสนอเพื่อขอเงินสร้างบริษัทสตาร์ทอัพที่ทำมือถือ ต้องบ้าแน่ๆ เพราะว่า ตอนนั้นในจีน มีบริษัทมือถือยักษ์ใหญ่อย่าง โนเกีย และโมโตโรล่า
1
แต่ผลก็อย่างที่เห็นคือ ยักษ์ใหญ่ ล้มหมดจริงๆ จน Xiaomi และเหล่ามือถือจีน ขึ้นมายึดครองตลาดไปเกือบทั้งหมด
มีคนเคยไปถาม ทิม คุก CEO ของ Apple ว่ารู้สึกอย่างไรที่มี Xiaomi เป็นคู่แข่ง
ทิม คุก ตอบสั้นๆ ว่า "เขาไม่ได้กังวล Xiaomi มากไปกว่าการแข่งขันกับบริษัทอื่นๆ"
แต่พอมีคนไปถามคุณเหลย ว่ารู้สึกอย่างไรที่คนบอกว่าเขาพยายามเลียนแบบ ศาสดา สตีฟ จ็อบส์...
คุณเหลย ตอบได้น่าสนใจว่า "ผมจะรู้สึกเป็นเกียรติมากๆ หากมีคนบอกว่าผมคือ สตีฟ จ็อบส์ แห่งประเทศจีน ช่วงที่ผมมีอายุ 20 ต้นๆ"...
..."แต่สำหรับคนในวัย 40 ปี ผมไม่คิดที่จะเป็นที่สองรองจากใคร"
ปัจจุบัน เหลย จุน อายุ 49 ปี และยังดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ และ CEO ของบริษัท Xiaomi
มาถึงวันนี้ก็ต้องบอกว่าบริษัท Xiaomi ของเหลย จุน ก้าวข้ามคำว่าเลียนแบบไปแล้ว และพวกเขากำลังพิสูจน์ว่า กลยุทธ์การทำงานแบบระบบเปิด (Open Source) ที่เปิดโอกาสให้บริษัทเล็กๆ มาเข้าร่วมในระบบนิเวศน์ (Ecosystem) ของ Xiaomi นั้น มันได้ผลเกินคาดจริงๆ...
วันพรุ่งนี้เราไปตามบริษัทจีนอีกซัก 1 บริษัท ก่อนจะกลับมาที่คำถาม "แล้วไทยจะสู้/ขยายธุรกิจไปจีนอย่างไรดี?"
1
ที่มา:
https://vulcanpost.com/591831/lei-jun-founder-of-xiaomi-lessons-learnt/
https://nextbn.ggvc.com/2018/02/15/episode-6-lin-bin-on-how-xiaomi-engineered-its-surprise-comeback/
https://www.quora.com/When-Xiaomi-was-first-started-how-were-the-founders-able-to-raise-41-million-dollars-at-a-9-figure-valuation-with-just-an-idea-on-a-napkin
https://www.quora.com/When-Xiaomi-was-first-started-how-were-the-founders-able-to-raise-41-million-dollars-at-a-9-figure-valuation-with-just-an-idea-on-a-napkin
https://www.straitstimes.com/asia/east-asia/dont-call-me-steve-jobs-says-xiaomi-founder-lei-jun
https://wccftech.com/here-is-how-xiaomi-ceo-lei-jun-was-inspired-by-steve-jobs-eventually-leading-his-company-to-an-imminent-6-billion-ipo/
💡ไม่อยากพลาดข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ และกลยุทธ์ทางธุรกิจ
กดติดตาม "นำเข้าส่งออก สุดขอบฟ้า"
https://zupports.co
และหากต้องการปรึกษาเรื่องนำเข้าส่งออก แอดไลน์ @zupports ได้เลย
http://bit.ly/35Rh2ql
31 บันทึก
227
23
40
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
ทีมประเทศไทย
Technology Disruption!
31
227
23
40
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย