Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
Save Wildlife & Forest
•
ติดตาม
13 ก.พ. 2020 เวลา 03:09 • การศึกษา
13 กุมภาพันธ์ วันอนุรักษ์นกเงือกของไทย....
นกแก๊ก (Oriental pied hornbill)
ในทุกๆปี เมื่อถึงเดือนกุมภาพันธ์ หรือที่เรารู้จักกันในเดือนแห่งความรักนั้น รู้หรือไม่ว่า มีอยู่หนึ่งวันที่เราให้ความสำคัญกับสัตว์ป่าชนิดหนึ่งที่สำคัญของไทย ได้ชื่อว่าเป็นนักปลูกป่า (Farmers of the forest) เป็นตัววัดความอุดมสมบูรณ์ของป่า และเป็นสัญลักษณ์ของรักแท้ หรือการซื่อสัตย์ในความรักแบบรักเดียวใจเดียวตลอดชีวิต สัตว์ชนิดนี้มีวิวัฒนาการมาจนถึงปัจจุบันกว่า 45 ล้านปีก่อนที่จะมีบรรพบุรุษของเราซะอีก สัตว์ที่เราจะพูดถึงในวันนี้นั่นคือ นกเงือก (Hornbill) นั่นเอง....
แล้วทำไมวันนี้ถึงเป็นวันอนุรักษ์นกเงือก? เราไปดูกัน
นกเงือกที่พบทั่วโลกมีทั่งหมด 55 ชนิด กระจายพันธุ์ในแถบเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทวีปแอฟริกาเท่านั่น ส่วนใหญ่อยู่ในป่าเขตร้อน (Tropical forest) ส่วนในประเทศไทยพบทั้งหมด 13 ชนิด พบได้ทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคเหนือ (มีรายงานพบเห็นอยู่บ้างอาจจะไม่บ่อยนักตามแนวชายแดนระหว่างไทย-เมียนมาร์)
นกเงือกที่พบในประเทศไทยทั้งหมด 13 ชนิด Cr. Thailand hornbill project
ในอดีตการอนุรักษ์นกเงือกและข้อมูลทางวิชาการมีอยู่น้อยมาก รวมถึงความตระหนักในการอนุรักษ์ของชาวบ้านในพื้นที่ ยังมีการลักลอบการล้วงลูกนกเพื่อนำมาเป็นสัตว์เลี้ยง การล่าเพื่อบริโภคทั้งโหนก ขน เพื่อนำมาเป็นเครื่องประดับ และการตัดไม้ทำลายป่า
โหนกของนกชนหินที่นำมาแกะสลัก ตามความนิยมของชาวจีน โหนก 1 อัน = ชีวิตนกที่ตาย 1 ชนิดหรือมากกว่านั้น (ถ้าหากมันมีชีวิตรอดอาจเพิ่มจำนวนมากขึ้น) Cr. NG Thai
นกเงือกถือว่าเป็นนกโบราณ กล่าวคือ เป็นนกที่มีขนาดตัวใหญ่ (ในบางชนิด) มีลักษณะการสร้างรังที่แตกต่างจากนกชนิดอื่นๆ คือ ต้องใช้โพรงรังในการสร้างรัง การใช้โพรงรังนี้เองจึงต้องอาศัยต้นไม้ขนาดใหญ่และต้องเกิดโพรงด้วย โดยโพรงนี้อาจจะเกิดจากโรคตามธรรมชาติของต้นไม้เอง หรือเกิดจากสัตว์ที่ทำให้เกิดขึ้นได้แก่ หมี นกหัวขวาน หรือสัตว์อื่นๆที่ต้องอาหารจากการทำให้ต้นไม้เกิดโพรง
เมื่อมีต้นไม้เกิดโพรงแล้ว เหมาะแก่การทำรัง ในฤดูผสมพันธุ์ของนกก็มาถึง (นกเงือกแต่ละชนิดมีช่วงระยะเวลาการผสมพันธุืที่แตกต่างกัน) พ่อนกและแม่นกหลังจากตกลงเป็นสามีภรรยากันแล้ว ก็อยากจะสร้างครอบครัวและหาบ้านสักหลังหนึ่ง เพื่อเลี้ยงลูกของมันเมื่อยังเล็กและป้องกันอันตราย แต่การหาบ้านสักหลังนั้นไม่ง่าย เพราะต้องแย่งกับครอบครัวอื่นๆด้วย
ก่อนถึงฤดูผสมพันธุ์นักวิจัยจะทำการซ่อมโพรงเพื่อรองรับการทำรังของนกเงือก เนื่องจากโพรงไม้อาจจะพร้อมใช้งาน บางโพรงมีน้ำขังหรือแคบเกินไป Cr. Thailand hornbill project
เมื่อพ่อและแม่นกได้บ้านที่ปลอดภัยแล้ว ก็ถึงช่วงเวลาสำคัญในการทำหน้าที่ของพ่อบ้าน นั่นคือการหาอาหารมาเลี้ยงแม่นกและลูกนกนั่นเอง ในช่วงเวลานี้เองที่จะพิสูจน์ความรักที่มีต่อกัน นั่นคือความอนทนต่อความลำบากของทั้งคู่ เรามาลองจินตนาการกันดูครับ
ในช่วงที่เเม่นกวางไข่นั้น แม่นกจะสลัดขนบางส่วนเพื่อใช้เป็นวัศดุปูรองพื้นรัง ซึ่งจะทำให้แม่นกจำเป็นต้องใช้ชีวิตอยู่ในโพรงเท่านั้นไม่สามารถออกจากโพรงได้ จนกว่าขนจะงอกออกมาใหม่และบินได้อีกครั้ง เมื่อถึงตอนนั้นลูกนกก็โตพอดี
ในขณะที่แม่นกอยู่ในโพรงหน้าที่หาอาหารเป็นหน้าที่หลักของพ่อนกในตลอดทั้งวันที่ต้องมาเลี้ยงแม่นก เมื่อเวลาผ่านไป การหาอาหารอาจจะหนักขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อลูกนกฟักออกจากไข่ และโตวันโตคืน ในเวลานี้เองการที่พ่อนกต้องทำงานหนักทั้งวันในการหาอาหาร เพื่อเลี้ยงครอบครัว จะบ่นก็บ่นมิได้ T_T และการทำหน้าที่นี้เอง ถือเป็นช่วงสำคัญเเละเป็นที่มาของ "สัญลักษณ์ของรักแท้"
ลูกนกกก เพิ่งออกจากโพรงสู่โลกกว้างเป็นครั้งแรกในชีวิต Cr. Thailand hornbill project
นั่นคือ ในช่วงที่พ่อนกหาอาหารนั่น หากนายพรานยิงพ่อนกตาย นั่นหมายความว่าอีกสองชีวิตที่เหลือนั่นรอวันตายได้เลย (ถ้าหากเเม่นกไม่สามารถบินออกจากโพรงได้) เพราะช่วงนี้เป็นช่วงเวลาสำคัญของลูกนกและเเม่นก หากไม่มีอาหารตกถึงท้อง ทั้งสองชีวิตก็คงต้องตายเพราะความหิวในโพรงนั่นเอง เคยมีนักวิจัยสำรวจโพรงรักนกเงือก มีพบนกที่ตายทั้งสองชีวิตก็มี เนื่องมาจกพบหลักฐานการไม่กลับมาโพรงรังของพ่อนก หรือที่เราจะอธิบายแบบดูซึ่งๆนั่นคือ "การที่พ่อนกไม่กลับมารัง เลยทำให้ตัวเมียเสียใจและตรอมใจตายนั่นเอง" นอกจากนี้แล้วนกเงือกเป็นสัตว์ที่จะจับคู่กับคู่เดิมตลอดจนกว่าตัวมันจะตายอีกด้วย
และด้วยอุปนิสัยเฉพาะตัวของมันนี้เอง มูลนิธิศึกษาและวิจัยนกเงือก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องการให้ประชาชนได้ตระหนักและร่วมกันรักษาสายพันธุ์ของนกเงือกนี้ไว้ จึงได้กำหนดวันที่ 13 กุมภาพันธ์เป็น "วันอนุรักษ์นกเงือก" ขึ้นทุกๆปี ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา
งานรักษ์นกเงือกจัดขึ้นทุกปี ที่มหาวิทยาลัยมหิดล เขตพญาไท Cr. Thailand hornbill project
ในทุกวันนี้ สถานภาพของนกเงือกบางชนิดนั้นดีขึ้นอย่างมาก เนื่องมาจากการตระหนักรู้ การอนุรักษณ์และการบังคับใช่กฏหมายของไทย แต่ในทุกๆปี จะมีกมีข่าวการล่านกเงือกในเห็น ซึ่งนกที่ตกในความเสี่ยงนั้น นั่นคือนกชนหิน(Helmeted hornbill)ที่พบทางภาคใต้ของประเทศไทยเท่านั้น
นกชนหิน Cr. NG Thai
เราสามารถเป็นส่วนเล็กๆ ของการอนุรักษ์นี้ได้ ด้วยการ ไม่ซื้อ ไม่ล่า และเเจ้งข้อมูลกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหยุดยั้งการล่าและทำลายสัตว์พวกนี้ อีกทั้งยังร่วมสนับสนุนด้วยการเป็นพ่อแม่อุปถัมภ์ ในโครงการ "โครงการอุปการะครอบครัวนกเงือก (Hornbill Family Adoption Project)" ซึ่งมีส่วนช่วยทั้งช่วยอนุรักษ์นกเงือกและชาวบ้านในพื้นที่อีกด้วย
โครงการอุปการะนกเงือก นอกจากช่วยนกแล้ว ยังช่วยชาวบ้านและเยาวชนในกาอนุรักษ์อีกด้วย Cr. Thailand hornbill project
Cr. Thailand Hornbill Project
1 บันทึก
10
2
2
1
10
2
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย