13 ก.พ. 2020 เวลา 17:32 • ประวัติศาสตร์
PROJECT THOR : ยอดอาวุธมหาประลัยจากขอบอวกาศของกองทัพสหรัฐ !!!
หากกล่าวถึงสุดยอดอาวุธในปัจจุบันคงไม่มีอะไรจะทรงพลานุภาพมากไปกว่า "ขีปนาวุธข้ามทวีป ( intercontinental ballistic missile: ICBM)" อีกแล้วในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมันติดหัวรบนิวเคลียร์แล้วจะยิ่งเพิ่มอนุภาพในการทำลายล้างเข้าไปอีก อย่างไรก็ตามขึปนาวุธแบบนี้เมื่อกระทบเป้าหมายมักจะสร้างฝุ่นกัมมันตรังสีหลังนิวเคลียร์ระเบิด (nuclear fallout) ในวงกว้างแพร่กระจายออกสู่สิ่งแวดล้อม จนพื้นที่นั้นแทบจะอยู่อาศัยไม่ได้
ระบบขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) มีหลักการพื้นฐานอยู่บนหลักการยิงขีปนาวุธเข้าสู่ชั้นบรรยากาศในวงโคจรระดับต่ำ (Low-orbit) เพื่อกำหนดเป้าหมายกระทบ Cr. https://www.dw.com/en/intercontinental-ballistic-missiles-and-their-long-shared-history-with-sputnik-1/a-39658661
ด้วยเหตุนี้จึงมีนักพัฒนาอาวุธบางคนคิดต่างออกไป แทนที่จะใช้หัวรบนิวเคลียร์ที่อันตราย นักวิจัยจึงเกิดคำถามว่า "มีระบบอาวุธแบบไหนที่รุนแรงพอๆกับหัวรบนิวเคลียร์แต่ไม่สร้างฝุ่นกัมมันตรังสี ?" แลัวก็มีคนคิดค้นมันขึ้นมาได้จริง ๆ ระบบอาวุธที่ว่าคือ "ระบบระเบิดพลังงานจนล์ (Kinetic bombardment)" ซึ่งเสนอโดยวิศวกรของโบอิ้งอย่าง Dr. Jerry Pournelle ในปี 1949
ระบบระเบิดพลังงานจนล์ (Kinetic bombardment) ที่ถูกนำเสนอโดย Jerry Pournelle ในปี 1949
โดย Pournelle ได้นำเสนอแนวคิดนี้ต่อกองทัพสหรัฐ เนื่องจากในทศวรรษที่ 1950 โลกกำลังอยู่ในยุคสงครามเย็น ที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตกำลังแข่งขันทางทหารเพื่อสะสมอาวุธนิวเคลียร์ แต่ปัญหาคือการสร้างนิวเคลียร์นั้นมีต้นทุนสูงและผลิตได้ช้าจากระบบอันซับซ้อนของมัน ด้วยเหตุนี้ Pournelle จึงเสนอแนวคิดการสร้างระบบอาวุธ "กระสุนพลังงานจลน์ (Kinetic bullet)" ที่ตอบโจทย์นี้ โดยเขาให้นิยามมันว่า "เป็นกระสุนทังสเตนที่มีครีบขนาดเล็กและระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมทิศทางจากอวกาศ"
กระสุนพลังงานจลน์ของ Pournelle ทำงานอย่างไร?
แทนที่ระบบอาวุธแบบนี้จะทำให้เกิดการระเบิดโดยปฏิกิริยาเคมีนิวเคลียส (Nucleus interaction bombardmen) แบบหัวรบนิวเคลียร์ อาวุธแบบนี้กลับอาศัยหลักการที่ง่ายกว่ามาก เพราะมันอาศัยแค่แรงโน้มถ่วงของโลก (gravity) และการสะสมพลังงานจลน์ (kinetic energy) จากความเร็วและมวลของหัวรบเองในการเร่งความเร็วจากชั้นบรรยากาศลงมากระทบผิวโลกก่อให้เกิดการระเบิดอย่างรุนแรง หากคิดภาพไม่ออกให้เรานึกภาพอุกกาบาตพุ่งชนโลกครับว่ามันรุนแรงแค่ไหน
2
ระบบอาวุธพลังงานจลน์ที่นำเสนอโดย Jerry Pournelle ในชื่อ PROJECT THOR หรือ “rods from god” ประกอบด้วยแท่งโลหะทังสเตนและดาวเทียมบังคับทิศทางโคจรอยู่ในชั้นบรรยากาศระดับต่ำในทุกๆ 100 นาทีต่อรอบโคจร
โดยระบบอาวุธกระสุนพลังงานจลน์ของ Jerry Pournelle ในปี 1949 เขาเรียกมันในชื่อโปรเจกต์นี้ว่า “PROJECT THOR: rods from god” เพราะศักยภาพในการทำลายล้างอันมหาศาลของอาวุธชนิดนี้เปรียบเหมือนสายฟ้าฟาดจากเทพเจ้าทอร์ของชาวนอร์ส โดยอาวุธชนิดนี้จะประกอบด้วยแท่งทังสเตนที่ยาวเกือบ 20 ฟุตและมีเส้นผ่าศูนย์กลางหนึ่งฟุต ประกอบเป็นขึ้นเป็นอาวุธติดกับดาวเทียมที่ดคจรอยู่หลายพันกิโลเมตรเหนือพื้นโลก ซึ่งจะโคจรรอบโลกทุกๆ 100 นาทีเพื่อกำหนดเป้าหมายในการยิงได้ทุกพื้นที่ในโลก เมื่อปล่อยจากดาวเทียมแท่งโลหะทังสเตนนี้จะถูกเร่งความเร็วผ่านชั้นบรรยากาศด้วยความเร่งในระดับเหนือความเร็วเสียง และตามทฤษฎีมันสามารถทำความเร็วได้มากถึง 36,000 ฟุต/วินาที หากใครนึกภาพไม่ออกว่าเจ้าอาวุธมหาประลัยนี้มันทำงานอย่างไร ดูฉากคัทซีนใน G.I. Joe 2 ได้ตามลิงค์นี้ครับ
1
กระสุนพลังงานจลน์จากระเบิด "Lazy Dogs" ถึงขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียงในปัจจุบัน ?
หลังจาก Pournelle เสนอแนวคิดกระสุนพลังงานจลน์ในทศวรรษ 1950 ได้มีการพัฒนาอาวุธระบบนี้จากจุดเริ่มต้นธรรมดาๆ อย่างแนวคิดการสร้างระเบิด "Lazy Dogs" ในช่วงสงครามเวียดนาม (1960s-1980s) ที่เป็นระเบิดทำจากแท่งโลหะยาวประมาณ 2 นิ้วและมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่าหนึ่งนิ้วมีครีบโลหะบังคับทิศทางขนาดเล็ก จำนวนหลายร้อยตัวบรรจุอยูในเปลือกหุ้ม โดยเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ " Mk 44 Lazy Dog cluster bomb" โดยมันสามารถทะลุทะลวงบังเกอร์ข้าศึกและยานเกราะขนาดเล็กได้ ด้วยความเร็วที่สูงถึง 500 mph จากการทิ้งในระดับความสูง 3,000 ฟุต สามารถเจาะรูขนาด 9 นิ้วลงในคอนกรีตได้อย่างดี ก่อนที่จะถูกพัฒนาต่อยอดเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
1
ระเบิด Mk 44 Lazy Dog cluster เป็นรูปแบบอาวุธพลังงานจลน์ชนิดแรกๆ ที่มีใช้ในสงครามสมัยใหม่ ถูกพัฒนาขึ้นโดยกองทัพสหรัฐฯ ในช่วงต้นสงครามเวียดนาม Cr. https://en.wikipedia.org/wiki/Lazy_Dog_(bomb)
ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ Pournelle ได้เสนอแนวคิดกระสุนพลังงานจลน์ในชื่อ "Project Thor" ที่แหวกแนวไปอีกขั้นด้วยการพัฒนาให้ใช้กระสุนทังสเตนความหนาแน่นสูงพร้อมกับดาวเทียมบังคับขีปนาวุธในวงโคจรระดับต่ำ แต่ดูเหมือนว่าโครงการของเขาจะไม่ได้รับความสนใจมากนักในช่วงเวลานั้น เนื่องจากต้นทุนในการพัฒนามหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนในเรื่องการขนส่งอุปกรณ์ด้วยจรวดอวกาศที่แพงยิ่งกว่าอาวุธนิวเคลียร์ซะอีก
อย่างไรก็ตามทางกองทัพอากาศสหรัฐฯ (USAF) ได้ออกรายงานพิเศษในชื่อ "Space Weapons Earth Wars" เมื่อปี 2003 เพื่อทบทวนรายงานเทคดนโลยีและความเป็นไปได้ในการพัฒนาอาวุธในอวกาศ และหนึ่งในนั้นคือการทบทวนโครงการ "Project Thor" ขึ้นมาอีกครั้ง ในรายงานฉบับบดังกล่าวให้ข้อมูลทางเทคนิคว่า อาวุธนี้จะประกอบด้วยแท่งทังสเตนขนาด 6.1 m × 0.3 m ที่กระทบเป้าหมายด้วยความเร็วระดับ Mach 10 (11,000 m / s) หนึ่งหัวรบมีพลังงานจลน์เทียบเท่ากับทีเอ็นทีประมาณ 11.5 ตัน (หรือ 7.2 ตันของไดนาไมต์) พร้อมกับระบบดาวเทียม 6-8 ดวงบนวงโคจรที่กำหนดเป้าหมายโจมตีได้ภายใน <12–15 นาที และระบบเซ็นเซอร์โต้ตอบขีปนาวุธทำลายแบบ Hit-To-Kill Missiles
1
ตามรายงานของ USAF ให้เหตุผลว่าสาเหตุที่พวกเขาเลือกใช้ทังสเตนนอกจากความที่มันเป็นโลหะที่มีความหนาแน่นสูงแล้ว (เพิ่มพลังงานจลน์ได้มาก) มันยังทนความร้อนสูงมาก มากพอที่จะป้องกันไม่ให้หัวรบผิดรูปขนาดพุ่งผ่านชั้นบรรยากาศโลกก่อนกระทบเป้าหมาย ด้วยรูปร่างที่ยืดยาวของมันจะช่วยลดแรงเสียดทานของอากาศและการเจาะทะลุเป้าหมายที่ยากแก่การเข้ถึงหรือฝังอยู่ใต้ดิน อย่างบังเกอร์ข้าศึก ยานเกราะขนาดใหญ่ อาคาร ฯลฯ
4
ระบบอาวุธแบบนี้อาจเรียกอีกชื่อว่า "hypervelocity rod bundles" เนื่องจากความเร็วกระทบเป้าที่สูง มันจึงเป็นอาวุธที่ป้องกันได้ยากมาก ความเร็วที่สูงแบบนี้ยังทำให้มันมีหน้าตัดเรดาร์ขนาดเล็ก และไม่ทิ้งร่องรอยให้เซนเซอร์ตรวจจับได้เร็วพอที่จะตอบโต้ แต่ข้อเสียอย่างเดียวคืออาวุธนี้จะ "บอด" หรือบังคับทิศทางได้ยากเมื่อเข้าสู่ชั้นบรรยากาศ
ถ้าอาวุธกระสุนพลังงานจลน์จาก "Project Thor"มันดีขนาดนี้ทำไมไม่สร้าง?
เป็นคำถามที่หลายคนอาจส่งสัยว่าแนวคิดนี้พัฒนามาเกือบ 70 ปีแล้วแต่ทำไมเราถึงไม่เห็นประเทศไหนสร้างขึ้นมาสักระบบ เหตุผลนอกจากจะเป็นเรื่องข้อบังคับทางกฎหมายจากสนธิสัญญาลดการสะสสมอาวุธระหว่างประเทศแล้ว คำตอบสำคัญคือ "ความไม่พร้อมของเทคโนโลยี" โดยผู้เชี่ยวชาญจากGlobalSecurity.org ให้ความเห็นว่า อาวุธนี้จะไม่เกิดขึ้นจริงมันอย่างน้อย 15 ปี นับจากนี้ เพราะการปล่อยแท่งทังสเตนหนักขึ้นสู่อวกาศจะต้องใช้เทคโนโลยีจรวดที่ถูกกว่าเทคโนโลยีในปัจจุบันอย่างมาก แต่ก็มีอุปสรรคอื่น ๆ อีกมากมายที่ทำให้ระบบทำงานได้ ทั้งระบบดาวเทียมและการเติมกระสุน
แนวคิดต้นแบบระบบจรวดขับดันกระสุนพลังงานจลน์จาก "Project Thor"
แม้ Project Thor ไม่เคยถูกสร้างเป็นอาวุธจริงเนื่องจากมีราคาแพงเกินกว่าจะยิงได้ แต่แนวคิดของอาวุธที่ใช้พลังงานจลน์ไม่เคยหายไป ที่จริงแล้วมันกำลังกลับมาสู่ยุครุ่งเรืองอีกครั้ง เมื่อเทคโนโลยีเอิ้ออำนวย โดยในปี 2013 กองทัพอากาศสหรัฐฯ ได้พัฒนาหัวรบกระสนพลังงานจลน์ที่เร็วถึง 3,500 ฟุต/วินาที และกองทัพเรือสหรัฐฯ ก็มีการทดสอบกระสุนชนิด "long-range electromagnetic rail gun" ที่ความเร็วมากกว่า 5,000 ไมล์ต่อชั่วโมง และชาติมหาอำนาจอย่างจีนและรัสเซียเองก็กำลังทดสอบอาวุธชนิดนี้อยู่เช่นกัน
ต้นแบบ long-range electromagnetic rail gun ที่ใช้พัฒนากระสุนพลังงานจลน์ชนิดใหม่ของกองทัพเรือสหรัฐฯ Cr. https://taskandpurpose.com/kinetic-bombardment-kep-weaponry
ระบบอาวุธ "hypersonic glide vehicle (HGV) " เรื่องเก่าเล่าใหม่ของระบบอาวุธพลังงานจลน์ ?
อย่างที่ทราบกันดีว่าระบบอาวุธตามแนวคิด Project Thor มีข้อด้อยในเรื่องของการรอสัญญาณดาวเทียมที่โคจรรอบโลกทุก ๆ 100 นาทีนั้น อาจทำให้ ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่ดาวเทียมอาจอยู่ไกลจากเป้าหมายที่ต้องการ เพื่อแก้ปัญหานี้จึงเกิดแนวคิดที่ย้อนแย้ง เพราะแทนที่จะส่งแท่งกระสุนขึ้นอวกาศก็แค่วางมันลงบนขีปนาวุธข้ามทวีป (ICBM) แทน ซึ่งจะช่วยชะลอการสูญเสียหัวรบจากการเสียดสีในชั้นบรรยากาศขณะกลับส่ผิวโลก อีกทั้ง ICBM ยังใช้เวลาน้อยกว่าดาวเทียมมากในการกลับเข้าโลกเพื่อกระทบเป้าหมาย นำไปสู่การพัฒนาแพลตฟอร์มอาวุธในวงโคจรแบบ "ระบบจรวดร่อนขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง (hypersonic glide vehicle)" ที่พัฒนาได้ง่ายและเร็วกว่า แถมประสิทธิภาพยังดีกว่าระบบอาวุธแบบดาวเทียมด้วย
1
ระบบจรวดร่อนขีปนาวุธความเร็วเหนือเสียง (hypersonic glide vehicle) เป็นระบบอาวุธที่พัฒนาต่อมาจาก ICBM เพื่อติดตั้งหัวรบที่เป็นกระสุนพลังงานจลน์หรือหัวรบนิวเคลียร์ก็ได้เพื่อเพิ่มอำนาจทำลายล้าง
ในปัจจุบันชาติที่พัฒนาและประจำการระบบจรวดร่อนขีวปนาวุธความเร็วเหนือเสียง (HGV) เป็นชาติแรกของโลกคือ "ขีปนาวุธอเวนการ์ด (Avangard)" ของรัสเชียที่เริ่มประจำการเมื่อปลายปี 2019 ที่ผ่านมา ส่วนจีนเองก็มีการพัฒนาเทคโนโลยี HGV ของตนเองในชื่อ "ขีปนาวุธ DF-17" ประจำการในช่วงไล่เลี่ยกับรัสเชีย แต่กองทัพสหรัฐฯ กลับยังไม่มีอาวุธชนิดนี้ประจำการเลย
ระบบจรวดร่อนขีวปนาวุธความเร็วเหนือเสียง (HGV) แบบ DF-17 ของจีน Cr.https://nationalinterest.org/blog/buzz/wait-china-has-two-hypersonic-missiles-101422
นั่นทำให้เกิดความตึงเครียดในการสะสมอาวุธชนิดนี้ครั้งใหม่ คล้ายๆกับในช่วงสงครามเย็น เพราะสหรัฐฯเองก็ไม่ยอมที่จะให้ชาติไหนขึ้นมาเทียบรัศมีตนได้อย่างแน่นอน แน่นอนว่าเราก็คงต้องติดตามสถานการณ์กันต่อไปครับ
1
ขีปนาวุธอเวนการ์ด (Avangard)" ของรัสเชียที่มีความเร็วระดับ Mach 20-27 เลยทีเดียว Cr. https://en.wikipedia.org/wiki/Avangard_(hypersonic_glide_vehicle
ติดตามผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้ที่
โฆษณา