14 ก.พ. 2020 เวลา 11:00 • ธุรกิจ
ก่อนที่ Enron จะล้มละลาย พวกเขาบริหารงานกันแบบไหน
Enron เคยเป็นบริษัทที่มีมูลค่าเกือบ 70,000 ล้านดอลล่าร์ ติดอันดับ Top 10 ใน Fortune 500 บริษัทนี้มีธุรกิจหลากหลายแต่ก็เต็มไปด้วยความซับซ้อนจนไม่มีนักวิเคราะห์การเงินหน้าไหนที่เข้าใจงบของ Enron
3
จะไปเข้าใจได้ยังไงล่ะในเมื่อตัว CEO เองก็ยังไม่รู้ที่มาที่ไปของเงินที่หมุนในบริษัท ใครที่บอกว่าเข้าใจงบการเงินของ Enron เป็นอย่างดีนั้นไม่ต้องสงสัยเลยว่าเป็นพวกหลอกตัวเอง
Enron ล้มละลายเพราะปกปิดหนี้สินมหาศาลในบริษัท ผู้บริหารอย่าง Kenneth Lay และ Jeffrey Skilling แอบขายหุ้นเอาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง และร่วมมือกับอดีตบริษัทตรวจสอบบัญชีชั้นนำอย่าง Arthur Andersen ในการตกแต่งบัญชีหลอกลวงว่าบริษัทมีกำไร
1
หลังจากเกิดเรื่องอื้อฉาว ชื่อเสียงของ Lay และ Skilling ก็ถูกทำลายย่อยยับและพวกเขาก็ไปใช้ชีวิตในคุก ส่วน Arthur Andersen ก็ต้องหายไปจากวงการธุรกิจ บริษัทอื่นๆที่เคยทำธุรกิจกับ Enron ก็ตกเป็นเป้าของการสืบสวน
แต่มีบริษัทหนึ่งที่รอดไปได้ทั้งๆที่ทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Enron
1
นั่นคือ McKinsey & Company
McKinsey เป็นบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลก หน้าที่ของพวกเขาคือเข้ามาช่วยแก้ปัญหาให้บริษัทต่างๆทั่วโลก
บริษัทนี้เข้ามาช่วยดูแลโครงการของ Enron ถึง 20 โครงการโดยได้รับค่าจ้างปีละ 10 ล้านดอลล่าร์ มีการส่งกรรมการคนหนึ่งเข้ามาร่วมประชุมคณะกรรมการของ Enron เป็นประจำ และอันที่จริง Skilling ผู้เป็น CEO ก็ยังเคยเป็นหุ้นส่วนที่ McKinsey ด้วย
Malcolm Gladwell นักเขียนชื่อดังได้ค้นหาความสัมพันธ์ระหว่าง Enron และ McKinsey ก็พบว่า McKinsey น่าจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้ Enron กลายเป็นบริษัทที่มีวัฒนธรรมองค์กรแบบแปลกประหลาดจนต้องพบจุดจบที่สร้างความเดือดร้อนไปทั่ว
ในทศวรรษที่ 1990 McKinsey ได้ทำโครงการหนึ่งที่ชื่อว่า War of Talent เพื่อหาคำตอบว่าบริษัทชั้นนำของอเมริกาแตกต่างจากบริษัทอื่นๆในแง่ของการจ้างงานและการเลื่อนตำแหน่งอย่างไร พวกเขาใช้เวลา 3 วันในการสัมภาษณ์ทุกคนในบริษัท 18 แห่ง ตั้งแต่ CEO ไปจนถึงฝ่าย HR
1
และได้ข้อสรุปว่า บริษัทชั้นนำจะมีผู้บริหารที่หมกมุ่นกับเรื่องความเก่ง พวกเขาจะค้นหาพนักงานชั้นเยี่ยมให้ได้มากที่สุดอย่างไม่ลดละ คนเหล่านี้จะคัดเลือกพนักงานดาวเด่นมาอยู่รวมกัน จากนั้นก็ให้ค่าตอบแทนก้อนโตและผลักดันให้ได้รับตำแหน่งสูงๆ
2
ผู้บริหารระดับสูงคนหนึ่งของ General Motors ถึงกับพูดว่า
“จงฝากความหวังไว้กับคนที่เก่งมาตั้งแต่เกิด เพราะพวกเขามีความสามารถติดตัวมากที่สุด และอย่ากลัวที่จะยกตำแหน่งสูงๆให้กับดาวเด่นที่ยังอ่อนประสบการณ์”
แนวคิดนี้กลายเป็นข้ออ้างที่ช่วยอธิบายว่าทำไมคนที่จบจากโรงเรียนธุรกิจชั้นนำจึงได้รับสิทธิพิเศษต่างๆจากบริษัทมากมาย และทำไมผู้บริหารระดับสูงถึงได้ค่าตอบแทนมหาศาล ผู้คนเชื่อว่าความแข็งแกร่งของบริษัทยุคนั้นขึ้นอยู่กับความแข็งแกร่งของพนักงานดาวเด่น
ในตอนนั้นไม่มีใครที่ผลักดันแนวคิดนี้อย่างแข็งขันเท่า McKinsey อีกแล้ว ลูกค้าทั้งหมดในบริษัทก็เชื่อแนวคิดนี้ และมี Enron นี่แหละที่ทำตามคำแนะนำอย่างสุดขั้ว
Enron เริ่มด้วยการดึงตัวบัณฑิต MBA จบใหม่มาทำงานปีละ 250 คน เด็กพวกนี้เป็น “คนเก่ง” อดีตผู้บริหารของ Enron คนหนึ่งเคยสัมภาษณ์เด็กเหล่านี้ถึงกับต้องตะลึงเพราะพวกเขารู้อะไรต่อมิอะไรเต็มไปหมด จากนั้นให้โอกาสพวกเขาแสดงฝีมืออย่างเต็มที่พร้อมกับเอาอกเอาใจคนเก่งเหล่านั้น
เช่น หาคำตอบว่าพวกเขาชอบทำอะไรมากที่สุด จากนั้นก็ปรับเปลี่ยนตำแหน่งไปตามนั้น หรือไม่ก็แก้ปัญหาทุกอย่างที่อาจจะทำให้เขาลาออก เช่นเจ้านายทำให้รู้สึกอึดอัด หรือการเดินทางไกลที่ทำให้เหนื่อยหน่าย
การประเมินพนักงานก็มีเช่นกัน แต่ดูแล้วไม่แน่ใจว่ามันเป็นวิธีที่ถูกต้องหรือไม่
พวกเขาใช้ระบบประเมินแบบ “การแยกแยะและส่งเสริม (differentiation and affirmation)” ตามแนวคิดของ McKinsey
2
บรรดานายจ้างจะมาประชุมปีละ 1-2 ครั้งเพื่อแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับพนักงานแต่ละคน โดยมีการแบ่งพนักงานออกเป็นกลุ่ม A B และ C
1
กลุ่ม A เป็นพวกที่ต้องได้เจอกับความท้าทายใหม่ๆและได้ค่าตอบแทนก้อนโต
กลุ่ม B เป็นพวกที่ต้องได้รับการกระตุ้นและส่งเสริม
ส่วนกลุ่ม C เป็นพวกที่ต้องปรับปรุงตัวเองหากไม่อยากโดนไล่ออก
Enron ทำตามคำแนะนำแบบเป๊ะๆ จัดประชุมปีละ 2 ครั้ง ประเมินตามเกณฑ์ 10 ข้อโดยไล่ตั้งแต่คะแนน 1-5 พวกเขาเรียกกระบวนการนี้ว่า rank and yank
จากนั้นก็ให้ความสนใจแต่พนักงานกลุ่ม A มีช่วงหนึ่งที่พนักงานดีเด่นจะได้รับเงินก้อนโตและได้เลื่อนตำแหน่งโดยไม่คำนึงถึงอายุงานหรือประสบการณ์
แต่อย่างไรก็ตาม Gladwell บอกว่าไอคิวกับผลการปฏิบัตงานนั้นแทบไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย
ในทางสถิติ ค่าสหสัมพันธ์ระหว่างไอคิวกับความสำเร็จในการอาชีพการงานอยู่ที่ประมาณ 0.2-0.3 เท่านั้น ที่จริงแล้วสิ่งที่นายจ้างควรประเมินคือ ผลการปฏิบัตงานจริงๆต่างหาก
ผู้เชี่ยวชาญทรัพยากรบุคคลระบุว่า วิธีเดียวที่จะประเมินผลการปฏิบัตงานได้อย่างแม่นยำคือการใช้เกณฑ์มาตรฐานที่เฉพาะเจาะจงมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
ผู้บริหารควรต้องสังเกตและบันทึกการทำงานของพนักงานตลอดทั้งปี เพื่อขจัดอคติในการประเมิน
แต่ Enron ไม่สนสิ่งที่ดูน่าเบื่อแบบนั้น พนักงานคนไหนที่ถูกมองว่าเก่งจะได้รับการผลักดันขึ้นสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นเสมอ อัตราการโยกย้ายตำแหน่งเพราะเลื่อนขั้นสูงถึง 20% ต่อปี
เช่น Lynda Clemmons ใช้เวลา 7 ปีในการไต่เต้าจากตำแหน่งนักค้าตราสารอนุพันธ์ไปเป็นผู้จัดการ ผู้อำนวยการ และในที่สุดก็ได้คุมหน่วยธุรกิจของตัวเอง
แบบนี้จะประเมินผลการปฏิบัติได้ยังไงกันล่ะ ในเมื่อไม่มีใครอยู่ในตำแหน่งนานพอที่จะได้รับการประเมิน
1
นอกจากจะไม่ประเมินผลในแบบที่ควรแล้ว Enron ยังปล่อยให้คนเก่งทั้งหลายทำตามใจชอบมากเกินไปจนน่ากลัว
Lou Lung Pai เป็นผู้บุกเบิกกิจการค้าพลังงานของ Enron ธุรกิจของเขาเริ่มต้นด้วยความเสียหายครั้งใหญ่โดยขาดทุนไปหลาย 10 ล้านดอลล่าร์
.
ต่อมาก็ได้รับโอกาสให้ก่อตั้งธุรกิจจัดหาพลังงานไฟฟ้าเชิงพาณิชย์
.
แต่ก็ขาดทุนอย่างหนักอีกหลายปีก่อนจะออกไปจาก Enron พร้อมเงิน 270 ล้านดอลล่าร์
1
Enron ทำราวกับว่ามีเหรียญให้พนักงานหยอดตู้เล่นเกมได้ไม่อั้น พวกเขาให้โอกาสเพราะ Pai อยู่ในกลุ่มคนเก่งและคิดว่าความล้มเหลวไม่ได้ทำให้อาชีพการงานต้องป่นปี้เสมอไป
ส่วน Louise Kitchen ที่เป็นนักค้าก๊าซธรรมชาติของ Enron ในยุโรปก็เชื่อว่าบริษัทควรตั้งธุรกิจซื้อขายแบบออนไลน์ขึ้นมา จึงนำเรื่องนี้ไปบอกหัวหน้าแล้วเริ่มทำโครงการนี้ในเวลาว่าง
.
จนกระทั่งมีคนในบริษัทมาช่วยเธอถึง 250 คน กว่า Skilling จะรู้เรื่องนี้ก็ปาเข้าไป 6 เดือน
2
“ไม่มีใครมาขอเงินทุนจากผมเลย ไม่มีใครมาขอบุคลากรจากผมด้วย พวกเขาซื้อเซิร์ฟเวอร์และเริ่มแบ่งพื้นที่ในสำนักงานกันเรียบร้อย ตอนที่ผมรู้เรื่องนี้พวกเขาก็ตรวจสอบข้อกฎหมายใน 22 ประเทศไปแล้ว” Skilling พูดด้วยน้ำเสียงชื่นชม
.
“การทำงานแบบนี้แหละที่จะช่วยผลักดันบริษัทไปข้างหน้า”
3
คุณคิดว่า Kitchen มีความสามารถด้านนี้ใช่มั้ย Gladwell บอกว่าไม่ใช่หรอก เธอแค่อยากทำต่างหาก
1
ทีนี้เราก็พอรู้แล้วว่าหนี้มหาศาลมีที่มาจากไหน พนักงานดาวเด่นทั้งหลายที่แหละที่ทำผิดพลาดจนสร้างหนี้ก้อนโต
1
แต่ถ้า McKinsey และ Enron ไม่หลงมัวเมาว่าความมีประสิทธิภาพขององค์กรเกิดจากความฉลาดของพนักงานเพียงอย่างเดียวก็คงไม่ลงเอยแบบนี้
1
Kenneth Lay
ศาสตราจารย์ Clayton Christensen กล่าวว่า
.
“ถ้าคุณจ้างพนักงานที่มีคุณสมบัติอย่างเดียวกับที่บริษัท กขค จำกัด จ้างแล้วล่ะก็ คุณจะประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับบริษัทแห่งนี้ นั่นเป็นทฤษฎีที่แย่มาก อันที่จริงมันไม่ใช่ทฤษฎีเลย ข้อสรุปพวกนั้นส่วนมากอาศัยเรื่องเล่า หรือพูดต่อๆกันมาเท่านั้นเอง”
ถ้า Enron เปลี่ยนนิยามของคำว่าคนเก่ง พวกเขาอาจจะได้คนเก่งที่ทำงานเก่งจริงๆ ซึ่งการจะได้คนแบบนั้นมาก็ต้องมีวิธีการคัดเลือกที่ถูกต้องโดยกำหนดเกณฑ์การคัดเลือกที่ชัดเจน
ศาสตราจารย์ Morgan McCall เขียนหนังสือที่ชื่อว่า High Flyers ที่แนะนำวิธีจ้างคนที่เข้าท่ากว่าโครงการ War of Talent
สมมติว่าคุณเป็นผู้บริหารในกองทัพอากาศที่ต้องหานักบินเพื่อมาสู้รบระหว่างสงคราม
.
ถ้าคุณไปขอคำแนะนำจาก McKinsey พวกเขาอาจจะให้เกณฑ์คัดเลือกประมาณว่า จำนวนศัตรูที่สังหารได้และความสามารถในการพาฝูงบินกลับสู่ฐานทัพอย่างปลอดภัย
ส่วนอาจารย์ McCall จะตั้งคำถามว่า พวกเขาเคยบินจริงๆไหม และถ้าเคย เคยบินในสภาพแวดล้อมแบบไหนมาบ้าง
.
แนวคิดนี้จะเน้นไปที่การถามว่าใครเคยมีประสบการณ์ด้านนี้มาก่อน
แนวคิดของอาจารย์ McCall ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานที่ว่าผู้นำที่ยิ่งใหญ่เกิดมาพร้อมกับการเป็นผู้นำ
.
แต่ความเป็นผู้นำนี้พัฒนาและหล่อหลอมขึ้นจากประสบการณ์ชีวิต เช่น งานที่ท้าทาย ความล้มเหลวในการนำโครงการ หรืองานใหม่ที่ได้รับมอบหมายจากบริษัท
พนักงานดีเด่นของ Enron พบกับความล้มเหลวในโครงการก็จริง แต่พวกเขาไม่ได้รับการหล่อหลอมประสบการณ์ เวลาพวกเขาทำผิด ไม่เคยมีการลงโทษหรือมีกระบวนการทบทวนความผิดพลาดใดๆ ผู้บริหารปล่อยผ่านเพราะเห็นว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่
2
ผลที่ได้คือมีแต่พนักงานที่ไม่เติบโตขึ้นซักทีซึ่งเป็นเรื่องอันตรายมากที่จะฝากความหวังไว้กับคนพวกนี้
1
ถ้าเอาทฤษฎีเรื่อง "ขีดความสามารถ" ของอาจารย์ Christensen มาปรับใช้ก็จะเห็นว่าสิ่งที่ Enron ไม่มีคือ "กระบวนการ" ดังนั้นต่อให้มี "ทรัพยากร" (พนักงานเก่งๆ) มากขนาดไหนก็ไม่สามารถหาวิธีเพิ่มมูลค่าให้กับองค์กรได้
แล้วคุณควรให้โอกาสเด็กจบใหม่ในตอนไหน อาจารย์ Christensen บอกว่าขึ้นอยู่กับสถานการณ์
ถ้าบริษัทของคุณยังไม่มีโครงสร้างองค์กรที่มีระบบที่แข็งแกร่งเพียงพอ (Enron อยู่ในกลุ่มนี้) คุณควรจ้างคนมีประสบการณ์เพราะเขาสามารถเป็นผู้นำในการนำทางให้แก่พนักงานได้
แต่ถ้าบริษัทของคุณมีกระบวนการต่างๆเป็นแนวทางแก่พนักงานแล้ว ก็สมควรที่จะจ้างหรือเลื่อนตำแหน่งให้ใครซักคนที่ต้องเรียนรู้จากประสบการณ์
ดูเหมือนว่าบางทีคำแนะนำจากหนังสือหนึ่งเล่มจะใช้ได้ผลกว่าคำแนะนำจากที่ปรึกษาราคาแพง แต่ไม่ว่าจะได้รับคำแนะนำมาจากทางไหนก็ขอให้นึกถึง quote ของ Malcolm Forbes เอาไว้ว่า
“ผู้ที่รับฟังแลพิจารณาคำแนะนำมักจะกระทำการสำเร็จมากกว่าผู้ที่ได้ยินและทำตามคำแนะนำนั้นๆ”
-- Malcolm Forbes
1
ข้อมูลอ้างอิง:
หนังสือ What the dog saw
หนังสือ How will measure your life
โฆษณา