17 ก.พ. 2020 เวลา 05:15 • ธุรกิจ
นวัตกรรมเกิดขึ้นได้อย่างไรและทำไมไอเดียที่ดีที่สุดอาจจะไม่ได้เกิดขึ้นได้จริงเสมอไป
วันนี้ผมขอยังพูดต่อเรื่องนวัตกรรมหรือ innovation ครับ
เวลาเราพูดถึง innovation เรามักจะนึกถึง idea ดีๆเสมอ
เช่น
การค้นพบเครื่องจักรไอน้ำ
การเกิดขึ้นของรถยนต์
หรือแม้กระทั้งการเกิดขึ้นของ E-commerce
เคยสงสัยกันไหมครับว่านวัตกรรมเกิดขึ้นได้อย่างไร
แต่รู้ไหมครับว่า idea ดีๆไม่ได้ทำให้เกิด innovation ได้เสมอไป
แม้ว่าจะเป็น idea ที่ดีที่สุดก็ตาม
ในปี 1962 มีหนังสือเล่มนึงชื่อว่า Diffusion of Innovations หรือการแพร่ของนวัตกรรม
(ล่าสุดเพิ่งปรับปรุงครั้งที่ 5 ไปในปี 2003)
เล่มนี้เหมือนเป็น ฺBible ของการเกิดนวัตกรรมครับ
การแพร่ของนวัตกรรมจะอธิบายว่านวัตกรรมเกิดขึ้นมาได้อย่างไร
และเกิดขึ้นมาจนฮิตได้อย่างไรครับ
กราฟที่ใช้อธิบายเรื่อง Diffusion of Innovations คือกราฟระฆังคว่ำรูปนี้ครับ
กราฟที่ใช้อธิบายถึงคน 5 กลุ่ม
การนี้จะแบ่งกลุ่มคนออกเป็น 5 กลุ่มคือ
1. Innovators
2. Early Adopters
3. Early Majority
4. Late Majority
5. Laggards
เดี๋ยวเรามาลองดูทีละกลุ่มกันครับ
1. Innovators
กลุ่มนี้เรียกว่านักนวัตกรรมเป็นกลุ่มคนที่มีน้อยที่สุดเพียง 2.5%
คนกลุ่มนี้คือคนกลุ่มที่เปิดรับแนวคิดหรือเทคโนโลยีใหม่ได้เร็วมาก
ยอมรับความเสี่ยงและอดทนกับปัญหาที่เกิดขึ้นในผลิตภัณฑ์ในช่วงแรกๆได้
เอาจริงๆคนกลุ่มนี้เพียงกลุ่มเดียวยังไม่สามารถทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้นได้ครับ
Elon Musk นี่ก็ถือว่าเป็น Innovators ตัวพ่อคนนึงเลย
2. Early Adopters
Early Adopters คือคนหัวก้าวหน้า และเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมา
ดังนั้นถ้าจะหา “พระเอก” สักคนในเรื่อง Diffusion of Innovations นี้
ก็ต้องบอกเลยว่าคือ Early Adopters นั่นเอง
คนกลุ่มนี้มีถึง 13.5% ซึ่งมากกว่าคนกลุ่มแรกอย่าง Innovators ถึง 6 เท่า
นั่นทำให้นวัตกรรมนั้นเริ่มเป็นที่ยอมรับในสังคม
3
และการหารายได้จากคนกลุ่มนี้
ก็เริ่มมีความ “คุ้มค่า” ในการลงทุน
เพราะเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสิ่งนึงที่ทำให้นวัตกรรมเกิดได้ นั่นก็คือเรื่องเงิน
ถ้าเราเคยดูหนังย้อนเวลาสักเรื่องนึง ไม่ว่าจะการไปในอนาคตหรือย้อนอดีตอย่าง back to the future หรือเจาะเวลาหาจิ๋นซี
ผมสมมติเป็นการย้อนเวลาก็แล้วกันนะครับ
สิ่งนึงที่ต้องมีในหนังคือการเอานวัตกรรมในยุคใหม่ไปใช้กับในยุคสมัยก่อน
เช่น เอามือถือที่ติดต่อหากันได้ตลอดเวลาไปให้คนสมัยก่อนดู
ซึ่งคนสมัยก่อนก็จะ “อิหยังวะ”
และต้องเห็นก่อนว่ามันใช้งานได้จริงๆอย่างไรถึงจะยอมรับเอาเทคโนโลยีนั้นมาใช้
แต่ถ้าเราสังเกตดีๆก็จะพบว่าคนที่ยอมเอาเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมนั้นๆมาใช้ก็มีแต่พวกเพื่อนตัวเอก
แปลว่าไม่ใช่ทุกคนในเรื่องจะยอมรับนวัตกรรมอันนี้
ในความเป็นจริงก็เช่นกันครับ
ต่อให้เรามี Iphone 30 Max มาจากอนาคต ที่สามารถคุยกันแบบเป็น hologram ได้
คำถามก็คือเราจะเอาไปขายคนอื่นหรือทำให้มันแพร่หลายได้อย่างไรกันครับ ???
hologram นั้นมันดีแน่นอน แต่เราจะทำให้มันเกิดขึ้นได้อย่างไรครับ
นั่นแหละทำให้เมื่อเรามีนวัตกรรมใหม่ๆขึ้นมา
สิ่งที่เราต้องตามหาก็คือกลุ่มคนที่เป็น Early Adopters
ดังนั้นสิ่งที่ทำให้ Start up หรือ Innovation หลายๆอย่างเกิดขึ้นมาไม่ได้
ก็เพราะไม่สามารถหา Early Adopters ของตัวเองเจอครับ
ผมสมมติให้เห็นภาพมากขึ้นก็คือรถยนต์ไฟฟ้าหรือ EV car(ในประเทศไทย)
ถ้าเราขับรถยนต์บนท้องถนนตอนนี้จะเห็นรถยนต์ที่เป็น EV car จริงๆน้อยมาก(ไม่นับ hybrid)
ไม่ว่าเราจะบอกเพราะว่ากำแพงภาษีหรือนโยบายสนับสนุน EV
หรือสถานีชาร์จมันน้อย
หรือเสถียรภาพรถยนต์มันยังสู้รถยนต์สันดาปไม่ได้ก็ตาม
แต่นั่นเป็นเพราะผมและคนอื่นๆที่ยังไม่ได้ซื้อ EV car
เพราะยังไม่ใช่ Early Adopters ของ EV car ครับ
ทุกวันนี้เราใช้ EV car หรือรถยนต์สันดาปกันครับ
ถ้าเราเป็น Early Adopters ของ EV จริงๆ
เรามักจะ “อดทน” ต่อข้อเสียของ Innovation นั้นได้
อย่างเช่น Grab Food หรือ Line Man ในเมื่อ 2-3 ปีก่อน
สั่งอาหารก็รอนานกว่าจะมีคนกดรับ
สั่งได้ก็มีอยู่ไม่กี่ร้าน ไม่กี่จังหวัด
Call หาคนขับก็ไม่ได้
แต่เราก็ยังลองสั่งกันจริงไหมครับ
นั่นเพราะเรารับข้อเสียบางอย่างของนวัตกรรมได้นั่นเอง
อีกสาเหตุนึงที่ทำให้ Innovation นั้นล้มเหลวนั้นไม่ใช่แค่เพียงหา Early Adopters ไม่เจอ
แต่ยังมี Early Adopters ยังไม่เกิดอีกด้วย
Start up หลายๆครั้งต้องปิดตัวไปเพราะยังไม่มี Early Adopters
หรือพูดง่ายๆก็คือมัน “ล้ำ” เกินไปนั่นเอง
อย่าง E-commerce บางบริษัทยังเคยบอกเลยด้วยซ้ำว่าพวกเค้าเข้ามาในตลาดนี้ “เร็ว” ไป 2-3 ปีเลยทีเดียว
แต่นั่นยังดีเพราะ E-commerce หลายๆเจ้านั่นสายป่านยาว
ทำให้รอดมาจนถึงเกิด Early Adopters ได้
แต่บริษัทเล็กๆหลายๆแหล่ง บอกได้คำเดียวเลยว่า “เจ๊ง”
1
นั่นทำให้ timing เป็นสิ่งที่สำคัญมากสำหรับ innovation
ต่อให้เรามีทีมที่ดีแค่ไหน มีไอเดียที่ดีแค่ไหน
แต่สำหรับ Start up มีคำพูดอยู่เสมอว่า
Timing beats best team
timing สำคัญสำหรับ innovation มากๆครับ
ดังนั้น innovations จึงไม่ใช่แค่เรื่องของ idea
แต่มันคือเรื่อง timing ด้วย
(และก็เป็นสิ่งที่สำคัญกว่า ideaเสียด้วย)
ถ้าใครเคยอ่านบทความที่แล้วของผม
จะได้ยินผมบอกว่า Start up ส่วนมากล้มเหลวเพราะสร้างของที่ไม่มีใครต้องการขึ้นมา
แต่มันอาจจะไม่ได้ถูกทั้งหมด
มันอาจจะเป็นยังไม่มีใครต้องการในเวลานี้ก็เป็นได้
ดังนั้นถ้าคุณจะสร้างนวัตกรรมอะไรขึ้นมาก็ตาม
คุณต้องหา Early Adopters ของคุณให้เจอ(ทำ segmentation ดีๆ)
และต้องแน่ใจว่าเวลาที่คนเปิดรับสิ่งนั้นมาถึงแล้ว
1
3. Early Majority
คนกลุ่มนี้คือคนกลุ่ม mass ในช่วงแรกๆ คนกลุ่มนี้จะค่อนข้างระมัดระวังและใช้เหตุผลในการตัดสินใจมากกว่า
อย่าง EV car ก็อาจจะรอให้มันเสถียรมากกว่านี้ก่อน รอให้มีสถานีชาร์จมากกว่านี้ก่อน
Innovation ที่มาถึงจุดนี้ได้ก็ถือว่าบังและประสบความสำเร็จอย่างมหาศาล
ถ้าในทางธุรกิจก็ถือว่า “รวย”
Grab ตอนนี้ถือว่าเป็น Early Majority ที่คนในสังคมยอมรับ
คนที่คิด Innovation หรือ Start up ส่วนมาก
ชอบคิดถึงกลุ่มลูกค้าที่เป็น mass หรือ Early Majority
ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่ผิดอย่างมหันต์ครับ
เราต้องรอให้การแพร่ของนวัตกรรมมันมาถึงก่อน
หรือเราต้องจับกลุ่ม Early Adopters ให้ได้ก่อนนั่นเอง
4. Late Majority
กว่าที่นวัตกรรมจะผ่านมาถึงคนกลุ่มนี้ได้
จะต้องผ่านมา 50% ของตลาดแล้ว
คนกลุ่ม Late Majority จะเป็นคนเก่าอยู่บ้าง
ให้ความสำคัญกับราคาค่อนข้างมาก
แต่ก็ไม่อยากตกกระแสหลัก
เช่น พ่อแม่เราอาจจะไม่ยอมเล่น Facebook เลย
จนลูกๆและคนรอบตัวเล่นกันหมดแล้ว
ก็เลยต้องมาเล่น Facebook บ้าง
(ปรากฎว่าติดหนักกว่าลูกอีกจ้า)
จับมือถือแบบนี้ ตีป้อมอยู่แน่นอน !!!
5. Laggards
กลุ่มนี้คือกลุ่มคนที่ล้าหลังหน่อย
ส่วนมากก็คือผู้สูงอายุหรือพวกพ่อแม่ พี่ป้าน้าอาของเรานี่แหละ
อีกส่วนนึงคือคนที่การศึกษาไม่สูงมาก
คนกลุ่มนี้มักพอใจสิ่งที่ตัวเองมีอยู่แล้วและไม่เปิดรับนวัตกรรมใหม่ๆ
บางครั้งอาจจะถึงขั้นต่อต้านด้วยซ้ำ
มาถึงตรงนี้ผมเชื่อว่าหลายๆคนคงเห็นภาพแล้วว่าจะเกิดนวัตกรรมได้
ไม่ใช่แค่มีไอเดียที่ดีกับอัจฉริยะสักคนแล้วจะเกิด Innovation ขึ้นมาได้
แต่ต้องผ่านการแพร่ของนวัตกรรมจนผ่านจุดที่สังคมยอมรับ
และหลายๆนวัตกรรมก็แพร่ไม่สำเร็จ(failed diffusion)
แม้ว่าจะเจอ Early Adopters แล้วก็ตาม
นั่นคือจุดที่เรียกว่าหุบเหวหรือ the Chasm นั่นเอง
หุบเหวที่ทำให้นวัตกรรมไปต่อไม่ได้
รองเท้าสำหรับประเทศไทย
ใครที่ไม่ได้ใส่ก็คงเป็นกลุ่ม Laggards
แต่ถ้าคุณเอารองเท้าไปขายชนเผ่าในแอฟริกาที่ไม่เคยใส่รองเท้ามาก่อนเลย
นั่นคือคุณกำลังมองหา Early Adopters อยู่
แล้วคุณล่ะครับ
เป็น Early Adopters ในเรื่องไหนบ้าง
แล้วเป็น Late Majority ในเรื่องไหนบ้าง
โฆษณา