18 ก.พ. 2020 เวลา 03:16 • การศึกษา
ศิลปะการพูด ให้เหมือนนั่งในใจคน พูดแบบนี้ใครๆ ก็ชอบฟัง
POSTED ON 07/01/2020 BY AMARINBOOKS TEAM
ทุกคนต้องมี ศิลปะการพูด เพราะการพูดไม่ใช่การสื่อสารเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ทั้งเรื่องครอบครัว เพื่อนฝูง รวมไปถึงการงานด้วย ยิ่งมีชามคำพูดที่ใหญ่มากเท่าไร การพูดของคุณก็จะดีขึ้นเท่านั้น
คิมยุนนา ผู้เขียนหนังสือเล่ม ศิลปะการพูดให้เหมือนนั่งในใจคน ที่มียอดขายถล่มทลายกว่า 300,000 เล่มในประเทศเกาหลี แบ่งคนออกเป็น 2 ประเภท คือคนที่มี ชามคำพูดเล็ก และคนที่มี ชามคำพูดใหญ่ ซึ่งการพูดของแต่ละคนจะส่งผลกระทบต่อคนฟังไปคนละทิศคนละทาง
คนที่มีชามคำพูดเล็ก จะมีคำพูดที่ไม่จำเป็นอยู่มาก พูดทำร้ายจิตใจคนฟัง โดยไม่คิดว่าสิ่งนั้นผิด และทำให้การสื่อสารไม่ราบรื่นเท่าที่ควร บางครั้งยังอาจสร้างความบาดหมางขึ้นมาด้วย ส่วนคนที่มีชามคำพูดใหญ่ จะไม่ใช้คำพูดเพื่อทำให้คนอื่นคล้อยตาม หรือเพื่อให้ตัวเองดูโดดเด่นกว่าคนอื่น แต่จะพูดเพื่อการสื่อสาร เพื่อเอาชนะความขัดแย้ง และเพื่อเข้าใจคนอื่น แม้ในสถานการณ์ที่สื่อสารกันลำบาก พวกเขาก็จะหาวิธีทำให้การสนทนาดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น
มาดูกันว่า ศิลปะการพูด ที่ต้องเรียนรู้ หากอยากเป็นคนที่มีชามคำพูดใหญ่ ต้องทำอย่างไรบ้าง
ปล่อยให้อีกฝ่ายพูดสิ่งที่อยู่ในใจ
หากมีคนถามคุณว่า “กำลังคิดว่าจะมีลูกคนที่สองดีไหม” คุณจะให้คำปรึกษาเขาอย่างไร
บางคนอาจตอบไปว่า “เอาสิ ยังสาวอยู่ อยากมีก็มีได้เลย” และเขาก็บอกมาว่า ไม่แน่ใจว่าจะทำงานไปด้วย เลี้ยงลูกไปด้วยไหวหรือเปล่า พอบอกไปว่า “งั้นมีคนเดียวก็พอ” เขากลับตอบว่า กลัวคนแรกจะเหงา
คนที่มีชามคำพูดใหญ่จะไม่ให้คำตอบเด็ดขาด แต่จะพูดกลับไปว่า “อะไรคือเหตุผลที่คิดว่าควรมีลูกสองคนล่ะ”
แทนที่จะตอบแบบใดแบบหนึ่ง เขากลับตั้งคำถามแบบไม่ยัดเยียด แถมช่วยให้เขาได้จัดระเบียบความคิดตัวเอง และไตร่ตรองให้แน่ชัดว่า ควรจะมีลูกคนที่สองดีไหม
ในขณะที่บางคนอยากจะช่วย แต่ส่วนใหญ่กลับพูดแต่เรื่องตัวเอง หรือสิ่งที่ตัวเองคิดว่าถูกมากกว่าจะช่วยหาคำตอบที่ซ่อนอยู่ในใจคนถาม ใจคนเรานั้นจะเปิดออกเวลาพบคนที่ทำให้เราตรวจสอบทางเลือกสำคัญของชีวิตของตัวเอง สิ่งที่จำเป็นคือคำพูดที่ลึกซึ้ง ไม่ใช่คำพูดที่อีกฝ่ายอยากได้ยิน เราจึงต้องเรียนรู้วิธีโอบอุ้มคนด้วยชามคำพูดให้ได้ก่อนที่จะจูงใจผู้อื่นด้วยคำพูด
เชื่อมโยงความรู้สึกกับคำพูด
เพราะเสียใจ จึงโมโห
คุณคิดว่าข้อความนี้เป็นจริงกี่เปอร์เซ็นต์ ถ้ายังนึกไม่ออกว่าทำไมเราต้องแสดงอาการเสียใจออกมาในรูปแบบของการโมโห ลองมาดูตัวอย่างจากเด็กน้อยวัยกำลังซนคนนี้
เด็กชายเอ ต่อเลโก้ออกมาจนเสร็จสมบูรณ์สวยงาม เขาดีใจมากเลยเรียกแม่มาดู แม่ชื่นชมว่าเขาเก่งมาก และแนะนำให้เอาไปอวดพ่อด้วย เด็กชายเอยิ้มร่า ถือเลโก้วิ่งไปอวดพ่อ แต่ระหว่างทางกลับสะดุดล้มจนทำให้เลโก้ที่ต่อเสร็จแล้วแตกกระจาย ชิ้นส่วนกระเด็นไปทั่ว
เด็กชายเอตะโกนออกมาเสียงดัง “ผมเกลียดแม่แล้ว เพราะแม่คนเดียว” แล้วก็เริ่มร้องไห้ออกมาไม่หยุด…
แม่เดินเข้ามาปลอบว่า “ลูกเสียใจใช่ไหม ถ้าเสียใจก็บอกแม่ว่าเสียใจนะ ไม่ต้องโมโห แม่จะปลอบลูกเอง” เด็กชายเอก็เริ่มบอกออกมาว่า “ผมเสียใจครับ”
ในโลกแห่งการเป็นผู้ใหญ่ จะไม่ได้รับโอกาสเช่นเดียวกับเด็กชายเอ อย่างแน่นอน เพราะไม่มีใครพูดกับผู้ใหญ่ที่กำลังเจ็บปวดแล้วโมโหหรอกว่า “เป็นเพราะตอนนี้เธอเสียใจอยู่ ไม่เป็นไรนะ เสียใจให้เต็มที่” มีแต่จะคิดว่า “คนคนนี้นิสัยไม่ดี อยู่ใกล้ๆ แล้วเหนื่อย”
เรามักพูดกับคนที่เสียใจว่า “นั่นไง ฉํนบอกแล้วใช่ไหมให้เตรียมตัวไว้ก่อน” เพื่อให้เขาเก็บซ่อนความรู้สึกไว้ เราปัดโอกาสที่จะได้รับรู้ความรู้สึกอย่างถูกต้องว่าเขารู้สึกอะไร รวมถึงปัดโอกาสที่จะได้วิเคราะห์ความหมายที่ซ่อนอยู่และโอกาสที่จะกำจัดความรู้สึกนั้นด้วย
เราต้องรู้จักวิเคราะห์และเชื่อมโยงความรู้สึกกับคำพูดให้ได้ ซึ่งความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้สึกกับคำพูดให้ไปในทางเดียวกันนี่เองคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้ขนาดของชามคำพูดของเราใหญ่ขึ้น
คำพูดได้รับอิทธิพลจากคนใกล้ชิด
คนเราต่างมีรูปแบบคำพูดที่รุนแรง คำพูดเกินจริง พูดยืดเยื้อ คำพูดกระชับ หรือลักษณะการพูดและบรรยากาศได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรมด้วยก็จริง แต่เราไม่อาจมองข้ามอิทธิพลที่มาจากคนใกล้ชิดกับเรามากที่สุด เช่น พ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนสนิท หรือคนที่ทำงาน
1
คำพูดที่ได้ยิน ได้เห็น และได้เรียนรู้บ่อยๆ จะบันทึกไว้ในความทรงจำ และแสดงออกมาเป็นคำพูดที่เราเคยชินมาที่สุด โดยเฉพาะคำพูดที่บันทึกและอยู่ภายในตัวเราโดยไม่สามารถแยกแยะได้ว่าจำเป็นหรือไม่ หลายคนมีนิสัยการพูดคล้ายกับหัวหน้าที่ทำงานด้วย หรือเลียนแบบคำพูดรุนแรงของหัวหน้าเวลาดุลูกน้อง เมื่อเจอสถานการณ์ไม่ได้ดั่งใจ คำพูดที่เคยได้ยินก็จะออกมาจากปากของเราแบบไม่รู้ตัว
วิธีแก้ไขคือเราต้องรู้ตัวทุกครั้งก่อนพูด และค่อยๆ ปรับคำพูดจากนิสัยที่ฝังลึก จะพูดช้ากว่าเดิมสักนิดก็ยังดีกว่าพูดเร็วๆ ออกไปแล้วส่งผลกระทบที่ไม่ดีกับคนอื่นนะว่าไหม
1
“รอคอย” และ “ตั้งใจฟัง”
เวลาที่เราอยากได้ใจของอีกฝ่าย หรืออยากช่วยเหลือเขาด้วยใจจริง สิ่งที่เราทำได้ก็คือเชื่อใจอีกฝ่ายและรอคอยเท่านั้น คำที่ชามคำพูดใหญ่จะรู้ถึงความสำคัญของการรอคอยเป็นอย่างดี และรู้จักนำทักษะการฟังมาใช้ หรือในการสนทนาเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “การตั้งใจฟัง” หากมีทักษะการตั้งใจฟังแล้ว ไม่จำเป็นต้องพูดมาก ก็ลดระยะห่างของความสัมพันธ์และความขัดแย้งได้
2
บางกรณีก็เขาใจ “การฟัง” ผิดเพี้ยน หลายคนคิดว่าการฟังเป็นความสามารถติดตัวตั้งแต่กำเนิด แค่นั่งฟังๆ ไปเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วการฟังที่ดี จะต้องประเมินความหมายและใจความสำคัญที่ซ่อนอยู่ในคำพูดอีกฝ่ายด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากเป็นการฟังเพื่อให้ได้ใจอีกฝ่าย ทุกคนล้วนมีรหัสลับเปิดใจที่ต่างกัน การจะเปิดใจอีกฝ่ายให้ได้จึงจำเป็นต้องใช้ฝีมือและความรอบคอบ ถ้าต้องการให้อีกฝ่ายรู้สึกว่า “คนคนนี้เข้าใจฉัน” ก็ต้องคอยช่วยไม่ให้อีกฝ่ายหลุดไปจากสาระสำคัญ และต้องฝึกฝนเทคนิคแสดงความเห็นอกเห็นใจไว้มากๆ ด้วย
1
โฆษณา