18 ก.พ. 2020 เวลา 07:59 • ธุรกิจ
ทำไม COVID-19 ถึงส่งผลกระทบกับห่วงโซ่การผลิต(Supply Chain)
โดย พื้นฐานการลงทุนหมูน้อยออมเงิน
ทำไมแค่ การแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส หรือ COVID-19 มันถึงไปกระทบกับ
"ห่วงโซ่การผลิตของโลก" ได้
วันนี้หมูน้อยจะมาอธิบายให้ทุกท่านได้ทำความเข้าใจกันครับว่า
สองสิ่งนี้มันเกี่ยวข้องกันได้อย่างไร
ตัวบทความจะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆครับ
🦠1. อธิบายภาพอย่างง่ายว่าทำไม COVID-19 ถึงส่งผลกระทบกับ Supply Chain
🌏 2. สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน
💰3. ในฐานะนักลงทุนเราควรปฏิบัติตัวอย่างไร
1. อธิบายภาพอย่างง่ายว่าทำไม COVID-19
ถึงส่งผลกระทบกับ Supply Chain
นั่นเป็นเพราะว่า ฐานการผลิตของบริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลก ล้วนอยู่ในเมืองจีน เป็นเสียส่วนใหญ่
นอกจาก "จีน" จะเป็นศูนย์กลางของ "โรงงานที่ใช้ในการผลิตสินค้า"
จีน....ยังเป็นแหล่ง "วัตถุดิบ" และ "แรงงาน" อีกด้วย
ผมขอยกตัวอย่าง ต้นทุนในการผลิตสินค้า
ให้ทุกท่านเห็นกันครับว่ามันประกอบด้วยอะไรบ้าง
1.) ต้นทุนด้าน-วัตถุดิบ 🧑🏻‍🌾
เช่น แร่เหล็ก ทองแดง พลาสติก พืชพรรณ หนังสัตว์ ฯลฯ
2.) ต้นทุนด้าน-แรงงาน 👨🏻‍🏭
ประเทศจีนมีประชากรเยอะมาก ทำให้สามารถจ้างแรงงานเข้ามาทำงานในสายการผลิตได้ โดยที่มี ค่าจ้าง ในระดับที่ถูก
3.) ต้นทุนด้าน-เครื่องจักร ⚙️
ท่านคงเคยเห็นภาพ เครื่องจักรในโรงงานผลิตสินค้ากันมาบ้างครับ ว่าส่วนใหญ่มันนำเข้ามาจากต่างประเทศทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นจากฝั่ง อเมริกา ยุโรป แน่นอนว่ารวมถึงจีนด้วย
https://www.primaseller.com/wp-content/uploads/2019/05/What-is-Cost-Of-Goods-Sold.png
ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าผมอยู่ประเทศไทย แล้วจะสั่งเครื่องจักรผลิตสินค้าอิเลกทรอนิกส์
ผมอาจจะสั่งนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบมาจากจีน
...ขาเข้าก็โดน "ภาษี" ไปตามระเบียบ
ในวงการธุรกิจ จึงมีความคิดอีกชุดนึงครับว่า
แทนที่จะตั้งโรงงานในประเทศตัวเอง
ทำไมเราไม่ย้ายฐานการผลิตไปอยู่ที่จีนเลยล่ะ
เครื่องจักรก็มี แรงงานก็ถูก วัตถุดิบก็ไม่ต้องนำเข้า แถม "รัฐบาลจีน" ยังมีมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการต่างชาติอีกต่างหาก
ไม่ว่าจะเป็นมาตรการด้านภาษีเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ หรือมาตรการอื่นๆ ฯลฯ
ซึ่ง ไม่ใช่เพียงแค่ "รัฐบาลจีน" ที่สนับสนุนผู้ประกอบการรายใหม่ๆ เข้ามาสร้างฐานการผลิตเท่านั้น
แต่รวมถึงมาตรการสนับสนุนผู้ประกอบการจาก "ประเทศต้นทาง" ด้วย
คุณออกไปทำธุรกิจที่ต่างประเทศสิ เรามี MOU วงเงินกู้พิเศษดอกเบี้ยต่ำ หรือแม้กระทั่งพาไปติดต่อ Suppliers ฯลฯ
ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจครับ ว่าทำไมบริษัทต่างๆถึงย้ายฐานการผลิตไปอยู่ที่จีนกันเยอะ
*แต่แรงงานฝีมือในระดับสูงของจีน ค่าจ้างไม่ได้ถูกไปเสียทั้งหมดนะครับ
2. สถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน
จากข้อมูลในส่วนก่อนหน้านี้ทำให้ทุกท่าน
พอจะมองภาพกว้างๆได้ว่า ทำไมธุรกิจต่างๆ
ถึงจำเป็นต้องย้ายฐานการผลิตไปที่จีน
ผมจะลองยกตัวอย่างจริงให้ทุกท่านเห็นครับว่า บริษัทระดับโลกอย่าง Apple Inc. ยักษ์ใหญ่แห่งวงการ IT
https://d.newsweek.com/en/full/417304/apple-human-rights-cobalt-amnesty.jpg
จากภาพท่านจะเห็นได้ว่า
บริษัท Apple กระจายการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ
ของ iPhone ไปยังหลายบริษัททั่วโลก
ไม่ว่าจะเป็น.....
Samsung - ผลิต Processor และ Memory
LG - ผลิตหน้าจอ
ST Microelectronics - ผลิตชิ้นส่วนอย่าง gyroscope
และแน่นอนว่า.....
Apple ส่งชิ้นส่วนต่างๆจากหลายประเทศ
ไปประกอบที่ Foxconn บริษัทของไต้หวันซึ่งมีฐานการผลิตอยู่ ในเมืองเซินเจิ้น(Shenzhen) ประเทศจีน
กำลังผลิต iPhone กว่า ครึ่งหนึ่งของโลก
ได้ถูกกล่าวว่า สร้างขึ้นที่ Foxconn
นครแห่ง iPhone(iPhone City) แห่งนี้ครับ
https://image.cnbcfm.com/api/v1/image/104859991-Foxconn_factory_.jpg?v=1559871143&w=1600&h=900
เมื่อเจอ สถานการณ์ เรื่อง COVID-19 !!!!!
โรงงานผลิตที่นี่ ก็มีการหยุดไลน์ผลิตไปอย่างต่อเนื่องครับ ปัจจุบันก็ยังไม่สามารถกลับมาดำเนินการได้ 100%
(สื่อรายงานว่าอยู่ที่ประมาณ 60-70%)
สถานการณ์นี้ ไม่ได้เกิดขึ้นกับ Apple Inc. เพียงบริษัทเดียวเท่านั้น....
แต่มันเกิดขึ้นในหลายๆอุตสาหกรรมที่มีโรงงานผลิต ต้องใช้วัตถุดิบตั้งต้น หรือมีความเกี่ยวข้องกับกับประเทศจีน
ยกตัวอย่างเช่น.....
อุตสาหกรรมแฟชั่น ผู้ผลิต เสื้อผ้า ชุดชั้นใน รองเท้า ฯลฯ
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็น สายการบิน โรงแรม ร้านอาหาร
อุตสาหกรรมยานยนต์ ที่ผลิตชิ้นส่วนในจีน
หรือแม้กระทั่ง อุตสาหกรรมยา (เมื่อวานคุณ VATE มาร่วมพูดคุยประเด็นนี้)
แน่นอนครับว่า ผู้ประกอบการหลายๆรายในประเทศไทยก็ต้องสั่งวัตถุดิบมาจากเมืองจีนเช่นกัน
เรียกได้ว่า "โดนกันถ้วนหน้า"
3. ในฐานะนักลงทุนเราควรปฏิบัติตัวอย่างไร
ในปัจจุบันนี้ สถานการณ์เรื่องการแพร่ระบาดของ COVID-19 มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทุกวัน
ดังนั้น "ในฐานะนักลงทุน" แล้ว
ผมขอให้คำแนะนำเป็น 2 ส่วนดังนี้ครับ
3.1) ติดตามข่าวสารจากแหล่งข่าวที่มีความน่าเชื่อถือ
สำหรับข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับโรคนี้โดยตรง
ผมแนะนำให้ติดตามจาก
- กรมควบคุมโรค ของกระทรวงสาธารณสุข
- CDC: Centers for Disease Control and Prevention
- องค์การอนามัยโลก World Health Organization: WHO
ในนั้นจะมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับเรามากครับ
https://ddc.moph.go.th/
3.2) นำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประเมินผลกระทบต่อการลงทุนของเราอย่างรอบด้าน
อย่าตัดสินใจซื้ออะไรก็ตามด้วยความรู้สึก
ควรใช้ข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริง (Facts)
หรืออาจใช้ศาสตร์และศิลป์ ส่วนตัวของท่าน
มาเป็นเหตุผลสนับสนุนในการลงทุนครับ
ที่สำคัญ ถ้าครั้งนี้ แพ้ ก็ไม่เป็นไร
ยอมรับ ว่าเราผิดได้
วางแผนใหม่ คิดใหม่
"ตลาดมันเปิดตลอด"
1
หวังว่าทุกท่านจะได้รับประโยชน์จากบทความชิ้นนี้ครับ
ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ให้การสนับสนุน
ขอ Like & Share เติมกำลังใจเหมือนเช่นเคยนะครับ
รัก
หมูน้อย
reference
กรมควบคุมโรค
CDC
WHO

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา