Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
13055
•
ติดตาม
20 ก.พ. 2020 เวลา 05:05 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เคยเป็นกันไหมครับ
ที่การรอคอยอะไรสักอย่างมันนานแสนนาน
รอหนึ่งชั่วโมงเหมือนรอกันเป็นเดือนๆ
เคยเป็นไหมครับที่เวลาในวัยเด็กผ่านไปอย่างเชื่องช้า
ช่วงปิดเทอมนี่รู้สึกเหมือนนานเป็นปีๆ
แต่พอเราโตขึ้นเวลากลับผ่านไปรวดเร็วมาก
วันเดียวเหมือนไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้นเอง
ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น
วันนี้ผมจะมาเล่าให้ฟังครับ
เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าอายุหรือความรู้สึกของเราไม่ได้มีผลต่อการโคจรของโลกรอบดวงอาทิตย์
แต่ทำไมเวลามันถึงผ่านไปเร็วขึ้นเมื่อเราแก่ตัวลงกันล่ะ ???
มีทฤษฎีนึงที่ชื่อว่า ratio theory หรือทฤษฎีสัดส่วนในปี 1877
พยายามอธิบายเรื่องนี้ว่า
ในวัยเด็กนั้นเวลา 1 ปี ถือเป็นสัดส่วนที่เยอะมากในชีวิตทั้งหมดของเค้า
เช่น ถ้าเด็กอายุ 5 ขวบ
อายุ 1 ปีก็คือ 20% ของอายุเค้าเลย
ในขณะที่ในคนอายุ 30 ปี
1 ปีนั้นมีค่าแค่ 3.33% เท่านั้น
นั่นเป็นเหตุผลที่ทำให้พอเราอายุเยอะขึ้น
ความสำคัญของเวลา 1 ปีก็ลดลงไป
ทำให้มันเหมือนว่าผ่านไปเร็วมากขึ้น
แต่นั่นคือทฤษฎีเมื่อ 100 ปีก่อน
ที่ยังอาจจะอธิบายไม่ได้ชัดเจนว่า
ถ้าเป็นเช่นนั้นทำไมการรอคอยมันช่างนานแสนนาน
เมื่อไม่นานมานี้มีนักวิทยาศาสตร์ที่ชื่อ David Eagleman
ได้เสนอความคิดเกี่ยวกับเรื่อง time perception หรือการรับรู้เวลา
โฉมหน้าของ David Eagleman ผู้เสนอแนวคิดเรื่อง time perception
ที่ว่าเราสามารถยืดเวลาให้ยาวขึ้น
หรือเร่งเวลาให้เร็วขึ้นได้
ฟังดูบ้ามากใช่ไหมครับ
จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราควบคุมเวลาได้
แต่นายเดวิดบอกไว้แบบนี้ครับ
ยิ่งมีข้อมูลที่สมองต้องใช้เพื่อประมวลผลมากเท่าไหร่
เวลายิ่งเดินช้าลงมากเท่านั้น
คำถามต่อมาก็คือสถานการณ์แบบไหนกันล่ะที่ทำให้สมองประมวลผลข้อมูลมากขึ้น ???
ผมขอยกตัวอย่างเหตุการณ์อย่างที่เรามักจะเคยได้ยินกันบ่อยๆว่าเวลาจะเดินช้าลง
นั่นคือเหตุการณ์ที่เรา "เฉียดตาย"
เพราะเวลาเราเจอเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบถึงชีวิต
สมองทุกส่วนจะตื่นตัวเพื่อประมวลผลหาทางหนีเอาชีวิตรอด
เราคงไม่เดินชิวๆ
ไม่สนใจอะไรถ้ามีสิงโตหลุดออกมาจากกรงจริงไหมครับ
ทำให้สมองต้องประมวลผล ณ วินาทีนั้นมากกว่าปกติ
เจอแบบนี้สมองทำงานเต็มที่แน่นอนครับ
นั่นแปลว่ายิ่งเราใส่ใจกับอะไรมากเท่าไหร่
สมองก็ยิ่งประมวลผลมากขึ้นเท่านั้น
ถ้าผมยกตัวอย่างหนังรักโรแมนติก
เวลาที่พระเอกสวนกับนางเอกแล้วตกหลุมรักกัน
วินาทีนั้นจะเป็นภาพ slow motion พร้อมกับมีหัวใจฟรุ้งฟริ้งขึ้นมาในจอ
เรื่องเวลาที่เดินช้าตรงนั้นไม่ได้เป็นเรื่องที่เกินเลยแต่อย่างใด
เพราะตอนนั้นสมองของพระเอกและนางเอกให้ความสนใจซึ่งกันและกัน
ทำให้สมองของทั้งคู่นั้นต้องประมวลผลอย่างหนัก
และทำให้การรับรู้เวลา(time perception)เดินช้าลง
วินาทีนี้เวลาจะเดินช้าลง(ในความรู้สึกเรา)ครับ
นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมตอนเด็กเวลาถึงเดินช้าลง
เพราะเมื่อเราเป็นเด็ก
ทุกๆอย่างในโลกใบนี้มันดูใหม่
ดูน่าสนใจไปหมด
ตั้งแต่เจ้าหมาตัวน้อย
น้ำทะเล
ภูเขาสีเขียว
รถยนต์เชฟโรเลต
ฯลฯ
บนโลกที่เราไม่เคยรู้จักมาก่อน
ไม่มีสิ่งไหนที่เราจะไม่ตื่นเต้นกับมันเลย
สำหรับเด็กๆแล้ว ทุกอย่างดูน่าตื่นเต้นไปหมด
แต่เมื่อเราแก่ตัวลง
โลกใบนี้มันก็ดูเหมือนเดิมทุกอย่าง
เหมือนกับเมื่อวานและวันที่แล้วๆมา
ไม่ได้น่าสนใจอะไรมากอีกแล้ว
สมองเราไม่ได้ต้องการทำงานหนักตลอดเวลา
กลับกันด้วยซ้ำ
เพราะสมองคนเรา "ขี้เกียจ" ประมวลผลเอามากๆ
ดังนั้นมันจึงพยายามสร้าง "ทางลัด" หรือ shortcut ขึ้นมาตลอดเวลา
การที่เราต้องลุกไปแปรงฟัน
แล้วไปแต่งตัว
เพื่อขับรถยนต์ไปทำงานที่โต๊ะ
ซ้ำๆกันแบบนั้นทุกวัน
ทำอะไรซ้ำๆ เวลาก็จะผ่านไปเร็วเสมอ
สมองได้สร้างทางลัดไว้จัดการเรื่องเหล่านี้หมดแล้ว
ทำให้เราแทบไม่ต้องใช้สมองหรือไม่ต้องให้ความสนใจในการลุกขึ้นไปแปรงฟันเลย
แต่วินาทีที่เราโดนบอกเลิก
พี่หมอรับรองว่าวินาทีสมองไม่ได้สร้าง shortcut อะไรไว้เลย
สมองทุกส่วนทำงานเต็มที่ว่าทำไมเราต้องเลิกกันด้วยนะ
ดังนั้นวินาทีที่เราโดนบอกเลิกจะยาวนานเป็นชั่วโมง
และอยู่ในความทรงจำของเรา(ไม่ว่าจะดีหรือร้าย)ไปอีกนานแสนนาน
วินาทีที่เธอเดินจากไป นานนับชั่วโมง
แล้วทำไมเวลาเรารอคอยมันถึงช่างนานแสนนานกันล่ะ
นั่นเพราะตอนนั้นเราให้ความสนใจกับ "เวลา"
ว่าเมื่อไหร่เค้าจะมากันนะ เมื่อไหร่ๆๆๆๆ
พอเราใจจดใจจ่อกับเวลา
ทำให้เราสนใจแต่เวลา
และทำให้สมองประมวลผลข้อมูลมากขึ้น
นั่นจะทำให้เวลาเราผ่านไปช้าลง
แต่เมื่อเราสนุกสนาน
หรือเมื่อเราเลิกสนใจกับเวลา
นั่นจะทำให้เวลามันผ่านไปเร็วขึ้น
แล้วเรื่อง time perception หรือเรื่องการประมวลผลข้อมูลของสมอง
ช่วยอะไรเราได้บ้างล่ะ
มันช่วยบอกว่าถ้าเราอยากให้เรารู้สึกว่าเวลาเดินช้าลง
ไม่ใช่แปบๆแก่ขึ้นอีกปีนึงอีกแล้ว
สิ่งที่เราควรทำก็คือให้หาสิ่งที่เราต้องให้ความสนใจมากขึ้นกว่าปกติ
ถ้าให้ผมพูดง่ายๆก็คือหาสิ่งใหม่ๆทำครับ
นั่นคือเหตุผลว่าการเดินทางไปเที่ยวต่างประเทศมักจะอยุ่ในความทรงจำเราเสมอ
เพราะเราได้เจอสิ่งใหม่ๆ
เมืองใหม่ๆ
อาหารใหม่ๆ
บรรยากาศใหม่ๆ
ฯลฯ
ความทรงจำเวลาไปเที่ยวจะชัดเจนเสมอ
และนั่นก็เป็นเหตุผลเดียวกับว่า
ทำไมรักครั้งแรกมันจะตราตรึงใจเราอยู่เสมอ
เพราะเราไม่เคยรู้จักกับความรักมาก่อนเลย
เรามารู้จักความรักเป็นครั้งแรก
เรารู้จักเขินอาย
เรารู้จักที่จะทำอะไรแปลกๆเพื่อให้เค้าประทับใจ
ฯลฯ
1 นาทีของเราจริงๆแล้วเท่ากัน
แต่ 1 นาทีในความรู้สึกของแต่ละคนไม่เท่ากันครับ
ถ้าเราอยากให้เวลาช้าลง
อย่าลืมลองหาสิ่งใหม่ๆทำดูนะครับ
อย่างที่เค้าชอบบอกกันว่าให้ลองจาก comfort zone ดูบ้างนั่นเอง
เพื่อนๆล่ะครับ
ยังจำรักครั้งแรกกันได้อยู่ไหม
แล้วยังจำความรู้สึกตอนเป็นเด็กได้อยู่หรือเปล่าครับ
57 บันทึก
182
22
78
57
182
22
78
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย