20 ก.พ. 2020 เวลา 05:32 • ประวัติศาสตร์
ประวัติความเป็นมา....โบสถ์แห่งหยดเลือด(Church of the Savior on the spilled Blood) ....อนุสรณ์สถานแด่พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 แห่งรัสเซียและการลอบปลงพระชนม์
โบสถ์แห่งหยดเลือดตั้งอยู่ริมคลอง Griboyedov เมืองเซนต์ปีเตอร์สเบิร์กรัสเซีย/Csar Allexander ll (cr:wikipedia/www.zoo.in.th)
วันนี้อยากแนะนำให้รู้จักกับโบสถ์แสนสวย....ที่มีนามว่า "โบสถ์แห่งหยดเลือด " หรือที่เรียกกันอีกชื่อว่า " โบสถ์แห่งการคืนชีพ "และที่มาของเหตุในการสร้างโบสถ์แห่งนี้
วิวสวยๆยามค่ำคืนของโบสถ์หยดเลือด(Cr:travel.nationalgeographic.com)
โบสถ์แห่งนี้เป็นสถาปัตยกรรมที่มีศิลปะแบบรัสเซียแท้ๆซึ่งจะต่างจากสิ่งก่อสร้างอื่นๆในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก ที่ส่วนใหญ่จะเป็นศิลปะแบบบารอก(Baroque)และนีโอคลาสสิก(Neoclassic)
หลายคนมักจะมองว่าโบสถ์แห่งนี้คลายกับโบสถ์เซนต์เบซิลที่มอสโกมากๆ
โบสถ์แห่งหยดเลือดนี้ ถูกสร้างขึ้นโดยพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 เพื่อระลึกถึงพระบิดา พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่2 ผู้ถูกลอบปลงพระชนม์ ณ บริเวณนี้ในปี ค.ศ. 1881 ซึ่งการสร้างกินเวลายาวนานกว่า 20 ปี
พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 (นั่งทางซ้าย)/พระโอรส-ต่อมาเป็นพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3(ยืนตรงกลาง) ขวาสุดพระราชินีมาเรีย (cr:www.newworldencyclopedia)
พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 (ค.ศ.1818-1881)นั้นพระองค์ถูกลอบปลงพระชนม์มาหลายครั้ง จนกระทั่งครั้งที่ 6 นั้นพระองค์ได้รับบาดเจ็บสาหัสเสียเลือดเป็นจำนวนมาก จนสิ้นพระชนม์ ณ วิหารหยดเลือด
พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ( Alexander ll of Russia) พระองค์ทรงเป็นนักปฏิรูปและทรงเป็นผู้ปลดปล่อยเหล่าเซิร์ฟ ซึ่งเปรียบเหมือนพวกไพร่หรือทาสทั้งหมดทั่วทั้งจักรวรรดิรัสเซีย ในปี ค.ศ.1861 (ก่อนการเลิกทาสของอเมริกา โดยประธานาธิบดี อัมราฮัม ลินคอล์น 2 ปี ) และยังทรงพยายามปฏิรูปการเมืองรัสเซียเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงมากขึ้น เพราะฉะนั้นในช่วงที่พระองค์ปกครอง จึงมีพัฒนาการทางการเมืองที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์รัสเซีย ท่านทรงได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า " ซาร์นักปฏิรูป "และ " ซาร์อเล็กซานเดอร์ผู้ปลดปล่อย " ( Alexander ll the Liberator )ด้วย
หลังจากที่พระองค์ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระบิดา พระองค์คิดว่ารัสเซียมีความล้าหลังหลายด้าน จึงเป็นเหตุให้พ่ายแพ้ต่อสงครามไครเมียในปี 1853.....และด้วยเหตุแห่งการพ่ายแพ้สงครามส่งผลให้พระราชบิดา พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 ต้องตรอมพระทัย ล้มป่วยจนสิ้นพระชนม์ตลอดรัชการทรงดำเนินนโยบายปฏิรูปหลายด้านอาทิเช่น ด้านการศึกษา ด้านการทหาร การคมนาคม แต่สำคัญที่สุดคือการเลิกทาส
หลังการปฏิรูป แทนที่อะไรๆจะดีขึ้นกลับปรากฎว่า พวกกลุ่มชาวนากลับยากจนลง ต้องซื้อที่ดินแพงขึ้น ประชาชนต้องเสียภาษีมากขึ้น กอปรกับเศรษกิจย่ำแย่ไปทั่วโลก ทำให้เกิดกระแสล้มล้างการปกครอง
1
การปฏิรูปของพระองค์ ทำให้เกิดขบวนการปฏิวัติหลายกลุ่ม ซึ่งใช้ความรุนแรงและหมายเอาชีวิตราชวงค์และขุนนาง
มีนักปฏิวัติกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอยู่คนละฝ่ายกับพระองค์ ที่เรียกว่า " กลุ่มเจตนารมณ์มวลชน " หรือ Narodnaya Volya ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองเกิดขึ้นในรัสเซีย จึงมีการวางแผนลอบสังหารพระองค์อย่างเงียบๆ
ในการลอบสังหารครั้งแรก มีชายชื่อว่า ดมิทรี คาราโคซอฟ( Dmitry Karakozov) เป็นอดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยมอสโก แต่ถูกไล่ออก ต่อมาเขาไปเข้ากับสมาคมนักปฏิวัติ ในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1866 คาราโคซอฟแอบไปดักยิงพระองค์ที่สวนฤดูร้อนในเซนต์ปีเตอร์สเปิร์ก แต่ทำการไม่สำเร็จถูกจับได้และได้รับโทษประหารชีวิตโดยการแขวนคอในเวลาต่อมา
Dmitry Karakozov ผู้พยายามลอบสังหาร Csar Alexander ll แต่ทำไม่สำเร็จ(cr:executedtoday.com)
ในการลอบสังหารครั้งที่ 2พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 เสด็จไปเยี่ยมชมงานเวิลด์แฟร์ที่ปารีส โดยพระองค์ประทับนั่งอยู่ในรถกันกระสุนพร้อมกับนโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศส ระหว่างนั้นได้มีชาวโปลคนหนึ่งยิงปืนเข้าใส่รถที่พระองค์นั่งแต่กระสุนพลาดไปโดนม้าทรง มือสังหารถูกจับกุมได้ในที่สุด ( เขาสารภาพว่า เขาต้องการปลดปล่อยประเทศของเขาให้พ้นจากการครอบงำของรัสเซีย) เขาเพียงแค่ได้รับโทษให้ไปทำงานตลอดชีวิตและได้รีบอภัยโทษในเวลาต่อมา
ในการลอบสังหารครั้งที่ 3 ซึ่งห่างจากครั้งแรก 13 ปี ในปี ค.ศ. 1879 วันหนึ่งมือสังหารชื่อ อเล็กซานเดอร์ โซลอฟโยฟลอบดัดยิงขณะที่พระองค์เสด็จออกมาเดินเล่นในยามเช้า แต่พระองค์ทรงวิ่งหลบกระสุนได้ทัน (จึงพลาดเป้า) ผู้ลอบสังหารถูกจับได้....จึงได้รับโทษประหารชีวิตด้วยเช่นกัน
1
ในการลอบสังหารทั้ง 3 ครั้งที่กล่าวไปนั้น มีผู้กระทำการเพียงคนเดียวแต่ ....ในครั้ง ที่4 เป็นการวางแผนของกลุ่มนักปฏิวัติสังคมนิยม หรือกลุ่ม " นาโรดนายา โวลยา " (Narodnaya Volya)
1
Vera Figer หนึ่งในผู้นำของกลุ่ม Narodnaya Volya (cr:www.j-grit.com)
พวกเขาได้วางแผนเตรียมระเบิดไดนาไมด์ เพื่อลอบวางระเบิดรถไฟพระที่นั่ง แต่มีการเขื่อมวงจรผิดพลาดพระองค์รอดชีวิต .....พวกเขาจึงตัดสินใจลงมืออีกครั้งเมื่อรถไฟพระที่นั่งเข้าใกล้เมืองมอสโกแต่ก็พลาดอีก เนื่องจากระเบิดผิดขบวน ไประเบิดเอาขบวนขนผลไม้แทน
พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ทรงเศร้าพระทัยอย่างมากที่มีคนคอยปองร้ายอยู่ร่ำไป.....
ในการลอบสังหารครั้งที่ 5 พวกกลุ่มปฏิวัติกลุ่มเดิมเห็นว่า การลอบสังหารโดยรอจังหวะให้พระองค์เสด็จออกจากพระราชวังนั้นไม่สำเร็จ จึงคิดวางแผนที่จะส่งคนเข้าไปปลงพระชนม์ถึงในพระราชวังเลย
ในปี ค.ศ. 1880 กลุ่มนักปฏิวัติส่งชายคนหนึ่ง นามว่า สเตฟาน คัลทูริน (Stepan Khalturin )แอบเข้าไปสมัครงานในพระราชวังฤดูหนาวในฐานะช่างไม้ โดยใช้ชื่อปลอมว่า " บาทูชคอฟ "( Batyshkov ) คัลทูรินเป็นคนเข้ากับคนได้ง่ายและทำตัวไม่ให้มีใครสงสัยได้เลย
วันหนึ่งเขาได้มีโอกาสเข้าไปซ่อมแซมเฟอร์นิเจอร์ในห้องทำงานส่วนพระองค์ของพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 เขาสามารถใช้ค้อนฟาดลงไปที่พระเศียรได้ แต่เขากลับไม่กล้าพอ โดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้ถูกดุและตำหนิอย่างมากมายจากกลุ่มปฏิวัติ...เขาจึงพยายามจะหาวิธีอื่นแทน
ต่อมาคัลทูรินพบว่าห้องที่เขาพักอาศัยอยู่ ด้านบนอยู่ตรงกับห้องที่สมาชิกราชวงศ์เสวยพระกระยาหารพอดิบพอดี เขาจึงวางแผนค่อยๆลอบขนไดนาไมด์เข้ามาในพระราชวัง จนกระทั่งวันที่ 17 กุมภาพันธ์ ค. ศ. 1880 เขาทราบว่าสมาชิกทุกคนจะมาเสวยพระกระยาหารเย็นพร้อมหน้าพร้อมตา เขาจึงติดตั้งระเบิดไดนาไมด์จำนวน 280 ปอนด์ ไว้ที่เพดานห้องของเขา เมื่อเขาคิดว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามแผน เวลาหกโมงเย็นเล็กน้อย เขาจึงจุดระเบิดขึ้น
แต่การไม่เป็นดังคาด พระญาติคนหนึ่งของพระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 เดินทางมาล่าช้า เวลาเสวยพระกระยาหารจึงช้าออกไป ....สุดท้ายสมาชิกพระราชวงศ์จึงยังไม่มีใครอยู่ในห้องนั้น โชคร้ายตกแก่ข้าราชบริพารเสียชีวิตรวม 11 คน และได้รับบาดเจ็บอีก 45 คนด้วยกัน
ครั้งสุดท้ายแห่งการลอบสังหาร วันที่ 13 มีนาคม ค.ศ .1881 ณ ริมคลอง แคทเทอรีน ในกรุงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ประทับอยู่ในรถม้า พระองค์เพิ่งเสด็จออกจากพระราชวังมิคาอิลลอฟสกี้ เพื่อมุ่งหน้าไปยังพระราชวังฤดูหนาว พวกกลุ่นนักปฏิวัติ Narodnaya Volya ได้แอบซุ่มอยู่ พวกเขาปาระเบิดใส่รถม้าของพระองค์ ครั้งแรกแรงระเบิดได้ทำให้ทหารที่ติดตามเสียชีวิตหนึ่งคน ส่วนอีกคนได้รับบาดเจ็บสาหัส พระองค์ได้ทรงพยายามที่จะช่วยเหลือทหารที่เจ็บ แต่ละแล้ว ...
มือสังหารได้โยนกระเป๋าที่บรรจุระเบิดมาที่พระองค์ ทำให้พระองค์ไดรับบาดเจ็บสาหัสและทนพิษบาดแผลไม่ไหว เสด็จสวรรคตที่พระราชวังฤดูหนาวในคืนนั้น
เหตุการณ์ลอบสังหาร Csar Alexander ll ในวันที่13 มีนาคม ค.ศ. 1881 พระองค์ได้รับบาดเจ็บสาหัส จนสวรรคต (cr:victorytale.com)
ต่อมาเมื่อซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา จึงสร้างโบสถ์หยดเลือดขึ้น ณ จุดที่พระเจ้าซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 3 ถูกลอบสังหาร เพื่อเป็นอนุสรณ์รำลึกถึงท่านตลอดกาล....
🙏🏼ขอบพระคุณที่ติดตามอ่านนะคะ.......
ฝากกด like@share /กดติดตามด้วยนะคะ🙏🏼
Ref..
-www.newworldencyclopedia.org/entry/Alexander_ll_of_Russia
-www.history.com/this-day-in-history/czar-alexander-ii-assassinated
-www.executedtoday.com/2012/09/15/1866-dmitry-karakozov/
-www.victorytale.com/th/alexii-attempts
เรียบเรียงโดย Dent -jasmine
ภายในโบสถ์ จุดนี้คือบริเวณที่ซาร์อเล็กซานเดอร์ที่ 2 ถูกลอบปลงพระชนม์ มีการประดับประดาอย่างสวยงาม(Cr:www.victorytale.com)
โฆษณา