20 ก.พ. 2020 เวลา 10:19 • การศึกษา
วันนี้เราจะคุยกันเรื่องวิธีการเข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาของไทย ซึ่งบ้านเราใช้ระบบ TCAS
TCAS (Thai University Central Admission System) คือระบบที่ใช้คัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยในปัจจุบัน
TCAS มี 5 รอบ คือ
TACS 1 รอบยื่นพอร์ตฟอลิโอ (Portfolio) รอบนี้เป็นผลงานเฉพาะของเด็กคนนั้นๆ เด่นด้านกีฬามีผลงานเหรียญทองระดับชาติ เก่งศิลปะประกวดระดับโลก อะไรก็ว่าไป
TCAS 2 รอบโควต้า ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยจะกำหนดรายละเอียด ถ้าเป็นของครู เช่น โครงการเพชรในตม โครงการทุนเอราวัณ โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ฯ อย่างนี้เป็นต้น ซึ่งรอบโควต้าจะมีการจัดสอบเป็นการเฉพาะของแต่ละมหาวิทยาลัยเอง รายละเอียดที่จะใช้ ก็เป็นรายละเอียดของโครงการนั้นๆ โดยเฉพาะ
TCAS 3 รอบรับตรงแบบร่วมกัน เป็นรอบที่มีการคัดเลือกตามรูปแบบของแต่ละสถาบัน แต่จะกำหนดให้มาสมัครที่ระบบเดียวกัน ให้สิทธิมหาวิทยาลัยกำหนดสัดส่วนคะแนน O-NET GAT PAT 9วิชาสามัญ เอง หรือจะจัดสอบวิชาเฉพาะเองก็ได้
โดยคณะไหนที่ใช้วิชาเฉพาะจะต้องไปสมัครสอบวิชาเฉพาะกับทางมหาวิทยาลัยโดยตรง แต่เวลาสมัครต้องมาสมัครที่เวบส่วนกลาง
TCAS 4 รอบแอดมิชชั่น (Admission) เป็นรอบที่ให้สมัครระบบเดียวกันหมด ใช้เกณฑ์คะแนน เกรดเฉลี่ย O-NET GAT/PAT 9 วิชาสามัญ มาเป็นตัวคัดเลือก
TCAS 5 รอบรับตรงอิสระ เป็นรอบที่ รายละเอียดเป็นเรื่องของมหาวิทยาลัยกำหนดโดยตรง จะใช้ O-NET GAT/PAT หรือไม่ก็ได้
แล้วการสอบ O-NET คืออะไร?
O-NET (Ordinary National Education Test) ก็คือ การสอบวัดพื้นฐานความรู้ที่ได้จากการเรียนในแต่ละช่วงชั้น ที่รัฐจัดขึ้น ในระดับ ป.6 ม.3 และ ม.6 เพื่อเอาคะแนนไปยื่นเข้าเรียนต่อในระดับชั้นต่อจากช่วงชั้นนั้นๆ
O-NET สอบ 8 วิชา 6 ชุด ชุดละ 100 คะแนน ประกอบด้วย
*1. วิชาภาษาไทย
*2. วิชาสังคมศึกษา
*3. วิชาภาษาอังกฤษ
*4. วิชาคณิตศาสตร์
*5. วิชาวิทยาศาสตร์
*6. มี 3 วิชา ได้แก่ สุขศึกษาและพลศึกษา ศิลปะ การงานอาชีพและเทคโนโลยี
แต่วิชาที่นำมาคำนวณคะแนนแอดมิชชั่นจะใช้เพียง 5 วิชาเท่านั้นคือ ชุดที่ 1-5
แล้ว GAT ละ คืออะไร?
GAT (General Aptitude Test) คือ การสอบวัดความถนัดทั่วไป มีอยู่ด้วยกัน 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 คือ การอ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ 150 คะแนน
ส่วนที่ 2 คือ ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ 150 คะแนน
ส่วน PAT (Professional and Academic Aptitude Test) คือ การสอบวัดความถนัดเฉพาะทางวิชาการและวิชาชีพ มีอยู่ด้วยกัน 7 ชุด 13 ความถนัด ให้เลือกสอบได้แก่
PAT 1 ความถนัดทางคณิตศาสตร์
PAT 2 ความถนัดทางวิทยาศาสตร์
PAT 3 ความถนัดทางวิศวกรรมศาสตร์
PAT 4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรมศาสตร์
PAT 5 ความถนัดทางวิชาชีพครู
PAT 6 ความถนัดทางศิลปกรรมศาสตร์
PAT 7 ความถนัดทางภาษาต่างประเทศ แบ่งเป็น ความถนัดทางภาษาฝรั่งเศส, ภาษาเยอรมัน, ภาษาจีน, ภาษาญีปุ่น, ภาษาอารบิก และ ภาษาบาลี
ทั้ง GAT และ PAT เป็นข้อสอบทั้งปรนัยและอัตนัย อย่างละ 300 คะแนนเท่ากัน
ในที่นี้จะพูดถึง PAT 5 ซึ่งเป็นการวัดแววความเป็นครูนะคะ
ข้อสอบ PAT 5 เป็นข้อสอบเฉพาะกลุ่มมากๆ ประกอบด้วย 2 ส่วน
ส่วนแรกคือ ความรู้พื้นฐานที่จะเรียนต่อในคณะครุศาสตร์หรือคณะศึกษาศาสตร์ คือ ความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคม ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
ส่วนที่สองคือ ความถนัดในการเรียนในคณะดังกล่าวให้สำเร็จ หรือการวัดแววความเป็นครูแบบ
นอกจาก O-NET GAT/PAT แล้ว อีกส่วนคือ 9 วิชาสามัญ
9 วิชาสามัญ เป็น การสอบกลางที่ออกโดย สทศ. ไว้ใช้สำหรับยื่นผลคะแนนสมัครในรูปแบบรับตรงเท่านั้น โดยประกอบไปด้วย 9 วิชา ให้เลือกสอบ ดังนี้
1. ภาษาอังกฤษ
2. ภาษาไทย
3. สังคมศึกษา
4. คณิตศาสตร์ 1 (พื้นฐาน และ เพิ่มเติม)
5. ฟิสิกส์
6. เคมี
7. ชีววิทยา
8. คณิตศาสตร์ 2 (พื้นฐาน)
9. วิทยาศาสตร์ทั่วไป
คำถาม : เด็กๆ ต้องสอบทั้ง 9 วิชาเลยไหม? คำตอบคือไม่ใช่
ขึ้นอยู่ว่า เด็กๆ เลือกวิชาเอกอะไร เสร็จแล้วไปดูรายละเอียดที่เว็บไซต์ของคณะที่เลือกว่า ต้องใช้อะไรในการยื่น จึงจะเป็นคำตอบว่าเลือกวิชาสามัญใด
ส่วนการสมัคร จะใช้เว็บเดียวกับ ONET เวลาสมัคร และสอบ ก็เวลาเดียวกัน
การเลือกสายเรียนในสายสามัญ
คำถาม : เด็กๆ ม. 6 ที่เลือกทางครู เขาเรียนสายอะไรกันมา
คำตอบ : อันที่จริง การเตรียมความพร้อมสำหรับเลือกเส้นทางครู คือ การเรียนสายสามัญทางสายศิลป์ แต่ในฐานที่เยเรียนสายวิทย์ ถ้าสายวิทย์จะเปลี่ยนมาสอบครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ก็ได้ไม่มีปัญหา
สำหรับเด็กที่ไม่ได้เรียนสายสามัญ
คำถาม : แล้วคนที่จบ ปวช. กศน. GED หรือเทียบเท่า ม.6 สอบได้ไหม?
คำตอบ : ได้ค่ะ แต่เราก็ต้องเตรียมพร้อมในการอ่านหนังสือให้มากกว่าสายสามัญเท่านั้นเอง วางแผนการอ่านให้ดี มีวิธีอ่านในออนไลน์เยอะแยะ หรือจะติวออนไลน์ฟรีก็มี เสียเงินก็มี อยู่ที่เราเตรียมตัว
ซึ่งเราก็สอบ GET /PAT O-NET เหมือนนักเรียนสายสามัญทุกอย่าง
และจะใช้ทั้ง 3 อย่าง ยื่นเพื่อเข้าครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ใน TCAS รอบที่ 3 ส่วนรอบที่ 4 เป็นรอบสอบตรง เราก็สามารถทำได้
ข้อเสียเปรียบ คือ การสมัคร O-NET GAT/PAT ของเด็กๆ ที่ใช้กรณีวุฒิเทียบเท่า ต้องสมัครเอง ขณะที่เด็กสายสามัญโรงเรียนดำเนินการให้ เพราะฉะนั้น ต้องระวังให้ดี ต้องจำวันสมัครให้ได้ พลาดแล้วต้องรอไปปีหน้าเลย
เพราะการสอบ O-NET GAT/PAT สอบปีละครั้ง และสอบได้ครั้งเดียว
หน่วยงานกลางที่รับสมัคร O-NET GAT/PAT 9 วิชาสามัญ คือ หน่วยงานที่ชื่อ สทศ. เว็บไซต์นี้นะคะ https://www.niets.or.th/th/
ทั้งหมดนี้ ถ้าเด็กๆ คิดว่า ไม่อยากสอบสิ่งเหล่านี้ ก็สามารถเรียนศึกษาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ ซึ่งของมหาวิทยาลัยรามคำแหง เมื่อสมัครแล้วจะมีการทดสอบก่อนเข้าเรียน 1 ชุด
ขอบคุณข้อมูลจากทุกแหล่ง โดยเฉพาะลูกสาว เสาร์-อาทิตย์นี้ ลูกสาวเข้าสอบ GAT/PAT แล้ว ^_^
โฆษณา