30 ม.ค. 2021 เวลา 13:32 • ประวัติศาสตร์
รู้หรือไม่ว่า ราชสำนักกรุงเวียนนาแห่งออสเตรีย มีเครื่องราชอิสริยยศอันเลอค่าของไทยอยู่ด้วยครับ
ว่าด้วยเรื่อง “ตรีศูล” ของทูลพระขวัญรัชกาลที่ 5 ถวายพระจักรพรรดิฟรันทซ์ โยเซฟ แห่งออสเตรีย ที่เก็บไว้ ณ พิพิธภัณฑ์กรุงเวียนนาครับ
ที่มาที่ไปคงต้องเล่าย้อนไปถึงช่วงทศวรรษ 1860 สมเด็จพระจักรพรรดิฟรันซ์ โยเซฟที่ 1 กษัตริย์แห่งออสเตรีย-ฮังการีสนใจจะเจริญความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศในเอเชียตะวันออกซึ่งรวมถึงสยามด้วย ออสเตรียจึงเริ่มทําหนังสือสัญญาทางไมตรีการค้าและการเดินเรือกับประเทศต่าง ๆ ครับ
Franz Joseph ที่ 1 แห่งออสเตรีย (Ölgemälde; Bundesmobilienverwaltung 1910, Public Domain)
ใน ปี 1860 จึงแต่งตั้งให้บารอนแห่งวึลเลร์ส-ทอร์ฟ-อัวร์ไบเออร์เป็นผู้บังคับการเรือรบหลวง โนวารา นําเรือไปติดต่อทางการค้ากับสยาม จีน และญี่ปุ่นครับ
1
คณะผู้แทนทางการทูตในปี 1869 ได้นําของทูลพระขวัญและของกํานัลจํานวนมากมาถวายแด่พระบรมวงศานุวงศ์และมอบให้บรรดาเสนาบดีที่กรุงเทพ ฯ มีพระบรมสาทิสลักษณ์ของสมเด็จพระจักรพรรดิออสเตรีย ปืนยาว เครื่องอานม้าแบบฮังการี ไวน์ เครื่องแก้ว เครื่องกระเบื้อง แผนที่ หนังสือ รวมถึงเครื่องเพชรของจักรวรรดิอันมีค่างดงามที่นํามาจากห้องมหาสมบัติ
เมื่อปี 1871 หนังสือสัญญาทางไมตรีการค้าและการเดินเรือระหว่างออสเตรียกับสยามฉบับแรกได้รับพระราชทานพระบรมราชานุมัติและถูกนํากลับมายังกรุงเทพฯ โดยเรือรบหลวง ฟาซานา ของออสเตรีย ซึ่งรัฐบาลสยามได้รับมอบไว้เมื่อปี 1872
เรือรบหลวง ฟาซานา ของออสเตรียจอดทอดสมออยู่ที่ปากน้ำตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน ถึงวันที่ 9 พฤษภาคม เพื่อรอการแลกเปลี่ยนหนังสือสัญญา
นอกจากนั้น ยังได้นําลังสองใบบรรจุสิ่งของไปแสดงในงาน World Expo ค.ศ. 1873 ด้วยครับ
ซึ่งขอเล่าต่ออีกสักนิดว่ส สมัยนั้นยังไม่เรียก World Expo แต่เรียก World's Fair (Weltausstellung 1873 Wien) ซึ่งจัดที่ลานกว้างอันเป็นสวนสนุก Prater ในปัจจุบันครับ
โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์งาน World's Fair หรือ World EXPO ในสมัยนั้นครับ
ความกว้างใหญ่ของงาน World's Fair ณ กรุงเวียนนา ปี 1873
.
สวน Prater ในปัจจุบัน
สิ่งของที่สยามนําไปร่วมจัดแสดงมีประมาณ 120 ชิ้นโดยเป็นของไทยดั้งเดิม วัตถุจัดแสดงที่สําคัญที่สุดได้แก่ “พระแสงตรีศูล” ซึ่งทํามาจากเงินคร่ำทอง ด้ามทองคําลงยาสีประดับอัญมณีหลายชนิดครับ
1
Royal Thai Embassy Vienna
Royal Thai Embassy Vienna
หลังจากงานมหกรรมสิ้นสุดลง มีพระราชสาส์นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปยังสมเด็จพระจักรพรรดิฟรันซ์โยเซฟ ที่ 1 มีความว่า ...
พระราชสาส์นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปยังสมเด็จพระจักรพรรดิฟรันทซ์โยเซฟ ที่ 1 (ภาพจาก Von der Donau an den Chao Phraya 150 Jahre freundschaftliche Verbindungen zwischen Österreich und Thailand)
“...พระแสงตรีศูล ซึ่งเปนฝีมือช่างอย่างสยามในปตัยุบันนี้ กรุงสยามได้ให้ถ้ายทำเทียบแบบโดยชัดเจนออกจากเครื่องราชอิศริยยศ ซึ่งเปนของโบราณสำหรับพระเจ้าแผ่นดินในทิศตวันออกได้ทรงใช้แลเปนที่นับถือตามขัตติยจารีตมาในอินดิยาณาจักรตั้งแต่ในเวทิกสมัย แลเปนเครื่องราชอิศริยยศ อันเปนที่นับถืออยู่ในหมู่อัษฎาวุธ สำหรับพระเจ้าแผ่นดินสยามในปัตยุบันนี้ ...”
พระราชสาส์นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปยังสมเด็จพระจักรพรรดิฟรันทซ์โยเซฟ ที่ 1 (ภาพจาก Von der Donau an den Chao Phraya 150 Jahre freundschaftliche Verbindungen zwischen Österreich und Thailand)
พระแสงตรีศูล ปัจจุบันเป็นสมบัติของพิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาที่กรุงเวียนนา (Weltmuseum Wien) เพราะหลังจากงาน Weltausstellung 1873 สิ้นสุดลง รัฐบาลสยามประสงค์จะส่งมอบวัตถุจัดแสดงเกือบทั้งหมดให้เก็บรักษาไว้ ณ หอสมบัติสมเด็จพระจักรพรรดิในกรุงเวียนนาครับ
พระแสงนี้จัดแสดงอยู่ใน Weltmuseum Wien ตรงใกล้กับพระราชวังฮอฟบวร์ก จัดแสดงอยู่ช่วงหนึ่งหลังจากเปิดจากการ renovate ปี 2017 ครับ
พิพิธภัณฑ์ชาติพันธุ์วิทยาที่กรุงเวียนนา (Weltmuseum Wien)
อ้างอิง
Von der Donau an den Chao Phraya
150 Jahre freundschaftliche Verbindungen
zwischen Österreich und Thailand.
Irmgard Pangerl
หอจดหมายเหตุแห่งชาติออสเตรีย /
Ministerium für auswärtige Angelegenheiten, Bundesministerium für Europa, Integration und Äußeres, Republik Österreic
โฆษณา