21 ก.พ. 2020 เวลา 10:00 • ธุรกิจ
เรื่องเด่นประเด็นร้อน
“กรณี GM Motor ถอนตัวจากประเทศไทย” ตอนที่ 1
1
ที่มา: ไทยรัฐออนไลน์
GM Motors หรือ General Motors ผู้ผลิตรถยักษ์ใหญ่ของโลกสัญชาติอเมริกัน ที่เข้ามาลงทุนในการสร้างโรงงานประกอบรถยนต์ในประเทศไทย ที่จังหวัดระยอง ด้วยเงินลงทุนหลายหมื่นล้านบาทในปี 2543 หรือ คศ. 2000 รวมแล้วก็ 20 ปี พอดี และบริษัทนี้มีอายุมากว่า 113 ปีเลยทีเดียว โดยจดทะเบียนบริษัทมาตั้งแต่วันที่ 16 กันยายน ปี 1908 ในเมืองฟรินท์ มณรัฐ มิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา (ที่มา: Sanook.com, 102 ปี Gerneral Motor ...สุดยอดค่ายรถยนต์ที่ยังไม่มีใครลบได้)
มียี่ห้อรถที่ผลิตสู่ตลาด คือ Vauxhall, GMDaewoo (70.1%), Chevrolet, Cadillac, GMC, Holden, Buickและ Opel แต่ยี่ห้อที่เราคุ้นเคยกันมากในช่วงนี้คือ “Chevrolet”
ในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 GM Motors ได้สร้างความตกอกตกใจให้กับแวดวงยานยนต์ของไทยและผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อม อย่างตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ ศูนย์บริการ พนักงาน
โดยการประกาศถอนตัวออกจากประเทศไทยแบบที่ไม่มีธุรกิจใดๆที่เกี่ยวข้องหลงเหลืออีก เป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจมากที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์อันดับต้นๆของโลกถอนตัวแบบ 100% จากประเทศไทย และตามข่าวก็มีการขายกิจการไปในหลายประเทศแล้ว ระยะเวลาใกล้กันกับไทยเราคือ ที่ประเทศอินเดีย และแประเทศอินโดนีเซีย
การขายครั้งนี้ได้ขายให้แก่ Great Wall Motor ผู้ผลิตรถPick Up และ SUV รายใหญ่ที่สุดของจีน โดย GM Motor จะออกจากตลาดของไทยทั้งหมด ภายในสิ้นปี 2563
ข้อมูลจาก marketeeronline.co แจ้งผลประกอบการไว้ดังนี้
รายได้บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด
2559 42,718 ล้านบาท กำไร 1,388 ล้านบาท
2560 41,886 ล้านบาท ขาดทุน 10,430 ล้านบาท
2561 40,563 ล้านบาท ขาดทุน 1,132 ล้านบาท
 
รายได้บริษัท เชฟโรเลต เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด
2559 12,775 ล้านบาท ขาดทุน 1,567 ล้านบาท
2560 13,177 ล้านบาท ขาดทุน 1,421 ล้านบาท
2561 15,404 ล้านบาท ขาดทุน 528 ล้านบาท
ทั้งนี้ มาจากการที่เชฟโรเลตในประเทศไทยไม่สามารถสร้างยอดขาย
สาเหตุการขายสามารถติดตามได้ตามแหล่งข่าวทั่วไปได้ แต่ทว่า “ยุคใหม่การตลาดของไทย” จะได้นำเสนอทุกท่านในมุมมองของนักการตลาดคนหนึ่ง และเป็นผู้ที่เคยใช้รถของบริษัทนี้มาก่อน ล่าสุดได้เข้าไปจองรถรุ่น Captiva ที่ประกาศลดราคาแบบต้องรีบคว้าโอกาสนี้ไว้ นั่นคือลดราคาลงมาจากราคาเดิมอีก 500,000 บาท
1
จองทันพอดีแม้ไปช้ากว่าคนอื่น
ตามข่าวที่ออกมาคือบริษัทนี้มีการบริหารงานที่ขาดทุนอยู่หลายปี จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมจึงตัดสินใจขายกิจการแบบเหมาเข่งจนเกลี้ยง ซึ่งบริษัทนี้ในไม่กี่ปีที่ผ่านมามีการเติบโตสูงสุดในช่วงนโยบายรถคันแรกของรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย คือ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร หลังจากนั้นก็ยอดขายตกลงมาตลอด
อาจจะดูว่าไม่แปลกใจที่ยอดขายตกลงมาหลายปี จากที่เราเห็นทั่วไปว่าเศรษฐกิจของไทยเราเริ่มตกต่ำ
แต่ช้าก่อนครับ.......
เศรษฐกิจของไทยเราตกต่ำจริงหรือปล่าว เพราะทำไมหลายค่ายรถเขาขายเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะรายหลักๆอันดับต้นๆ ใช่สาเหตุจริงๆของการขาดทุนหรือปล่าว เรื่องนี้น่าสนใจมากครับ
จากประสบการณ์การทำงานในหลายองค์กร โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่ถึงใหญ่มากของประเทศไทย สิ่งที่พบเรื่องการขาดทุน ปัจจัยภายนอกทีแรกจะดูว่ามีผลเยอะก็จริง เพราะตลาดต้องอาศัยลูกค้าเป็นหลักและภาวะเศรษฐกิจเป็นตัวกำหนด แต่คำถามคือทำไมคู่แข่งมีกำไร และที่สำคัญผู้ที่มาซื้อคือ Great Wall Motor ของจีนเขาจะซื้อไปทำไมหากมองไม่เห็นช่องทางการรายได้จากธุรกิจนี้
ยิ่งผู้ซื้อเขาซื้อแบบเหมาเข่งรวมทั้งหมด คงไม่ใช่ข้อเสนอที่เป็นราคาอย่างเดียวแน่นอน เพราะแม้ราคาถูกแต่ทำกำไรไม่ได้ของถูกก็จะกลายเป็นของแพงขึ้นมาทันที
นั่นแสดงว่าสิ่งที่ทำให้ผลการดำเนินงานของ GM Motors ขาดทุน ไม่ใช่เรื่องปัจจัยภายนอกเป็นหลัก ยิ่งเรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับโรงงานของ GM Motors ในหลายประเทศ ยิ่งเป็นการตอกย้ำว่าปัจจัยภายนอกมีผลน้อยกว่าปัจจัยภายใน
ปัจจัยภายในเป็นเรื่องที่แก้ไขได้แต่เป็นกระบวนการที่ทำได้ยากในองค์กรขนาดใหญ่ โดยเฉพาะฝั่งอเมริกาและยุโรป แต่ละผู้บริหารต่างก็งัดกลยุทธ์การตลาดมากมายออกมาเพื่อสร้างยอดขาย บางครั้งเราอาจจะได้ยินข่าวถึงขั้นปิดเบือนการลงบัญชีด้วยซ้ำ เพื่อทำให้ดูว่ามีกำไร
เรื่องนี้เจอมาด้วยตัวเองด้วย และยังมีเรื่องของการทำงานแบบเล่นแร่แปรธาตุมากมาย อาทิ เอาทุนใหม่ที่ถูกกว่ามาลงบัญชีก่อน เพื่อให้กำไรดูดีในช่วงนั้น สุดท้ายก็ต้องเจอเรื่องจริงอยู่ดีแค่เป็นการแก้ผ้าเอาหน้ารอด หรือไม่ยอมลงค่าใช้จ่ายในช่วงนั้นเอาไปทำเป็นค่าใช้จ่ายแบบอื่นที่ดูว่าจะทำกำไร
วันที่เปิดจองรถที่ลดราคาวันแรก
หลายครั้งที่พบคือการสร้างยอดขายให้เกิดขึ้นด้วยการขายต่ำกว่าทุน แล้วไปหางบประมาณมากลบส่วนที่ขาดทุน เพื่อจะให้ดูว่ามียอดขายที่ดีและมีกำไร
ซึ่งเรื่องแบบนี้ได้พบเห็นมาตลอดและเคยโต้แย้งไปว่าทำไปทำไม สุดท้ายเรื่องจริงก็ต้องแสดงผลออกมาอยู่ดี ไม่เร็วก็ช้า ที่สำคัญมันซับซ้อนเพิ่มงานเพิ่มเอกสารเพิ่มค่าใช้จ่ายแบบไม่จำเป็นด้วย คงจะเดาออกนะครับว่าผลเป็นอย่างไรบ้างกับข้อเสนอนี้ คนทำได้รับการยอมรับเพราะมีผลงานให้เห็น แต่คนเสนอได้เงินเดือนเท่าเดิมและต้องมองหาที่ทำงานใหม่แทน
2
นี่คือวัฒนธรรมองค์ที่เป็นสนิมเนื้อร้ายที่เกาะกินองค์กรใหญ่ๆอยู่ แต่ด้วยตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปไวมาก ข่าวสารปิดบังกันไม่ได้ง่ายๆ การทำงานที่โปร่งใสตรงไปตรงมา รับผิดชอบต่อส่วนรวม คือการทำตลาดที่ยั่งยืน ลองพิจารณาดูนะครับว่าเรื่องนี้จะเกิดขึ้นกับ GM Motors หรือกล่าว เพราะบริษัทที่เป็นแบบข้างต้นล้วนแล้วแต่มาจากภูมิภาคใกล้กันกับ GM Motors ผู้บริการหลักก็มีวิธีคิดที่ใกล้เคียงกัน
ภาพจากข่าว Workpoint
ในตอนต่อไปเรามาลองใช้ดัชนี 4 ประการ ที่เป็นตัววัดการดำเนินธุรกิจได้อย่างชัดเจนมาวิเคราะห์ดูว่า GM Motors ทำไมขาดทุนกันนะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก:
-ข่าว Work Point
-Thai PBS
-Marketeeronline
ข้อมูลมุมมองการตลาดที่ทันสมัยจากประสบการณ์จริง อ่านได้ใน Blockdit ยุคใหม่การตลาดของไทย
สามารถติดตามข้อมูลแนวคิดทางการตลาดยุคใหม่ได้ที่
YouTube Channel: Modernization marketing (ยุคใหม่การตลาดของไทย) ตอนล่าสุด
โฆษณา