21 ก.พ. 2020 เวลา 13:30 • ประวัติศาสตร์
มีคนถามว่า ในประวัติศาสตร์มีโรคอะไรที่แพร่ระบาดแล้วคนตายเป็นเบือ
ขอตอบอันนี้เลย หนึ่งในอันโหดสุด ก็คือ...
หมอยุคกลางและยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา
กาฬโรค หรือ Blackdeath หรือ Pestilence (อาจจะเรียกสั้น ๆ ว่า Pest เฉย ๆ) เป็นหนึ่งในโรคระบาดที่ทำลายล้างแบบฉิบหายวายป่วงที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ประมาณการว่ามีคนตายประมาณ 75 ถึง 200 ล้านคนในแผ่นดินยูเรเชีย จุดตกต่ำสุดอยู่ในยุโรปช่วงปี 1347 -1351
หลุมกาฬโรคยุคกลาง ฝังศพรวมกัน
หลุมรวม แต่ละเมืองจะขุดหลุมแบบนี้ไว้ทั่วรอบเมือง
ปัจจุบันเชื่อว่าเกิดจากแบคทีเรีย Yersinia pestis ซึ่งทำให้เกิดกาฬโรคได้หลายแบบ เช่น เข้ากระแสเลือด ปอดอักเสบ หรือแบบที่พบบ่อยสุดคือ bubonic ที่เป็นเนื้อดำ ๆ จนเป็นที่มาของชื่อโรค
Bubonic Plague
ในยุโรปมีการระบาดของกาฬโรคแบบนี้ถึงสองครั้ง ซึ่ง disrupt ทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่ศาสนา สังคม จนกระทั่งเศรษฐกิจพังพินาศไปหมด เรียกได้ว่าส่งผลกระทบชนิดพลิกหน้าประวัติศาสตร์ของยุโรปและของโลกไปเลย
ประชากรโลกถึงกับร่วงหายไปหนึ่งขยัก เพราะ Black Death ครั้งนี้
คาดการณ์ว่าต้นกำเนิดของกาฬโรคนั้นมาจากที่ราบอันแห้งแล้งแถวเอเชียกลางหรือเอเชียตะวันออก แล้วมายุโรปผ่านทางเส้นทางสายไหม จนมาถึง Crimea ในปี 1343 ซึ่งเป็นไปได้ย่างมากว่าเชื้อถูกแพร่ไปโดยหมัด ซึ่งอยู่บนตัวหนูที่ติดมาตามเรือสินค้า และแพร่กระจายไปทั่วทะเลเมดิเตอเรเนียนไปทั่วยุโรป
แผนที่การกระจายตามช่วงเวลา
การติดต่อจากหมัดบนตัวหนูมาสู่คน
ประมาณการว่า โรคนี้ฆ่าคนไป 30-60% ของยุโรป โดยรวมแล้วเรียกว่า ลดประชากรโลกจาก 475 ล้านคนไปเป็น 350-375 ล้านคนในศตวรรษที่ 14 และใช้เวลาประมาณ 200 ปี กว่าที่โลกจะมีประชากรกลับมาเท่าเก่า หลังจากนั้นก็มีอุบัติการณ์ของโรคเป็นระยะ ๆ ในยุโรปจนกระทั่งศตวรรษที่ 19 (แต่ไม่ถึงขั้น pandemic)
นี่คือฟลอเรนซ์ในช่วงยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยา ความแออัดของเมืองในยุคกลางนั้นแย่กว่าในภาพนี้มาก
สิ่งนี้เหมือนเป็นการ reset ความเน่าหนอน ทางการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม ที่เป็นผลพวงจาก over population จนกลับสู่ default และเป็นรุ่งอรุณในการพายุโรปเข้าสู่ยุคสมัยใหม่ และทวงคืนวิทยาการที่ฝากไว้กับแขกมากว่าพันปี นั่นคือ การเข้าสู่ยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ครับ
คำว่า Quarantine ที่แปลว่า การกักกันโรค ที่เราใช้กันเต็มสนามบิน ท่าเรือ ทุกวันนี้ ก็มาจากคำว่า quaranta giorni ภาษาอีตาลี แปลว่า 40 วัน ในสมัยนั้นมีกฏว่า เรือสินค้าที่จะเข้าเทียบท่าในนครรัฐรากูซ่า หรือ ดูบรอฟนิก ในปัจจุบัน ต้องลอยลำเพื่อรอดูอาการโรคก่อนขึ้นฝั่ง 40 วัน เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่นำกาฬโรคขึ้นฝั่ง
ภาพเมือง RAGUSA ปี 1667 หรือรู้จักในชื่อ Dubrovnik ในปัจจุบัน (เวียนนา, 1910, Verlag von Franz Malota)
เรือที่กำลังถูกกักกันโรค ไม่อนุญาตให้เข้าเทียบท่า (UK National Maritime Museum, ศตวรรษที่ 19)
ยุคสมัยนั้นยังไม่มีใครรู้จักเชื้อโรค การระบาดจึงควบคุมไม่ได้ ต่างจากบริบทในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งที่ท้าทายมากกว่าความรู้ทางแพทยศาสตร์ คือ กระแสโลกาภิวัฒน์ในโลกอันไร้พรมแดนครับ
โฆษณา