บทบาทและวิถีชีวิตชาวจีนในโคราช (นครราชสีมา)
....สวัสดีครับ วันนี้ผมมีบทความมาให้ท่านผู้อ่านได้อ่านพอสนุกๆ ได้ความรู้ ซึ่งอาจจะทำให้ท่านได้เกิดแรงบันดาลใจในการค้นคว้าและพัฒนาต่อยอดในวงวิชาการได้ครับ
....ในช่วงงานตรุษจีนที่ผ่านมานี้ เมืองนคาารชสีมา ได้จัดงานตรุษจีน ถนนคนเดินตรงย่านถนนจอมพล ซึ่งเป็นย่านเศรษฐกิจที่สำคัญของเมืองนครราชสีมา และเป็นย่านที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มากที่สุดครับ เป็นได้จากร้านรวงส่วนใหญ่นั้น ตั้งชื่อเป็นภาษาจีนเสียเป็นส่วนใหญ่ และประกอบกิจการการค้ามาหลายชั่วอายุคน
....ชาวจีนเข้ามาในเมืองนครราชสีมาในช่วงใดนั้นบ้างก็ว่า มาตั้งแต่ในสมัยรัชการที่ 3 บ้าง รัชการที่ 4 บ้าง ก็แล้วแต่จะว่ากันไปครับเสียงลือเสียงเล้าอ้าง แต่ถ้าการตีความของกระผมนั้น
มีความเป็นไปได้ว่าชาวจีนนั้นเข้ามาในสมัยรัชการที่ 3 เพราะช่วงนั้นทางสยามและจีนเป็นเพื่อนคู่ค้าคู่ขายที่สนิทกันมาก เพราะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวของสยามนั้นมีความถนัดอย่างยิ่งในการทำการค้า และดินแดนที่ทำการค้านั้นส่วนใหญ่เป็นประเทศจีนครับดังนั้นจึงไม่แปลกที่ชาวจีนจะเข้ามาในสยามประเทศเป็นอันมาก
....เส้นทางการติดต่อทางการค้านั้นโดยมากเป็นเส้นทางการค้าทางทะเล คือจะว่าเป็นเส้นทางที่ใช้กัน 100% เลยก็ว่าได้ เพราะเส้นทางทางบกนั้นในสมัยรัชการที่ 3 ไม่สู้จะสดวกมากครับ เพราะพม่า และเวียดนาม ยังมีประเด็นที่ไม่ค่อยกินเส้นกับไทยอยู่ อีกทั้งเส้นทางทางบกยังลำบากในการขนส่ง และเสี่ยงต่อการถูกปล้นสดมโดยมาก
....เส้นทางที่ชาวจีนใช้เพื่อมาถึงเมืองนครราชสีมานั้นมีอยู 2 เส้นทางที่หลังจากเข้ามาในสยามประเทศแล้ว คือ
.....1. เส้นทางที่ต้องฝ่ามาทางดงพยาไฟ ปัจจุบันเรียกดงพยาเย็น เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่อันตรายมาก เพราะต้องฝ่าแนวป่าทึบเสี่ยงต่อสัตว์ร้าย และไข้าป่า ตลอดจนเสียงกับการหลงป่า ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่า เป็นเป็นทางที่ส่วนน้อยจะเลือกใช้ (น้อยคนที่จะรอดตาย)
.....2. เส้นทางแม่น้ำโขง แม่น้ำสายนี้มีค้นกำเนิดอยู่ทางภูเขาหิมาลัย ผ่านเข้าประเทศจีน กำพูชา เวียดนาม ออกสู่ทะเล เส้นทางนี้มีความเป็นไปได้มากที่สุดเพราะใหลลงมาทางจีนตอนใต้ผ่านพม่า ลาว เข้าเขตทางภาคอีสาน (จะขึ้นฝั่งทางไหนหรือล่องเรือสวนทางขึ้นแม่น้ำมูลมาก็ยังไม่เจอหลักฐาน) แล้วเดินทางเข้ามาเมืองนครราชสีมา เส้นทางนี้ถึงจะไกลแต่ปลอดภัยมากที่สุดครับ และเป็นไปได้มากที่สุด
....ต่อมาในสมัยรัชการที่ 5 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างทางรถไฟขึ้นพื่อสดวกในการคมนาคม จากหัวลำโพง ไปจนถึงนครราชสีมา (หัวรถไฟตรงโรงเรียนมารีวิทยา) ทำให้ชาวจีนเข้ามาในเมืองนครราชสีมามากขึ้น และมีระบบการส่งสินค้าพัสดุจากต่างถิ่นเข้ามาเมืองนครราชสีมาโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร โดยมีพ่อค้าชาวจีนเป็นหัวเรือสำคัญ
...ชาวจีนที่เข้ามาในเมืองนครราชสีมานั้นยึดอาชีพพานิชย์เป็นหลัก เช่นขายเครื่องถ้วยชาม โรงสี ผ้า ธนาคาร โรงแรม ธนาคาร ร้านอาหาร ร้านขายยา ฯลฯ ซึ่งกิจการที่ดำเนินโดยชาวจีนเหล่านี้ เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจของเมืองนครราชสีมา ทำให้เมืองนครราชสีมาในช่วงเวลานั้นเกือบจะทัดเทียมกับส่วนกลางเลยทีเดียว ความเจริญอย่างรวดเร็วทำให้เกิดธุรกิจการธนาคารขึ้นเพื่อเป็นส่วนกลางและตัวช่วยในการบริหารทางการเงิน มีระบบการฝากการถอน ระบบเงินกู้ ระบบตั๋วเงิน และระบบการบริหารเงินแบบคอมโบ (จากหนังสือ100 ปีเมืองนครราชสีมา) ซึ่งเป็นระบบการบรหารเงินเฉพาะของชาวจีนในนครราชสีมา
...สิ่งหนึ่งที่เข้ามาพร้อมกับชาวจีนคือวัฒนธรรม และประเพณ์ คติความเชื่อ โดนเฉพาะในเรื่องการสืบสายเลือด และการสืยทอดกิจการจะเป็นไปอย่างเคร่งครับ ทำให้กิจการตามแบบบรรพบุรุษยังคงสืบทอดและทำให้เศรษฐกิจของเมืองโคราชยังคงความเสถียรภาพอยู่ได้ยาวนาน ในด้านประเพณีนั้น วันวันสารทวันตรุษ เป็นความเชื่อของชาวจีนที่จะต้องทำพิธีต่างๆ โดยเฉพาะการไหว้เจ้า ไหว้บรรพบุรุษ สิ่งของต่างที่ไหว้เรียบร้อยแล้วนั้นจะได้รับการแจกจ่ายไปยังเพื่อนบ้านต่าง รวมทั้งมูลนิธิการกุศลต่างที่ชาวจีนได้รับอิทธพลจากพระพุทธศาสนานิกายมหายาม เช่น เทศการเทกระจาด ร่วมกตัญญู สิ่งเหล่านี้ทำให้เกืดความรักความสามัคคีของคนในสังคมโดยรวมของเมืองนครราชสีมา
... หลักฐานต่างๆ ที่พอจะหาได้นั้น นอกจากหนังสือหรือเอกสารแล้ว หลักฐานทางวัตถุก็ยังมีหลงเหลือให้เห็นกันอยู่ในปัจจุบันครับ ตามอาคารไม้และตึกปูนต่างๆ ในตัวเมืองโคราช เช่น โรงแรมไม้เมืองทอง หลังประตูชุมพล ร้านขายยาจี้อังตึ๊ง โรงเต้าเจี้ยวเก่า เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นอาคารที่ดำเนินกิจการโดยคนจีนแทบทั้งสิ้น
...ชาวจีนที่เขามาในเมืองนครราชสีมานั้นมีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของจังหวัดนครราชสีมา ปัจจุบันนี้ก็ยังเป็นเช่นนั้นอยู่ แต่ชาวจีนเหล่านั้นได้สืบทอดตระกูลมาจนเป็นคนไทยเชื้อสายจีนในเมืองโคราชครับ ความเจริญมีมากแค่ไหนนั้น ก็เรียกได้ว่าเมืองโคราชเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญ ในโครงการต่างๆ เช่น การท้องเที่ยว การคมนาคมเพื่อรองรับในด้านต่างๆ พานิชย์หลายๆ ด้านที่กำลังวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ โครงการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ เหล่านี้ในปัจจุบัน ล้วนเกิดจากการว่างรากฐานทางเศรษฐกิจของชาวจีนในอดีตของโคราชที่วางแนวทางมาไม่ต่ำกว่าร้อยปีแทบทั้งสิ้น ครับ
.......กระผม พงศธร อิ่มอุดม แอดมินเพจบันทึกภาพความทรงจำผ่านมุมกล้อง ช่างภาพอิสระ นักวิชาการและนักเขียนอิสระ ครับ...
โฆษณา