22 ก.พ. 2020 เวลา 07:30 • ธุรกิจ
21st Century Skills คืออะไร
cr. pinterest
เรากำลังเข้าใกล้ศตวรรษ 21 มากขึ้นทุกที เรื่องหนึ่งที่เราได้ยินกันอยู่บ่อยๆ ในช่วงนี้ก็คือ “ความรู้เรามันเก่าไว” เมื่อสิ่งที่เราเคยเรียนรู้ ตำราหรือหนังสือที่เคยศึกษา มันหมดอายุเร็วขึ้น หากว่าเราตามไม่ทัน ยังคงจะใช้แค่ความรู้เดิมๆ ต่อไป มันอาจไม่เพียงพอแล้วที่จะใช้ในโลกในปัจจุบัน โลกที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากๆ แบบทุกวันนี้ แล้วเราจะทำยังไงดีล่ะ
.
อย่างแรกเลยที่ต้องมีคือ ความคิดหรือความเชื่อที่เรียกว่า “การเรียนรู้ตลอดชีวิต” (Lifelong Learning)
.
ใครที่ต้องมีความเชื่อนี้บ้าง?
ไม่ใช่ใครก็ได้แต่คำตอบที่ถูกต้องคือ “ทุกคน” ต้องมี
2
คนที่มีความเชื่อแบบ Lifelong Learning เป็นยังไง
พวกเขาจะพร้อมเรียนรู้กับสิ่งใหม่ๆ เสมอ พร้อมรับทุกการท้าทาย มองปัญหาว่าเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ เป็นประสบการณ์อย่างหนึ่งในชีวิต เมื่อมีความคิดที่ถูกต้องแล้วก็จะทำให้เรามีแนวทางในการปฏิบัติที่ถูกต้องตามมาเช่นกัน ดังนั้นแนวคิดเรื่อง Lifelong Learning จะเป็นรากฐานที่สำคัญที่ต้องมีก่อน เพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนาทักษะในด้านอื่นต่อไป
1
.
ข้อมูลจาก World Economic Forum (WEF) ที่ได้ทำการสำรวจตลาดแรงงาน ความต้องการขององค์กรใหญ่ๆ จนเกิดเป็นข้อสรุป 16 ทักษะสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 โดยสามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ได้ดังต่อไปนี้
1.กลุ่มทักษะพื้นฐานที่จำเป็น “Foundational Literacies” พูดง่ายๆ ก็คือ ของจำเป็นที่ทุกคนมี แบ่งออกเป็น 6 ทักษะย่อยได้แก่
.
1.1 ความสามารถในการอ่านและเขียน (Literacy)
1.2 ความรู้พื้นฐานที่ดีทางการคำนวณ (Numeracy)
1.3 ความรู้ที่เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์รอบตัว (Scientific Literacy)
1.4 การใช้เทคโลโลยี (ICT Literacy)
1.5 ความรู้พื้นฐานทางด้านการจัดการการเงิน (Financial Literacy)
1.6 การเรียนรู้และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและวัฒนธรรม (Cultural & Civic Literacy)
1
.
2.กลุ่มทักษะและความสามารถเพื่อใช้ในการแก้ปัญหา “Competencies” เมื่อปัญหาที่เจอมันยากและโหดขึ้นทุกวัน จะแก้ไขด้วยวิธีเดิมๆ ต่อไปอีก คงไม่ได้แล้ว เราจึงต้องอาศัยทักษะในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น อันได้แก่ 4 ทักษะย่อยต่อไปนี้
.
2.1การคิดเชิงเหตุผล (Critical Thinking) หรือก็คือกระบวนการคิดที่ใช้ข้อมูลหรือเหตุผลประกอบเป็นหลัก ไม่เอาทิฐิหรืออารมณ์มาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจ
2.2 การคิดเชิงสร้างสรรค์ (Creativity) ออกจากกรอบหรือความเชื่อเดิมๆ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์และตรงจุดมากขึ้น
2.3 ทักษะได้การสื่อสาร (Communication) ถ่ายทอดได้ดี อธิบายให้เป็น
2.4 การร่วมมือกับผู้อื่น (Collaboration) สามารถทำงานเป็นทีม เพื่อให้แก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วมากขึ้น
***กลุ่มทักษะนี้มักถูกเรียกย่อว่า “4’C” เป็นทักษะสำคัญของมนุษย์ที่คอมพิวเตอร์ยังไม่สามารถแทนที่ได้ในเร็วนี้ๆ
1
.
3.กลุ่มทักษะเพื่อใช้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่รวดเร็ว (Character Qualities)
3.1มีความสงสัย ใฝ่หาความรู้ (Curiosity)
3.2การริเริ่มอย่างสร้างสรรค์ (Initiative)
3.3 อดทนและเพียรพยายามอย่างไม่ย่อท้อ (Persistence/Grit)
3.4 สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมหรือสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป (Adaptability)
3.5 ความเป็นผู้นำ (Leadership)
3.6 การตระหนักถึงสังคมและวัฒนธรรม (Social & Cultural Awareness)
Image: World Economic Forum, New Vision for Education (2015)
ทั้ง 16 ข้อล้วนเป็นทักษะที่สำคัญ ข้อดีก็คือเราทุกคนสามารถสร้างทั้ง 16 ทักษะนี้ได้ ไม่ใช่ใคร แต่เป็นตัวเราเองที่ต้องติดอาวุธ เพื่อให้พร้อมรับมือกับทุกการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น อย่ารอให้ถึงวันที่สายเกินไป
โฆษณา