22 ก.พ. 2020 เวลา 13:07 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
BCAA คือ อะไร ?
.
หลายคนคงสงสัย หรือ เคยได้ยินจากที่ไหนมาแน่ๆ
ผมค่อนข้างสนใจ เกี่ยวกับ อาหารเสริม หรือ สารสกัด ที่ช่วย หรือ ส่งเสริม การออกกำลังกายครับ . . . หนึ่งในนั้น คือ BCAA .
.
วันนี้ ผมจะมาเล่าให้ฟังง่ายๆ ด้วย งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง BCAA จาก น้องนักศึกษาเภสัชศาสตร์ธนากร เกษศิลป์ ชั้นปีที่ 6 มหาวิทยาลัยบูรพา ได้นำงานวิจัยนี้มาวิจารณ์ร่วมกับผม
.
คือ งี้ . . . . . . BCAA นี่ เป็น คำย่อนะครับ
ซึ่งมันย่อมาจาก คำว่า (B)ranched (C)hain (A)mino (A)cid
มันคือ กรดอะมิโน ที่มีโครงสร้างโมเลกุล มีกิ่งก้านสายยาวๆ ประกอบด้วยกรอดอะมิโนจำเป็น 3 ชนิด คือ Leucine, Isoleucine และ Valine มีมากในอาหารพวก เนื้อ นม ไข่ ถั่ว
*อธิบายเพิ่ม : กรดอะมิโน คือ หน่วยที่เล็ก และ ยิบย่อยที่สุด ของ โปรตีนซึ่งมีอยู่แล้วในร่างกายเรา
.
จริงๆแล้ว BCAA จัดเป็น ESSENTIAL AMINO ACIDS
คือ ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นมาเองได้ ต้องได้รับจากภายนอกเท่านั้น จากการกิน
.
จากข้อมูลที่ถูกตรวจสอบ และ ยืนยันแล้วว่า
BCAA มีคุณประโยชน์ ดังนี้
1. ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีนภายในร่างกาย
2. ช่วยในการเสริมสร้างและคงสภาพกล้ามเนื้อ
3. ช่วยลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อจากการออกกำลังกาย
4. ช่วยให้กล้ามเนื้อฟื้นตัวจากความอ่อนล้า หลังออกกำลังกายได้
.
มาๆ เข้างานวิจัยกัน > > > >
.
งานวิจัยชื่อว่า Effect of BCAA supplementation on central fatigue, energy metabolism
substrate and muscle damage to the exercise: a systematic review with metaanalysis.
.
ตีพิมพ์ในวารสาร Sport Science for Health ฉบับเดือนมีนาคม ปี 2019.
Link นี้ครับ =>https://doi.org/10.1007/s11332-019-00542-4
.
ทำการศึกษาผลของการได้รับ BCAA เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ในการลดความรู้สึกอ่อนล้า ลดบาดเจ็บของกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกาย โดยการรวบรวมและวิเคราะห์แบบ Meta-analysis จากงานวิจัยแบบ Randomized Control Trial ก่อนหน้า.
.
งานวิจัยฉบับนี้ ค้นหางานวิจัยทั้งหมดจนถึง เดือนสิงหาคม ค.ศ.2016. . . คัดเลือกเฉพาะที่ตีพิมพ์ภาษาอังกฤษเท่านั้น
.
งานวิจัยแบบ meta-analysis คือการรวบรวมงานวิจัยที่ focus on ในเรื่องเรื่องเดียว อาจจะมีความแตกต่างกันนิดหน่อย ในระดับที่ยอมรับได้
จากงานวิจัยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 31 งานวิจัย
+ มีงานวิจัยที่ทำเฉพาะในเพศชาย 26 งานวิจัย
+ มีงานวิจัยที่ทำเฉพาะในเพศหญิง 2 งานวิจัย
+ มีงานวิจัยที่ทำเฉพาะในทั้งสองเพศ 3 งานวิจัย
.
*
* *
* * *
* * * *
* * * * *
* * * * * *
* * * * * * *
* * * * * * * *
* * * * * * * * *
* * * * * * * * * *
* * * * * * * * * * *
* * * * * * * * * * * *
* * * * * * * * * * * * *
* * * * * * * * * * * * * *
ผลการศึกษา
* * * * * * * * * * * * * * * *
( + ) ผลต่อการลดความเหนื่อยล้า
มีตัวชี้วัด ดังนี้ ปริมาณ Lactate
พบว่า ---> ลดปริมาณ Lactate ลงได้
อธิบาย ::: BCAA สามารถลดความรู้สึกอ่อนล้า แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างทั้งสองกลุ่ม
แต่สามารถลดปริมาณ Lactate ซึ่งบ่งชี้ถึงความอ่อนล้าของกล้ามเนื้อได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
BCAA มีผลเพิ่มปริมาณ Amonia ซึ่งเกิดจากการสลาย BCAA ที่ได้รับเข้าไปในร่างกาย
.
( + ) ผลต่อการเผาผลาญ
มีตัวชี้วัด ดังนี้ Glucose และ FFA
พบว่า ---> ลดปริมาณของ Glucose และ FFA (Free Fatty Acid)
::: BCAA สามารถลดปริมาณของ Glucose และ FFA (Free Fatty Acid) ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
FFA จะมีผลทำให้เกิดการหลั่ง Serotonin ใน สมองเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้มีอาการอ่อนล้ามากขึ้น
.
( + ) ผลต่อการลดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
มีตัวชี้วัด ดังนี้ LDH (Lactate Dehydrogenase) และ CK (Creatinine Kinase)
พบว่า ---> ลดปริมาณของ LDH และ CK ลงได้
::: BCAA สามารถลดปริมาณของ LDH (Lactate Dehydrogenase) และ CK (Creatinine Kinase) ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
LDH และ CK เป็นสารที่สามารถชี้วัดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้
*
* *
* * *
* * * *
* * * * *
* * * * * *
* * * * * * *
* * * * * * * *
* * * * * * * * *
* * * * * * * * * *
* * * * * * * * * * *
* * * * * * * * * * * *
* * * * * * * * * * * * *
* * * * * * * * * * * * * *
สรุปผลงานวิจัย
* * * * * * * * * * * * * * * *
" การได้รับ BCAA ไม่มีผลต่อการลดความรู้สึก อ่อนล้าหลังออกกำลังกาย แต่มีแนวโน้มในการลดสารที่ใช้เป็นตัวชี้วัดอาการเหนื่อยล้า และการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้ "
*
* *
* * *
* * * *
* * * * *
* * * * * *
* * * * * * *
* * * * * * * *
* * * * * * * * *
* * * * * * * * * *
* * * * * * * * * * *
* * * * * * * * * * * *
* * * * * * * * * * * * *
* * * * * * * * * * * * * *
การนำผลวิจัยมาประยุกต์ใช้
* * * * * * * * * * * * * * * *
การได้รับ BCAA supplement ไม่มีผลต่อการลดความรู้สึกอ่อนล้าหลังออกกำลังกาย
.
( ( ( ( ( แต่ ! ) ) ) ) )
.
แต่มีแนวโน้มในการลดสารที่ใช้เป็นตัวชี้วัดอาการเหนื่อยล้า และการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อได้
อย่างไรก็ดีนะครับ อย่าลืมนะครับ ว่านี้เป็นแค่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น อย่างที่ผมเน้ย้ำเสมอว่า ชีวิตมนุษย์เรามีความหลากหลาย และ ซับซ้อน การที่จะรีบไปหา BCAA มากิน นั้น ผมมองว่า ทำได้ แต่ ต้องระมัดระวัง กินตามที่เภสัชกร หรือ เทรนเนอร์ แนะนำ จะดีกว่าครับ อย่า สุดโต่งนะครับ . . . .พอเห็นว่ามันดี ก็ ตะบี้ตะบันกิน อาจจะส่งผลเสียในระยะยาวได้นะครับ . . . . ด้วยความปรารถนาดีจาก หมอยาแมวดำคร้าป ป ป ป
(วันนี้ ผมไม่ได้หยุด นั่งอ่านวิจัยวนไปครับ ตาลายหมดแหละ .... อยากหยุดไปออกกำลังกายจะแย่ >__<")
.
#BCAAคืออะไร
#BranchedChainAminoAcid
#เสริมมวลกล้ามเนื้อ
#เพิ่มกล้าม
#ออกกำลังกาย
โฆษณา