Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
technology News
•
ติดตาม
24 ก.พ. 2020 เวลา 01:30 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
เนเธอแลนด์ใช้ “หุ่นยนต์” ช่วยผ่าตัดมะเร็งเต้านมได้สำเร็จเป็นแห่งแรกของโลก
สถาบันการแพทย์แห่งมหาวิทยาลัย Maastricht University ประเทศเนเธอแลนด์ นำหุ่นยนต์เข้ามาช่วยในการผ่าตัดผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจำนวน 8 ราย เพื่อลดผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้สำเร็จเป็นครั้งแรกของโลก
Breast cancer-related lymphedema คือภาวะบวมจากท่อน้ำเหลืองอุดตันที่พบหลังจากการผ่าตัดมะเร็งเต้านม ซึ่งมีอุบัติการณ์ในผู้ป่วยถึง 1 ใน 3 ที่เข้ารับการผ่าตัดมะเร็งเต้านมในระยะเวลา 2 ปี โดยปัญหานี้ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการที่แพทย์ได้ตัดต่อมน้ำเหลือออกจากบริเวณรักแร้ในบางจุด รวมถึงการเกิดแผลเป็นและพังผืดหลังผ่าตัด ทำให้กดทับท่อน้ำเหลืองจนไม่สามารถระบายออกได้แล้วท้นกลับไปตามเนื้อเยื่อของร่างกายนั่นเอง
วิธีแก้ไขภาวะบวมจากท่อน้ำเหลืองอุดตันนั้น คือการต่อท่อน้ำเหลืองเข้ากับระบบหลอดเลือดดำ (เพราะตามกลไกของร่างกายน้ำเหลืองจะเทเข้าสู่ระบบหลอดเลือดดำอยู่แล้ว) แต่ประเด็นอยู่ที่ท่อน้ำเหลืองบริเวณรักแร้มันมีขนาดเล็กมาก บางมีความกว้างเพียง 0.3 มิลลิเมตร ดังนั้น จึงเป็นไปได้ยากในการแยกสายท่อน้ำเหลืองมาต่อเข้ากับหลอดเลือดดำ ยิ่งไปกว่านั้นคือ แพทย์มือสั่น !!
ขนาดของท่อน้ำเหลือง
ใช่แล้วครับ มันเป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่คุณจะมีอาการมือสั่นเวลาหยิบจับของชิ้นเล็ก ๆ ด้วยความระมัดระวัง แพทย์ก็เหมือนคนทั่วไปที่สามารถเกิดอาการมือสั่นได้ แล้วมันอาจทำให้ท่อน้ำเหลืองเกิดความเสียหายได้ตั้งแต่การหยิบจับไปจนถึงขั้นตอนการเย็บต่อกับหลอดเลือดดำ
แต่เมื่อเทียบกับแขนกลของหุ่นยนต์แล้วมันมีความสั่นน้อยกว่ามาก เป็นต้นว่าหากแพทย์ควบคุมแขนกลด้วยจอยสติ๊กให้คีบท่อน้ำเหลืองเส้นหนึ่ง จะเกิดความคาดเคลื่อนหรืออาการแกว่งไปมาจากจุดเดิมเพียง 0.1 มิลลิเมตรเท่านั้น นอกจากนี้ แพทย์รายงานว่าช่วงแรกใช้เวลานานกว่า 25 นาทีเพื่อให้การเย็บต่อท่อน้ำเหลืองสำเร็จ ซึ่งคาดว่าเป็นการเรียนรู้การทำงานของหุ่นยนต์ก่อน พอเริ่มชินแล้วในการผ่าตัดผู้ป่วยรายถัดมา แพทย์ใช้ระยะเวลาลดลงเหลือเพียง 16 นาทีครับ
robot ทีมแพทย์กำลังมองแผลผ่าตัดผ่านกล้องจุลทรรศน์ของหุ่นยนต์ เพื่อควบคุมให้หุ่นยนต์หยิบจับท่อน้ำเหลืองได้อย่างแม่นยำ
สรุป – Van Mulken หนึ่งในศัลยแพทย์ที่ใช้หุ่นยนต์ร่วมในการผ่าตัดผู้ป่วยมะเร็งเต้านมกล่าวว่า การใช้หุ่นยนต์ช่วยลดความผิดพลาดและผลแทรกซ้อนในการระหว่างการผ่าตัดได้ค่อนข้างดีทีเดียว แต่ในขณะนี้กลุ่มตัวอย่างยังมีน้อย (ผู้ป่วยที่เข้าร่วมในงานวิจัยมีเพียง 8 ราย) จึงต้องรอการนำไปใช้ในกลุ่มตัวอย่างที่ใหญ่ขึ้น เพื่อขยายความน่าเชื่อถือ และใช้ในการติดตามผลหลังการผ่าตัดให้ละเอียดมากขึ้นด้วยครับ
Fact – เนื่องจากท่อน้ำเหลืองรอบเต้านมจะเทเข้าต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ดังนั้น ในบางหัตถการผ่าตัดรักษามะเร็งเต้านม อาจต้องตัดต่อมน้ำเหลือที่รักแร้ออกด้วย เพื่อลดความเสี่ยงในการกระจายของมะเร็งเต้านมไปยังอวัยวะอื่นผ่านทางระบบน้ำเหลือง
บันทึก
3
3
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2025 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย