Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
เบื่อเมือง
•
ติดตาม
22 ก.พ. 2020 เวลา 16:28 • ข่าว
ช่วยแอดแชร์ จะได้ตาสว่างกัน
ขอบคุณเจ้าหน้าที่ 30,000 ราย หรือมากกว่านั้นอีก ..
..ทั้ง 76 จังหวัด ที่ทำให้เคสไม่มากขึ้น…
เนื่องจาก..
ประชาชนทั่วไปสงสัยในตัวเลขคนไข้
ทำไมไทยถึงน้อย (นี่..งงใจ ไม่ดี??)
มันจริงไหม??
โกหก??
ปิดบังไหม??
ทำไมเจอน้อย??
ทำไมประเทศอื่นเจอเยอะ??
ระบบทำอย่างไร??ห่วย?
ไม่เห็นทำอะไร??
ตายไปหลายเคส??ปิดทำไม
เดินผ่านสนามบิน ไม่เห็นตรวจ???
หยุดดดด อย่ามโน อย่าดูถูกประเทศตัวเอง ดึงสติ
มาดูข้อเท็จจริง...
กระบวนการทำงาน
1)ไทยเราเป็นชาติแรกในโลก ที่ตื่นตัว หลังจากจีนประกาศ เราเริ่มก่อนประเทศอื่น คือวันที่ 3 มกราคม จนปัจจุบันยังไม่ได้หยุด
2)เป็นชาติแรกที่รายงานเคส รีบประชุม รีบคัดกรอง ซ้อมแผน
เตรียมอุปกรณ์
อย่างเข้ม
งานที่หน้าด่าน อาจารย์แพทย์ พยาบาลหมุนเวียน ทำงานเต็มที่ อดหลับอดนอน ป้ายคอ ส่งแลป
ประชุมระดับประเทศ ตั้งวอลรูม วีดีโอคอล ทั่วประเทศหลายรอบ
ฝึกแต่งชุดหมี
ฝึกป้ายคอ
ตั้งกลุ่มไลน์ติดตาม 24 ชม.
ไลน์ active ตลอด
3)การคัดกรองทำ 2 ที่ใหญ่ๆ
3.1 สนามบิน ทุกแห่ง มีเครื่องตรวจอุณหภูมิอัตโนมัติ ราคาเป็นล้าน thermascan มีเจ้าหน้าที่เฝ้า ผลัดเวร เปลี่ยนกันตลอด
ถ้าไข้มีไข้ + อาการทางระบบหายใจ ได้แก่ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย
จะถูกกักกันทันที ใน รพ.
ใน กทม. คือ สถาบันบำราศนราดูรและ รพ ต่างๆ
ในห้องแยกโรคชนิดแรงดันลบ
ARII
(ราคาแพงเป็นหลายล้าน ไม่ได้มีทุก รพ.)
พร้อมกันนี้ จะได้รับการป้ายคอเพื่อหาเชื้อ รวดเร็ว ออกผลเร็ว..
จากการคัดกรองตั้งแต่ 3 มค ทำมาเกือบจะ 2 เดือน มีคนเข้าเกณฑ์ 60 คน
ที่สนามบิน
ให้ผลบวก COVID-19 จำนวน 5 ราย
อีก 55 คน พบจากสาเหตุอื่นเช่นไข้หวัดใหญ่ เชื้อหวัด
3.2 สำหรับคนที่ผ่านเข้ามาได้จากเครื่อง thermoscan อาจจะยังไม่มีอาการ
เมื่อกลับบ้านไป แล้วเกิดมีไข้ + อาการทางเดินหายใจ ไอ น้ำมูก เจ็บคอ หอบเหนื่อย เดินเข้ารับการรักษา ใน รพ. รัฐ และ เอกชน
รวมทั้งตรวจผู้สัมผัส ถูกเรียกมาตรวจเพิ่ม รวม
จำนวน 1,192 คน พบผู้ป่วย COVID จำนวน 30 ราย
รวมทั้ง 2 แห่ง 35 ราย...
ซึ่งทั้งหมดรวมเกือบ 1,192 คน
ต้องถูกกักตัว ป้ายคอ ตรวจหาเชื้อไม่ใช่ COVID19 แต่เป็นเชื้ออื่นๆ
พบว่า 1006 คน
กลับบ้าน
246 คน
รวม 1192 ซึ่งไม่ใช่ COVID19.
คนไข้ COVID 19 จำนวน 35 คน
กลับบ้านแล้ว 20 ราย
ยังรักษาใน รพ.15 ราย
อาการหนัก 2 ราย
จากข้อมูลเจ้าหน้าที่ที่ดูแล ปริมาณมาก
ทั้งหน้าด่านคัดกรอง
ทั้ง รพ. เกือบ 200 -300 แห่งทั่วประเทศ
ที่ต้องดูแลคนไข้รวม เกือบ 1300 คน
นี่ไม่นับ บางเคสมา
..แล้วไม่เข้าเกณฑ์อีกเพียบเกิน 1300 แน่นอน
เช่น เลยระยะฟักตัว 14 วัน
หรือ เป็นโรคอื่นๆ เช่นหวัด ไข้หวัดใหญ่
มาดู Fact
คนไข้...
1300 คน!!
ต้องใช้บุคลากรเท่าไร??
ผ่านมือหมอ 1300 ครั้ง
น้องๆหมอเวรที่รับเคส 1300ครั้ง
เวรห้องบัตร 1300 ครั้ง.
พยาบาล 1300 ครั้ง ถ้า 1 คนใช้พยาบาล 2 คน=2600
ถ้านอน รพ.อย่างน้อย 5 วัน
1300x5 =6500 ครั้ง
พยาบาล IC 1300 ครั้ง
เจ้าหน้าที่แลป 1300 ครั้งที่ต้องตรวจ
เจ้าหน้าที่ระบาด 1300 ครั้งที่ต้องสอบสวน
เภสัช 1300 ครั้งที่ต้องจ่ายยา
ผู้ช่วยเภสัชช่วยจ่ายยา 1300 ครั้ง.
ผู้ช่วย พยาบาล 1300 คน
แม่บ้านทำความสะอาด 1300 คน
เวรเปล 1300 คน
โรงซักฟอกอีก 1300 คน
ต้องใช้เจ้าหน้าที่รวม
เกือบ 30,000 ราย......
ทั้ง 76 จังหวัด
ถือว่า ทำงานเสี่ยงโดยตรงกับเชื้อ
นี่ไม่นับรวม ...
อุปกรณ์ที่ใช้ไป
ชุดหมี หน้ากากอนามัน น้ำยาล้างมือ
และ เจ้าหน้าที่เวรเปล อื่นๆอีก
ใครว่า ไทยปิดบังข้อมูล
ใครดูถูกประเทศตัวเอง
ใครไม่รู้อย่าเพิ่งมโน
เอาเวลาดูแลตัวเอง
กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ สวมหน้ากาก
โชคดีแค่ไหนที่เกิดประเทศไทย
ระบบสาธารณสุขที่ดีอันดับ 1 เอเซีย
อันดับ 6 ของโลก ไม่ได้มาเพราะโชคช่วยหรือจับฉลาก
เราจัดการอย่างเข้มข้นจริงจัง
เพราะมดงาน ผู้ปิดทองหลังพระ
เสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อมากกว่าคนทั่วไป อดหลับ อดนอน
เราควรให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ + ดูแลตัวเอง
อย่าให้เป็นภาระเพิ่มอีกเลย
งดไปเที่ยวประเทศกลุ่มเสี่ยงถ้าไม่จำเป็น
ถ้าป่วยรีบมาพบแพทย์กรณีเป็นกลุ่มไปเที่ยวมา
จากประเทศกลุ่มเสี่ยง
🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻🙏🏻
ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ทั้ง 30,000 ครั้ง
ที่ร่วมดูแลคนไข้
ขอบคุณ กายและใจพวกคุณจริงๆ
สงสัยไร เข้าไปอ่านในนี้
กรมควมคุมโรค
https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/intro.php
ปล...ใครมีภาพ การทำงาน เวร ส่งมาได้ในเม้นท์
facebook.com
Infectious ง่ายนิดเดียว
ช่วยแอดแชร์ จะได้ตาสว่างกัน ขอบคุณเจ้าหน้าที่ 25,000ราย หรือมากกว่านั้นอีก .. ..ทั้ง 76 จังหวัด ที่ทำให้เคสไม่มากขึ้น… เนื่องจาก.. ประชาชนทั่วไปสงสัยในตัวเลขคนไข้ ทำไมไทยถึงน้อย (นี่..งงใจ ไม่ดี??)...
ที่มา
https://www.facebook.com/133050930458942/posts/897194937377867/
บันทึก
3
1
3
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย