25 ก.พ. 2020 เวลา 12:30 • การศึกษา
“คดีลักทรัพย์ ถ้าคนไปแจ้งความไม่ใช่ผู้เสียหาย ตำรวจจะทำการสอบสวนได้หรือไม่?”
เมื่อมีการกระทำความผิดเกิดขึ้นเป็นคดีอาญา กฎหมายก็ได้กำหนดให้บุคคลซึ่งเป็นผู้เสียหาย หรือคนที่มีอำนาจจัดการแทนตามกฎหมาย เป็นผู้ที่มีอำนาจแจ้งความร้องทุกข์ในเรื่องนั้น ๆ
ถ้าการแจ้งความร้องทุกข์ ไม่ได้ดำเนินการโดยผู้เสียหาย หรือผู้ที่มีอำนาจจัดการแทนแล้ว จะมีผลทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่มีอำนาจสอบสวน และพนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง
1
ซึ่งส่งผลเสียหายถึงขนาดที่ศาลต้องพิพากษายกฟ้องจำเลยได้
(อ้างอิงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 และ 121)
ที่กล่าวมาข้างต้นนั้น เป็นวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับคดีความผิดต่อส่วนตัว (หรือเรียกอีกอย่างว่า ความผิดซึ่งยอมความได้) เช่น ความผิดฐานยักยอกทรัพย์ , ฉ้อโกง หรือ ทำให้เสียทรัพย์
สำหรับความผิดซึ่งเป็นคดีอาญาแผ่นดิน (หรือเรียกอีกอย่างว่า ความผิดซึ่งยอมความไม่ได้) นั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดให้อำนาจสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรืออำนาจฟ้องของพนักงานอัยการ ขึ้นอยู่กับการร้องทุกข์ของผู้เสียหายเพียงอย่างเดียว
ยกตัวอย่างจากคดีลักทรัพย์เรื่องนี้...
1
ในคืนวันหนึ่ง คนร้ายได้เข้าไปขโมยของที่บ้านของนาย ก ในขณะที่นาย ก และครอบครัวไปท่องเที่ยวต่างประเทศ คงเหลือเพียงนาง ข ซึ่งเป็นคนงานที่อาศัยอยู่ในบ้านของนาย ก. เท่านั้น
1
ด้วยความที่นาง ข เป็นคนต่างด้าว และพูดภาษาไทยไม่ชัดเจน จึงไหว้วานให้นาย ค. ซึ่งเป็นเพื่อนบ้านของนาย ก. ช่วยดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ให้
นาย ค. จึงได้ทำหนังสือมอบอำนาจเพื่อดำเนินการแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยให้นาง ข. เป็นผู้ลงนามในช่องผู้มอบอำนาจ และตนเป็นผู้รับมอบอำนาจ
หลังจากนาย ค. ได้แจ้งความร้องทุกข์แล้ว เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงเริ่มการสอบสวนและจับกุมคนร้ายได้ และได้สรุปสำนวนเสนอพนักงานอัยการเพื่อฟ้องต่อศาล
ซึ่งพนักงานอัยการได้ฟ้องจำเลยในข้อหาลักทรัพย์ในเคหสถาน และในเวลากลางคืน
โดยทนายจำเลยได้ให้การต่อสู้ว่า ผู้ที่มอบอำนาจให้แจ้งความไม่ใช่ผู้เสียหาย แต่เป็นเพียงคนงานที่อาศัยอยู่ในบ้านผู้เสียหายเท่านั้น ตำรวจจึงไม่อำนาจสอบสวน พนักงานอัยการไม่มีอำนาจฟ้อง ขอให้ยกฟ้อง...
ซึ่งจากตัวอย่างนี้ หากเป็นคดีความผิดต่อส่วนตัวผลก็คงออกมาอย่างที่ทนายจำเลยได้ต่อสู้ไว้ คือ ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้อง
แต่สำหรับคดีอาญาแผ่นดินนั้น แม้ผู้ที่มาแจ้งความจะไม่ได้เป็นผู้เสียหาย หรือแม้แต่จะไม่มีผู้ใดมาแจ้งความไว้เลยก็ตาม
กฎหมายก็ไม่ได้ถือเอาเรื่องดังกล่าวเป็นสาระสำคัญของอำนาจสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ
1
และเมื่อการสอบสวนชอบด้วยกฎหมายแล้ว พนักงานอัยการจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งเป็นคดีอาญาแผ่นดินได้ครับ
1
(เทียบเคียงกับคำพิพากษาฎีกาที่ 1364/2558 และ 2183/2558)
ขอบคุณภาพจาก pixabay
ถ้าได้ประโยชน์จากบทความนี้ ช่วยกด Like, Share ด้วยนะครับ 😻

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา