อยู่ออฟฟิศแล้ว "คิดงานไม่ออก" พอไปร้านกาแฟ ทำงานไหลลื่นกว่า
.
- เข้างาน 9 โมงเช้า เลิก 6 โมงเย็น คุณคิดว่าอยู่ออฟฟิศทั้งวันแบบนี้ได้งานจริงๆเยอะรึเปล่า ถ้าไม่ได้ดูเวลาเข้าออกงาน แต่ดูเวลาที่ทำงานจริงๆ จาก 8 ชั่วโมงนั้น พนักงานไม่ได้ทำงานเต็มตลอดเวลา
.
- 8 ชั่วโมงจะถูกแบ่งออกเป็นช่วงเล็กช่วงน้อย เช่นถูกดึงออกจากงานไปทำอะไรอย่างอื่น 10 นาที เสร็จแล้วก็ไปทำงานต่ออีก 15 นาที แล้วก็มีคนดึงตัวไปถามคำถาม แล้วต่อด้วยพักเที่ยง พักเสร็จก็มีอย่างอื่นที่ต้องทำ เผลอแป๊ปเดียวก็ 6 โมงเย็น
.
- เมื่อคุณทบทวนการใช้เวลาวันนี้ ก็เพิ่งมารู้ตัวว่ายังทำอะไรไม่เสร็จสักอย่าง พวกเราทุกคนมีประสบการณ์แบบนี้กันทั้งนั้น ทีนี้ปัญหาก็ตามมาเพราะทำงานที่ออฟฟิศไม่เสร็จ
.
- เพราะเวลาแค่นั้นไม่พอให้คิดจริงจังเกี่ยวกับปัญหาด้วยซ้ำ
.
โดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานใช้ความคิด เช่น นักออกแบบ นักเขียนโปรแกรม นักเขียน วิศวกร นักการตลาด เพราะงานที่ต้องใช้ความคิดมักต้องใช้ใช้ช่วงเวลายาวๆ และต่อเนื่องแบบไม่มีอะไรมาทำให้เสียสมาธิ
.
- แต่ในมุมของหัวหน้าก็กังวลเรื่องเหล่านี้อยู่เหมือนกัน
.
เพราะถ้าปล่อยให้พนักงานทำงานที่บ้านก็จะตามงานยากขึ้น หรือบางทีก็หายไปเลย ซึ่งถ้าคิดอย่างนี้มันก็ถูกเพราะอย่างลืมว่าถึงแม้จะไม่ถูกขัดจังหวะจากเพื่อนร่วมงาน ก็มีทีวี ตู้เย็น โซฟานุ่มๆ หรือแม้แต่งานบ้านที่คอยเรียกความสนใจอยู่ดี
.
- เจสัน ฟรายด์ เลยมีข้อเสนอบางประการที่จะแก้ไขสถานการณ์นี้
.
1.ให้อิสระในการเลือกสถานที่ทำงาน
.
เวลาที่พนักงานอยากทำให้เสร็จก็ให้เข้าไปที่ออฟฟิศเพราะมีอุปกรณ์ครบครัน แต่เวลาที่ต้องการใช้สมาธิคิดงานก็ปล่อยให้เค้าเลือกสถานที่ทำงานได้ เจสันบอกเพิ่มอีกว่าอาจจะต้องหาช่วงบ่ายสักวันนึงสัก 4 ชั่วโมง เช่น บ่ายวันพฤหัสแรกของเดือนทุกคนในที่ทำงาน "ต้องไม่คุยกัน!" มีแต่ความเงียบเท่านั้น แล้วจะพบว่าพนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล
.
แต่ส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าวัฒนธรรมของการทำงานบ้านเราอาจเป็นเรื่องยาก ยิ่งถ้าพนักงานได้สนิทกันแล้วเค้าจะสื่อสารกันด้วยวิธีปกติเพราะไม่ชิน
.
แต่ถ้าพนักงานคนไหนที่ต้องการแยกตัว
.
ก็แค่แจ้งกับหัวหน้าแล้วออกไปทำงานข้างนอกได้ตามที่ต้องการเพื่อได้อยู่กับตัวเองอย่างเต็มที่ แต่ต้องแลกกับการรายงานความคืบหน้าของงานให้เห็นเป็นประจักษ์
.
- ข้อเสนอที่ 2 เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสาร
.
จากการสื่อสารเชิงรุกที่นัดประชุมกันเจอกันต่อหน้า ลองเปลี่ยนมาเป็นการส่งอีเมล แชท หรือประชุมแบบออนไลน์ก็ดีไปอีกแบบ เพราะการสื่อสารเชิงตั้งรับที่เป็นอีเมลหรือแชท เราเลือกเองได้ว่าจะเปิดรับการแจ้งเตือนตอนไหนและเมื่อไหร่ ถ้ากำลังมีสมาธิจดจ่ออยู่กับการทำงานก็ปิดแชททั้งหมดไปก่อนเลย
.
- ข้อเสนอที่ 3 ก็คือถ้าเป็นไปได้ก็ขอยกเลิกการประชุมไปเลย
.
ถ้าทำงานในตำแหน่งที่มีอำนาจสูงพอ ถ้าเป็นไปได้ก็ขอยกเลิกการประชุมไปเลย คือขอไม่เข้าร่วมการประชุมที่เกี่ยวข้อง ส่งตัวแทนไปประชุมแทนแล้วสรุปไอเดียมาให้ฟัง หรือไม่ก็ปรึกษากันถึงการเรียกประชุมระหว่างสับดาห์ถ้าไม่ด่วนจริงๆก็ค่อยนัดนัดประชุมในวันจันทร์ตามปกติ
.
ถึงแม้จะไม่ได้เข้าประชุมทุกครั้ง แต่ถ้าสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องและได้งาน เจสันบอกว่ามันยังโอเค เพราะจะมีช่วงเวลาที่เป็นอิสระกว่าเดิม คิดอะไรได้ต่อเนื่อง
.
- และทั้งหมดนี้ก็เป็นข้อเสนอของ เจสัน ฟรายด์ ที่อยากมอบให้กับทุกคน
.
- แต่ละออฟฟิศอาจจะมีข้อจำกัดและมีระบบการทำงานที่แตกต่างกันออกไป ข้อเสนอทั้ง 3 ข้อของเจสันนี้อาจจะต้องนำไปปรับใช้ให้เหมาะสม บางอย่างก็อิทธิพลพอที่จะกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่บางอย่างก็อาจจะไม่เข้ากับรูปแบบการทำงาน ฉะนั้นต้องทดลองปรับเปลี่ยนร่วมกันเพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุด
.
.
.
.#TEDTOP
.
#TEDTalk #สรุปประเด็นเด่นจากTEDTalk