18 มี.ค. 2020 เวลา 12:00
ไม่ว่าเจอปัญหาอะไร นั้นคือ “เรื่องทดสอบจิตใจ” หากผ่านไปได้ ผลของมันงดงามเสมอ
.
- ไม่ว่าคุณจะเปิดบริษัท ทำงานอยู่ในองค์กรใหญ่ หรือแม้แต่คิดทำอะไรเล็กๆน้อยๆ อุปสรรคหนึ่งที่มักได้ยินคนบ่นตลอด คือ “ทรัพยากรไม่พอ”
.
- ผม เกิดที่ประเทศอินเดีย ประเทศที่ประชากรเยอะแต่ทรัพยากรน้อย บางพื้นที่ขาดแคลนมาก ทรัพยากรพื้นฐานไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตด้วยซ้ำไป
.
- คุณอาจจะคิดภาพไม่ออก ยกตัวอย่างเช่นถ้าหากคุณต้องการ แช่ผัก เนื้อสัตว์ หรือต้องการน้ำดื่มเย็นๆ ที่บ้านคุณคงจะมีตู้เย็นเอาไว้เก็บสิ่งเหล่านี้
.
- แต่ในอินเดียหลายบ้าน “ไม่มีตู้เย็น” เขาคิดค้นตู้เย็นด้วยการปั้นจากดินเหนียว ไม่ใช้ไฟฟ้าเลย ทำให้สามารถเก็บผลไม้สดและผักสด ได้หลายวัน
.
- อีกตัวอย่าง ในแอฟริกา หากมือถือของคุณแบตเตอรี่หมด คุณจะพบนักประดิษฐ์ที่สามารถชาร์จแบตเตอรี่ให้คุณได้ด้วย “จักรยาน”
.
- หรือแม้แต่ใน เปรู บางพื้นที่มีปริมาณฝนตกเพียง 1 นิ้วเท่านั้นตลอดทั้งปี อย่าว่าแต่น้ำใช้เลย น้ำจะกินยังไม่มี
.
- แต่ก็มีนักวิทยาศาสตร์น่าทึ่งที่ “ผลิตน้ำจากอากาศ” โดยออกแบบแผ่นป้ายโฆษณาขนาดใหญ่ ซึ่งสามารถดูดซับความชื้นในอากาศ และเปลี่ยนให้เป็นน้ำบริสุทธิ์ได้กว่า 90 ลิตรในทุก ๆ วัน
.
- เรื่องราวเหล่านี้อาจฟังดูน่าทึ่งสำหรับคุณ แต่ถ้าหากคุณเติบโตมาในประเทศกำลังพัฒนาอย่างอินเดีย เหมือนผม คุณจะเข้าใจว่าเราไม่มีทางเลือกมากนัก
.
- สิ่งเดียวที่ทำได้คือ ต้องเรียนรู้ที่จะดึงคุณค่าของทรัพยากรที่มีจำกัดออกมาใช้ และหาวิธีที่สร้างสรรค์ นำสิ่งที่มีอยู่กลับมาใช้ใหม่ให้ได้
.
- สิ่งนี้พวกเราเรียกว่า “จุกาด” มันเป็นการหาวิธีที่ชาญฉลาดท่ามกลางความทุกข์ยาก
.
- แนวคิดนี้น่าสนใจมาก เพราะถึงแม้ประเทศคุณ หรือธุรกิจของคุณไม่ได้ขาดแคลน แต่คุณจะสามารถดึงศักยภาพจากสิ่งที่มีประดิษฐ์อะไรที่มีคุณค่าได้อย่างมหาศาล
.
- ผมรวบรวม 3 หลักการ จากนวัตกรรมต้นทุนต่ำทั่วโลก ซึ่งต้องการแบ่งปันให้พวกคุณ คุณสามารถประยุกต์ เข้ากับองค์กรของคุณเอง
.
- หลักการแรกคือ รักษาความเรียบง่าย อย่ามุ่งแต่สร้างวิธีการ เพื่อให้ลูกค้าประทับใจเท่านั้น ทำให้พวกเขาใช้ง่ายและเข้าถึงสะดวกด้วย
.
- หลักการที่สอง อย่าทำล้อขึ้นมาใหม่ หมายความว่าถ้าใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีได้ก็อย่าเพิ่งสร้างสิ่งใหม่ พยายามใช้ทรัพยากรและสินทรัพย์ที่มีอยู่ อย่างการใช้ระบบมือถือให้ได้พลังงานสะอาด เป็นต้น
.
- หลักการที่สามคือ คิดและทำอย่างแนวราบ ถ้าคุณต้องการความคล่องต้วและดูแลลูกค้าที่หลากลายจำนวนมาก คุณต้องขยายขนาดในแบบแนวราบด้วยการผลิตที่เล็กลง และกระจายตัวออกเป็นหน่วย จะทำให้เพิ่มคุณค่าจากสิ่งที่มีได้ง่ายกว่า
.
- อินเดียและประเทศที่กล่าวมาเป็นตัวอย่างที่ทำให้คุณเห็นแล้วว่า อุปสรรคไม่ใช่ว่าเราขาดอะไร แต่สิ่งที่จะช่วยขจัดอุปสรรคได้คือ
.
- ทำยังไง ถึงจะเพิ่มคุณค่าจากสิ่งที่มีอันน้อยนิดนั้นได้ สำคัญคือหาวิธีสร้างคุณค่าเพิ่มด้วยต้นทุนต่ำ ไม่ต้องใช้เวทมนต์อะไร ไม่ต้องรองบหรือรอใครมาช่วยเหลือ
.
- แต่ต้องคิดให้เยอะ มีนวัตกรรมเดียวก็ต้องหาประโยชน์จากมันให้ได้มากที่สุด ถึงจะสร้างคุณค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคมได้จริง
.
.
.
#TEDTOP #TEDed
.
#TEDTalk #สรุปประเด็นเด่นจากTEDTalk
.
.
(เนื้อหาที่สรุป ดึงมาเฉพาะส่วนที่น่าสนใจ ผู้เขียนได้ใส่ความคิดเห็นและส่วนเสริมเข้าไป เพื่อให้เนื้อเรื่องสมบูรณ์และเหมาะกับภาษาเขียนมากยิ่งขึ้น)
.
.
| นาวี ราดจู (Navi Radjou)
| TEDGlobal 2014
| การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ในการเผชิญกับข้อจำกัด
| Thai translation by Paritas SHAI
| Reviewed by Rawee Ma
โฆษณา