20 มี.ค. 2020 เวลา 12:00
การนอนหลับ เป็นกิจวัตรประจำวันของทุกคน แต่แปลกมากที่ คนนอนไม่หลับกันเยอะมาก “เยอะจนป่วย”
.
- รู้หรือไม่ ว่าการนอนส่งผลกระทบต่อร่างกายเยอะแค่ไหน ทั้งความจำ ความคิด การตัดสินใจ ทั้งสภาวะอารมณ์
.
- ทุกอย่างแย่ลงหมด กลายเป็นคนหุนหันพลันแล่น
.
- งานวิจัยของผม วิจัยถึงสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เชื่อ ซึ่งก็คือ สภาวะการนอน(โดยเฉพาะช่วงหลับลึก)จะช่วยฟื้นฟูร่างกายได้อย่างดี
.
- โดยปกติช่วงการนอน ร่างกายจะมีช่วงเวลาหลับลึกและหลับตื้นสลับกันไปในแต่ละคืน
.
- ช่วงเริ่มต้น จะเกิด Non-Rem Sleep คือ ช่วงของการหลับตื้นไปจนถึงหลับลึก
.
- จากนั้นจะ Rem Sleep คือวงจรที่กล้ามเนื้อต่างๆ หยุดทำงานหมดยกเว้น หัวใจ กระบังลม กล้ามเนื้อตาและกล้ามเนื้อเรียบ ซึ่งเป็นช่วงที่ฝันเป็นเรื่องเป็นราว
.
- ทั้ง 2 ช่วงจะสามารถสลับกันไปในแต่ละคืน ถ้าหลับลึกนานๆก็จะทำให้รู้สึกว่า ...“ได้นอนอย่างเต็มที่”
.
- ซึ่งจริงๆแล้ว “เวลาการนอน” นั้นไม่มีคำตอบเป็นข้อมูลที่ชัดเจน บางคนอาจจะ 6-8 ชั่วโมง บางคนอาจจะนอนแค่ 5 ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว ...ถ้าคุณมีช่วงหลับลึกที่เพียงพอ!
.
- ฉะนั้น หัวใจสำคัญที่สุดของการหลับคือ “ทำยังไงให้มีช่วงการหลับลึก มีประสิทธิภาพที่สุด”
.
- จากงานวิจัยในห้องทดลอง เราให้ผู้ทดลองใส่อุปกรณ์ขนาดเล็กเอาไว้ทดสอบ สิ่งที่ค้นพบคือช่วงหลับลึกจะมีคลื่นสมองคลื่นยาว เรียกว่า “คลื่นเดลต้า”
.
- “คลื่นเดลต้า” มีความสำคัญต่อการหลับลึก ทำให้หลับลึกอย่างมีประสิทธิภาพ
.
- เสียงนั้นมันอยู่ในช่วงความยาวคลื่นเดียวกับคลื่นสมองของเรา เมื่อสมองของคุณเข้าสู่การหลับลึก รูปแบบเสียงนี้ช่วยเพิ่ม สติปัญญาคุณดีขึ้นจริง ๆ
.
- ฉะนั้น ถ้าเราอยากหลับลึกตอนกลางคืน ไม่จำเป็นต้องมี เครื่องมือที่ใช้เหมือนในห้องทดลองก็ได้
.
- วิธีง่ายๆ อาจจะเปิดเสียงที่มีคลื่นความถี่เท่ากับคลื่นเดลต้าซึ่งหาได้ง่ายทั้งในยูทูปและแอพพลิเคชั่นช่วยการนอน
.
- เมื่อพวกเราได้หลับลึกตามที่เราต้องการมันจะมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมหาศาล
.
- การหลับลึกด้วยคลื่นเดลต้าช่วยเราเปลี่ยนปฏิสัมพันธ์ทั้งหมด
.
- มันไม่ใช่แค่ตื่นขึ้นมาแล้วสดชื่น แต่ร่างกายได้ผ่อนคลายเต็มที่ กล้ามเนื้อร่างกายได้ยืดเหยียด ยืดเส้น ยืดสาย
.
- จิตใจผ่อนคลาย ไม่มีความเครียด ในขณะนอนหลับ ความจำดี อารมณ์ดี
.
- และที่สำคัญคลื่นเดลต้า เป็นตัวบ่งชี้ความเยาว์วัยทางชีววิทยาที่แท้จริง
.
.
.
#TEDTOP #TEDed
.
#TEDTalk #สรุปประเด็นเด่นจากTEDTalk
.
.
(เนื้อหาที่สรุป ดึงมาเฉพาะส่วนที่น่าสนใจ ผู้เขียนได้ใส่ความคิดเห็นและส่วนเสริมเข้าไป เพื่อให้เนื้อเรื่องสมบูรณ์และเหมาะกับภาษาเขียนมากยิ่งขึ้น)
.
.
| Dan Gartenberg
| TED Residency
| การหลับลึกที่ส่งผลดีต่อสมอง — และวิธีการยืดเวลาการหลับลึกให้มากขึ้นอีก
| Thai translation by Nichakorn Pansansailom
| Reviewed by PanaEk Warawit
โฆษณา