ทุกวันคือการเจอ "เหตุการณ์ใหม่ๆ" แบบรัวๆ
วิธีการตัดสินใจและมองให้คม ต้องแยกแยะประเด็นที่ถูกซ่อนอยู่ให้ออก มองว่ากระทบกับใครบ้าง...จากนั้นถึง “ตัดสินใจ” ให้ดีที่สุด
.
- ถ้าอยากมองอะไรให้เฉียบ ตัดสินใจได้เด็ดขาด ต้องหัดวิเคราะห์ให้เก่ง การทำงานมีหลายรูปแบบ ทำตามคำสั่งได้ดีนั่นก็อีกรูปแบบหนึ่ง แต่เหนือกว่านั้นต้องเป็นคนที่วิเคราะห์ให้เก่งด้วย จะทำให้เหนือขั้นขึ้นไปอีก
.
- ทุกๆวัน เราต้องตัดสินใจอะไรต่อมิอะไรมากมาย สำคัญบ้าง ไม่สำคัญบ้าง บางเรื่องก็มีผลกระทบมากต่อชีวิต ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะตัดสินใจได้อย่างสมบูรณ์แบบทุกครั้ง แต่มันมีหลายวิธีที่จะพัฒนา และหนึ่งในเทคนิคที่มีประสิทธิภาพเป็นพิเศษ ก็คือ “การคิดวิเคราะห์” ซึ่งมันมีขั้นตอนสำคัญอยู่ 5ขั้นตอน
.
1 ตั้งคำถาม ว่าทำไมต้องทำอย่างนั้น
.
- การตัดสินใจอะไรก็ตาม ถ้าอยากมั่นใจว่าได้เลือกวิธีที่มีเหตุผลที่สุด ก่อนตัดสินใจควรเริ่มต้นจากการ “ถามตัวเองก่อนว่า…ทำอย่างนั้นไปเพื่ออะไร” ยกตัวอย่างเช่น ถ้าคุณกำลัอยากลดน้ำหนักด้วยวิธีใหม่ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ แต่ไม่รู้ว่าวิธีการมันเหมาะกับสภาพร่างกายจริงหรือเปล่า
.
- ถ้าอย่างนั้นก็ลองถามตัวเองสักหน่อยว่า “แท้จริงแล้วอยากลดน้ำหนักไปเพื่ออะไร” ถ้าคำตอบคือ แต่ก่อนกินแต่อาหารไมมีประโยชน์เลย โปรแกรมลดความอ้วนนี้จะได้สารอาหารที่ดีกว่า ได้พลังงานมากกว่า นั่นจะทำให้คุณตัดสินใจว่า วิธีลดความอ้วนแบบใหม่นี้เหมาะกับคุณหรือเปล่า
.
2 รวบรวมข้อมูล แต่ต้องไม่ใช่ข้อมูลลอยๆ
.
- การรวบรวมข้อมูลช่วยให้คุณเปรียบเทียบความสำคัญระหว่างตัวเลือกต่าง ๆ แม้แต่เรื่องง่ายๆ อย่างการลดความอ้วนนี้ก็ตาม ถ้าลองเสิร์จในอินเตอร์เน็ตจะพบว่ามีข้อมูลมากมายทั้งที่น่าเชื่อถือและไม่น่าเชื่อถือ แล้วคุณจะเชื่ออะไรดีล่ะถึงจะทำให้ลดความอ้วนได้อย่างปลอดภัยจริงๆ ฉะนั้นจะดีกว่ามั้ยถ้าจะขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญจริงๆ จะได้ตัดสินใจไม่พลาด
.
3 ใช้ข้อมูลที่รวบรวมมาให้เป็นประโยชน์
.
- เหตุผลที่ ทำไมการวิเคราะห์ข้อมูลถึงต้องมีขั้นตอน เป็นเพราะว่า เมื่อเผชิญกับการตัดสินใจจริงๆจะได้ทำให้คุณมีสติมากพอ เพราะเวลาที่ต้อง “ตัดสินใจจริงๆ” คนส่วนใหญ่จะกดดันจนลืมทุกอย่าง แล้วตัดสินใจจากสัญชาติญาณ ฉะนั้น...ทุกครั้งที่ต้องตัดสินใจอะไรที่สำคัญ “ตั้งสติให้ดี” แล้วทบทวนดูว่า จากหลักฐานที่มีอยู่ นำมันมาใช้ประกอบความคิดไหนได้ดีที่สุด เพื่อป้องกันการตีความผิดพลาด
.
4 บ่อยครั้ง ทางเลือกก็มีเงื่อนไข
.
- บ่อยครั้งทางเลือกก็มีเงื่อนไข เพียงแต่เราเองมองไม่เห็นเพราะมันอาจเป็นเงื่อนไขที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น ตอนเลือกตั้ง ตัวแทนหาเสียงสัญญาว่าจะทำให้ผู้ใช้รถใช้ถนนจ่ายค่าน้ำมันน้อยลง
.
- ในตอนแรกมันเหมือนว่าจะดี แต่ลองคิดระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อมสิ มันอาจทำให้เกิดมลภาวะทางอากาศอย่างหนัก เหมือนที่เกิด PM2.5 ตอนนี้ก็ได้ ฉะนั้น ลองคิดดูดีๆ ที่คุณจะเลือกมีเงื่อนไขซ่อนอยู่หรือเปล่า มันจะคุ้มค่าหรือเสียหายมากกว่าในระยะยาวหรือไม่
.
5 ถามคนรอบข้าง
.
- ถ้าเรื่องสำคัญจริงๆ แนะนำให้ถามคนรอบข้างที่เราพึ่งพาได้ ถึงแม้จะบอกว่าเราคิดมาดีที่สุดแล้วก็ตาม เพราะธรรมชาติคนเราย่อมมีอคติกันได้ ใจคุณอาจจะเอีนเองไปยังทางเลือกหนึ่ง แต่คนรอบข้างที่หวังดีจริงๆ จะช่วยอธิบายได้ว่าทำไมอีกทางเลือกถึงดีกว่า ฉะนั้น...การคิดหลายคนย่อมรอบคอบกว่า ได้ปรึกษากัน ที่สำคัญช่วยจะช่วยลดอคติ ที่มีในใจของเองได้
.
.
- กระบวนการห้าขั้นตอนนี้ เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่ง มันอาจจะช่วยให้การตัดสินใจหลายเรื่องดีขึ้นได้ แต่ก็คงไม่ทั้งหมด แต่อย่างน้องเราก็จะได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ ซึ่งทักษะนี้จะไม่หายไปไหน แต่มันจะชำนาญขึ้นเมื่อต้องใช้อยู่เรื่อยๆ
แล้วจะตัดสินใจได้ดีขึ้นเรื่อยๆ
.
.
#TEDTOP #TEDed
.
#TEDTalk #สรุปประเด็นเด่นจากTEDTalk