28 ก.พ. 2020 เวลา 09:28
🤼‍♂ อย่าปล่อยให้ไวรัสเป็นเรื่องของหมอสิ! พับผ่า..
พอดีว่าเห็น FEED คำคมของรุ่นพี่ในวงการท่านหนึ่ง เขียนว่าประมาณว่าเชื้อไวรัสเป็นหน้าที่ของหมอที่ต้องต่อสู้.. แม้เขาจะไม่ได้เขียนตรง ๆ แบบนี้แต่อ่านแล้วก็รู้สึกว่า มันไม่ใช่ป่ะ! ณ จุดนี้ ทุกคนสามารถดูแลปกป้องตัวเอง ปกป้องประเทศ ปกป้องสังคมได้แล้ว
ขั้นตอนการตรวจ COVID-19 ฟังความยากแล้วจะรู้ว่าไม่ควรปล่อยให้ล้นมือหมอ
วันนี้จึงขอมาเล่าเรื่องของการทำ RT PCR ให้คุณฟัง
คนที่ทำหน้าที่ตรวจสอบโรคไวรัส โควิด -19 ได้ ไม่ใช่หมอคนเดียว ประกอบด้วยทีมงานมหาศาล นับตั้งแต่เดินเข้าประตูโรงพยาบาล ก็เจอกับพนักงานต้อนรับ, เจอพยาบาลวัดไข้, เจอพยาบาลสแกนโรค เจอหมอ ส่งสิ่งส่งตรวจให้กับนักเทคนิคการแพทย์ รวมแล้วมันหลายคนมาก ดังนั้นเขาถึงบอกว่าหากคิดว่าตัวเองป่วยเป็นโรคนี้ให้รีบบอกแต่เนิ่น ๆ จะได้ไม่ทำให้หมอและบุคลากรทางการแพทย์ท่านอื่น ๆ ติดกันไปด้วย
วันนี้จะมาเจาะถึงคนที่ทำหน้าที่วิเคราะห์โรค ประกอบด้วยล้านแปดขั้นตอน
1) เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์
เครื่องมือและอุปกรณ์ในการทำ RT PCR นั้นเยอะมาก สิ่งสำคัญก็คือ
- น้ำยาสกัด DNA
- น้ำยาตรวจ
- น้ำยาเพื่อวิเคราะห์ผล
- หลอดไมโครทิวบ์
- ปิเปตต์ (แท่งดูด)
- เครื่อง RT-PCR
- เครื่องวิเคราะห์ผล (ใช้ในกรณีที่ไม่มีฟังก์ชั่นนี้อยู่ในเครื่อง PCR)
คำว่าเตรียมเครื่องมือนี้ รวมตั้งแต่นับจำนวน เช็คของ เช็ดทำความสะอาด เปิดปิดเครื่องให้พร้อมใช้งาน ทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ 1- 1.5 ชั่วโมง
ซึ่งใครบอกว่า ตรวจดีเอ็นเอนั้นมันง่าย ไม่กี่นาที ไม่กี่ชั่วโมงก็รู้ผล จะตีเบา ๆ ด้วยปิเปตนี่!
ตัวอย่างการทำ PCR ภาพจาก Disease Profiling Project
2) สกัดสารพันธุกรรม (DNA / RNA Extraction)
เนื่องจากตอนแรกได้สิ่งส่งตรวจมาแบบนี้ ซึ่งหากไม่ได้เป็นน้ำมูก, สารคัดหลั่งในปอด, อุจจาระ, ปัสสาวะ ก็จะมาในขวดแบบนี้ ซึ่งต้องล้างเซลล์ให้สะอาดก่อนจึงจะไปตรวจได้
ภาพที่เห็นคือชุดเก็บสิ่งส่งตรวจที่กรมควบคุมโรคบังคับให้โรงพยาบาลใช้ก่อนส่งมาให้ 13 แลป ฯ เพื่อตรวจยืนยัน
ขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเช่นกัน นานนะ รายละเอียดไม่ขอพูดถึง แต่กว่าจะใช้ปิเปต ดูดสารตั้ง ๆ มาครบทุกหลอด ใช้เวลาเยอะทีเดียว และมันก็ต้องใช้สารสกัดหลายตัว
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
ขั้นตอนนี้นักวิจัยจะระมัดระวังเป็นพิเศษ เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อน ไม่เช่นนั้นแล้วผลจะผิด ไอ้จำนวนหลอด ๆ ที่เห็น โดยปกติแล้วรอบนึงทำได้มากสุด 100 หลอด ก็คือประมาณ 50 ตัวอย่าง เพราะต้องเผื่ออีก 1 หลอดเป็นคู่กันไว้เปรียบเทียบผล (ซึ่งตรงนี้แล้วแต่วิธีการทำของแต่ละแลปด้วย)
3) วิเคราะห์ผล เข้าเครื่อง RT PCR
ระยะเวลาของขั้นตอนนี้ขึ้นอยู่กับน้ำยาที่ใช้ว่ามันเขียนมาว่าให้ใช้เท่าไหร่ เริ่มต้นตั้งแต่ 30 นาที ไปจนถึง 1 หรือ 1 ชั่วโมงกว่า ๆ ไม่นานกว่านี้เพราะสาย DNA / RNA มันจะไหม้หมดละ
ของไทยเห็นหลายแลป ใช้เครื่องรุ่นนี้ จะวิเคราะห์ผลได้ไวหน่อยเนื่องจากว่ามีการแสดงผลเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้เลย เทคนิคการใช้งานจะวัดค่าความเข้มของแสงในหลอดที่มีการแบ่งตัวของชิ้นท่อนส่วนของยีน COVID-19 ที่ตั้งค่าไว้ จะตรวจพบก็ตอนนี้
ทีนี้เพิ่งไปอ่านเจอมาว่า "ความไว" ของการตรวจด้วยวิธี RT PCR ที่เราใช้กันอยู่ในช่วงแรกนี้ ค้นพบยืนยันผลผู้ติดเชื้อได้ 71% เท่านั้น คือไม่แม่นยำเท่าวิธีตรวจสแกนปอดที่เรียกว่า Chest CT ที่แม่นยำถึง 98% ซึ่งกว่าจะไปถึงขั้นนั้นอาการคนไข้ก็คงหนักมากแล้ว โดยทั้งสองวิธี ตรวจในระยะติดเชื้อ 4 - 8 วัน (อันนี้เพิ่งตีพิมพ์ 26 ก.พ.63 ที่ผ่านมานี้เอง เดี๋ยวจะเล่าให้ฟังในบทความถัดไปครับบ) ที่มาอยู่ในลิ้งค์ 1*
ในไทยส่งตรวจได้ที่ 13 แลป
ภาพส่วนหนึ่งจากหนังสือเล่มนี้ครับ ดาวน์โหลดอ่านทั้งหมดได้ในลิ้งค์ที่มา 2
ที่มาส่วนหนึ่งจาก :
เผื่อใครอยากดูเป็นคลิป อันนี้เป็นแค่ขั้นตอนเบื้องต้นเท่านั้น

ดูเพิ่มเติมในซีรีส์

โฆษณา