8 เม.ย. 2020 เวลา 12:00
เป็นมาทั้ง “มนุษย์เงินเดือน ฟรีแลนซ์”
และตอนนี้มาจบที่ “เจ้าของธุรกิจ”
สรุปสิ่งที่ได้ซึมซับ มองเห็นมาหลายปี
.
1. "ความรู้มีวันหมดอายุ"
.
- หลายคนคิดว่าความรู้ที่ร่ำเรียนมาสามารถสะสมไปได้เรื่อยๆ ไม่มีวันหมดอายุ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริง ความรู้มีวันหมดอายุ!
.
- ยิ่งในยุคนี้ความรู้ในตำรา อาจจะเก่าไปแล้วก็ได้ ตัวอย่างที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ตำราเทคนิคการค้าขายต่างๆ บอกให้ทำแบบนี้ แต่พอมายุคนี้แล้ว เทคนิคเหล่านั้นอาจจะใช้ไม่ได้ผลแล้วก็ได้ อย่าเชื่อในสิ่งที่รู้มากนัก ขอให้ลองทำและเปิดรับความรู้ใหม่ๆบ้าง จะได้รู้ว่าความรู้อันไหนหมดอายุแล้ว
.
2. เอาจริงๆแล้ว คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยสนว่า "คุณเก่งขนาดไหน" เขาสนแค่ว่าคุณหาเงินได้เท่าไร
.
และสกิลของคุณจะมีส่วนช่วยพวกเขา(บริษัท,ลูกค้า)เรื่องงานได้ยังไงได้บ้าง
.
- หลายคนชอบอวดว่าตัวเองทำโน่นนี่นั่นได้ หารู้ไม่ว่าสิ่งเหล่านี้ ไม่มีใครสนใจเท่าไร ต้องพูดว่า เคยทำอันนี้มาแล้ว ทำอันนั้นมาแล้ว คุณจะน่าสนใจขึ้นเยอะ ไม่ใช่แค่พูดว่าทำได้ “ต้องลงมือทำมาแล้ว”
.
-เราอยู่ในโลก ที่ทุกอย่างเชื่อมกันหมด วันนี้คุณเก่ง พรุ่งนี้ก็มีอีกคน ที่เก่งกว่าคุณ เหนือฟ้ายังมีฟ้า เก่งขนาดไหนก็ยังมีคนเก่งกว่า
.
- จงเป็นคนที่นำความเก่งของตัวเองมาแปลงให้เป็นผลงานให้ได้ สุดท้ายแล้วเราต่างรู้ดี “เราทำเพื่อเงินเพื่อชีวิตที่ดีขึ้น” อย่ามัวมานั่งยึดติดกับเรื่องฉันเก่ง แล้วใครเก่งกว่าเลย เอาเวลาไปนั่งโฟกัส เรื่องการหารายได้เพิ่มดีกว่า
1
3. "คนที่มีรายได้สูงหลายคนล้วนเป็นคนเก่ง แต่คนเก่งบางคน ก็ไม่ได้มีรายได้สูง เพราะมีนิสัยบางอย่างในตัวมาขัดขวางหนทางที่จะเติบโต"
.
- คนรายได้สูงหลายคน ล้วนเป็นคนเก่ง อันนี้คุณอาจจะรู้แล้ว แต่สิ่งที่ผมรู้สึกได้คือ คนที่เก่งบางคนมีสกิลดีมาก แต่รายได้ก็ไม่ได้เยอะตาม เพราะมีนิสัยที่แย่ อีโก้สูง หรืออะไรก็แล้วแต่ สิ่งพวกนี้ผมคิดว่ามันคือการขัดขวางความเก่ง ของตัวเค้าเองให้ไปไหนไม่ได้ไกลเท่าไร
.
- คนเก่งที่ไม่รวยนั้น ส่วนใหญ่คือมีทักษะที่ไม่เพียงพอ ในโลกของการทำเงิน หรือการทำรายได้ให้ได้สูงๆ มันไม่ใช่แค่ว่าคุณเก่ง แล้วคุณจะสำเร็จ
.
- อยากเป็นคนมีรายได้สูง มันต้องมีสกิลการเข้าหาคน ลูกล่อ ลูกชน การวางตัว ทัศนคติแนวคิด ความอดทน การใช้คน การบริหาร ฯลฯ ประเด็นก็คือ อย่ามองว่าคุณเก่งขนาดไหน ให้มองว่าในทางที่คุณกำลังเดินไป "คุณยังขาดอะไร" จะดีกว่า
.
4 "ตำแหน่ง” บางครั้งก็เป็น “กับดัก"
.
- ทำงานให้ดูผลตอบแทน และสิ่งที่ได้ ไม่ใช่ดูจากป้ายว่าคำนำหน้าชื่อของตัวเอง เขียนไว้ว่าอะไร
.
- ตำแหน่งเป็นเพียงแค่ชื่อ ไม่ได้บ่งบอกว่ารายได้คุณจะเยอะตาม ลองดูให้ดีบริษัทเล็กๆ กับบริษัทใหญ่ๆ ชื่อตำแหน่งเดียวกัน แต่ผลตอบแทนจะต่างกันมาก อย่าไปยึดติดมาก มองว่าตัวเองได้อะไรบ้างจะดีกว่า
.
- ตำแหน่งถูกสร้างมาเพื่อแบ่งแยกการทำงาน และในบางครั้งมันก็เป็นส่วนช่วยให้คนเสียดายถ้าต้องเกิดการเปลี่ยนแปลงย้ายไปอยู่บริษัทอื่นๆ
.
- คิดแบบเจ้าของธุรกิจ ต้องไม่สนเลยว่าตัวเองตำแหน่งอะไร ให้สนว่าจะพาร้านค้า หรือบริษัทให้รอดในปีนี้ยังไงดีกว่า
.
5. "ทำงานทั้งทีอย่ามองแค่เงิน ผลตอบแทนอาจจะมาได้หลายรูปแบบ " เงิน,ความรู้ , คอนเนคชั่น " ล้วนเป็นผลตอบแทนทั้งนั้น
.
6.ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์เงินเดือนหรือเจ้าของธุรกิจ ล้วนต้องศึกษา "การลงทุน" ทั้งนั้น
.
7.การออมเงินเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าเจอสัญญาณในการลงทุนที่ดีและเป็นไปได้ ลองเสี่ยงดูบ้าง
.
- เพราะนั้นอาจจะทำให้คุณได้เงินออมเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวในระยะเวลาที่เร็วกว่า
.
8.ตอนเป็นมนุษย์เงินเดือนต้องอยู่ในกรอบที่บริษัทวางไว้ แต่พอมาเป็นเจ้าของธุรกิจ นั้นหมายถึง คุณต้องเริ่มต้นสร้างกรอบเหล่านั้นในแบบของตัวเอง ไม่มีการทำงานไหนที่ไม่มีกรอบกำหนด แต่จะเล็กหรือใหญ่ ตึงหรือหย่อน ก็อีกเรื่องนึง
.
9. "เหนื่อย คือคำที่ ทุกอาชีพ ทุกตำแหน่ง ทุกสถานะมี"
.
ทำใจให้คุ้นชิน และดูไปที่ผลตอบแทน ว่า
“เราเหนื่อยด้วยผลตอบแทนเท่าไร”
.
10. ความสมบูรณ์แบบไม่มีอยู่จริง มนุษย์เรามักต้องการอะไรใหม่ๆเสมอมาเติมเต็ม ไม่ว่าจะหาเงินได้เท่าไร อยู่ในตำแหน่งไหน ถ้าคุณรู้ข้อนี้แล้วคุณจะรู้ได้ว่า มองหาความสุขระหว่างทางไปด้วยดีกว่า อย่ากำหนดแค่ต้องปลายทางเท่านั้นถึงจะมีความสุขได้
.
.
.
ไปให้ถึง100ล้าน
บทความจาก แอดมินเชน
.
.
#เจ้าของธุรกิจ
#ฟรีแลนซ์
#งานประจำ
โฆษณา