28 ก.พ. 2020 เวลา 09:18
"อะไรคือ จุดแข็ง ของคุณ"
เป็นคำถามสั้นๆที่ผมคิดว่าอาจจะมีคนเคยถามคุณ หรือไม่ คุณก็อาจจะเคย
ตั้งคำถามกับตัวเองสักครั้งหนึ่ง ในช่วงชีวิตที่ผ่านมา
คนส่วนใหญ่นั้นคิดว่าตนเองรู้ดี ว่าอะไรคือจุดแข็งของพวกเขา แต่รู้หรือไม่
ว่า ส่วนมากแล้วพวกเขา"คิดผิด" พวกเขานั้นแท้จริงแล้วไม่รู้หรอกว่าอะไร
คือจุดแข็งจริงๆของตัวเอง
คนเรานั้นจะสร้างสุดยอดผลงานได้จากจุดแข็งเท่านั้น เราไม่สามารถสร้าง
ผลงานจากจุดอ่อนได้
คำถามที่น่าสนใจก็คือ เราจะค้นหาจุดแข็งของตัวเราเองได้อย่างไร ?
คำตอบก็คือคุณสามารถทำการ "วิเคราะห์ทบทวนตนเอง" (Feedback
Analysis) ได้ด้วยวิธีการง่ายๆคือ เมื่อคุณจะต้องตัดสินใจลงมือทำงานชิ้น
สำคัญหรืองานใหญ่ๆ โดยที่ไม่ว่างานนั้นๆจะเป็นงานอดิเรกหรืองานประจำ
ก็ตาม ให้คุณเขียนเป้าหมายที่คุณคาดหวัง แล้วหลังจากนั้น 9-12 เดือน
ให้หลัง ให้คุณลองเอาผลลัพธ์ที่ได้มาเทียบกับเป้าหมายที่วางเอาไว้ดู
ถ้าสิ่งที่ทำนั้นได้ผลตรงตามเป้ามหายที่วางไว้ หรือแม้แต่เกินเป้าหมาย
สิ่งนั้นอาจจะเป็นจุดแข็งของคุณ ที่คุณกำลังค้นหาอยู่ก็เป็นได้
อาจจะฟังดูเป็นวิธีง่ายๆ ทั้งนี้เพียงแค่ 2-3 ปี กับงานในหลายๆรูปแบบ คุณก็จะเห็นว่าจุดแข็งของคุณคืออะไร และนี่คือสิ่งที่สำคัญที่คุณจำเป็นต้องรู้
วิธีการนี้จะแสดงให้คุณเห็นได้อย่างชัดเจนว่า สิ่งที่คุณกำลังทำ(และได้
ผลลัพธ์ดี) หรือสิ่งที่คุณทำไม่ได้ สิ่งไหนกันที่กำลังขัดขวางคุณจากการใช้
ประโยชน์สุงสุดจากจุดแข็งของคุณ
โดยมันจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า จุดใดที่คุณนั้นไม่เชี่ยวชาญ ไม่
แข็งแกร่ง ซึ่งสิ่งๆนั้นมันจะไม่แสดงผลงานออกมาเลย
การวิเคราะห์ทบทวนตนเองนี้ นอกจากคุณจะได้พบจุดแข็งของคุณแล้ว ยัง
ส่งผลไปถึงการนำไปปฏิบัติอีกหลายๆอย่าง อันได้แก่
1. การรวมพลังของคุณ ไปที่จุดแข็ง
โดยการวางตนเอง หรือพาตนเองไปอยู่ในที่ๆเหมาะสมกับความสามารถนั้นๆ ที่คุณจะได้ใช้จุดแข็งของคุณสร้างผลงานที่ยอดเยี่ยมได้
ตัวอย่าง เช่น คุณอาจจะหาทางในการเปลี่ยนตำแหน่งงาน หน้าที่ หรือแม้แต่หางานใหม่ ที่ตรงกับจุดแข็งของคุณ ซึ่งการทำแบบนี้ ในระยะยาวจะส่งผลดีกับตัวคุณเองอย่างแน่นอน
2. ทุ่มเทกับการพัฒนาจุดแข็ง
เมื่อคุณทบทวนตนเองจนค้นพบจุดแข็งแล้ว คุณจะรู้ได้เองว่า จุดไหนที่คุณ
ควรจะต้องศึกษา พัฒนาเพิ่มเติม
3. ค้นพบ "ความอหังกาทางปัญญา"
เมื่อถึงจุดสูงสุดแล้ว (เก่งจนเป็นที่หนึ่ง ในด้านนั้นๆ) สิ่งที่ต้องระวังอย่างยิ่งก็คือการหลงตัวเอง คือการลดทอนอุปนิสัยด้านลบ ที่อาจจะไปดูถูกคนที่มี
ทักษะอื่นๆที่ไม่เหมือนกับเรา
ตัวอย่างเช่น นักคำนวณ นักวางแผน อาจจะไม่เข้าใจคนที่ไร้ระเบียบ ที่อาจ
จะทำงานที่เน้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์
เมื่อเราเปรียบเทียบความคาดหวัง และผลลัพธ์ เราจะพบกับอีกสิ่งหนึ่งนอก
จากจุดแข็ง นั่นก็คือ "สิ่งที่ไม่ควรทำ"
ทั้งนี้เราไม่ควรจะไปรับงานที่เราไม่ถนัด เราควรใช้พลังงานให้น้อยที่สุดใน
การพัฒนางานที่ไม่ถนัด
เพราะการพัฒนาจากจุดที่ไร้ความสามารถ ไปสู่จุดที่กึ่งดิบ กึ่งดี นั้นใช้พลัง
งาน "มากกว่า" การพัฒนาจากจุดที่ดีไปสู่จุดที่ยอดเยี่ยม เสียอีก
ลองกลับไปทบทวนตนเอง และหาจุดแข็งกันดูนะครับ
ส่วนตัวแล้วผมก็ใช้วิธีนี้กับการทำ Podcast อยู่เหมือนกัน ตั้งเป้าไว้ว่าถ้าทำ
ได้ถึง 100 EP สิ่งนี้ก็น่าจะเป็นจุดแข็งได้ครับ
Credit : เนื้อหา 80% ของบทความนี้สรุปมาจากหนังสือ "Managing
Oneself" ปัญญางาน จัดการตน ของ Peter F Ducker โดยผมได้เพิ่มเติม
เนื้อหาและตัวอย่างบ้าง เพื่อให้อ่านเข้าใจง่ายขึ้นครับ
โฆษณา