29 ก.พ. 2020 เวลา 03:27
ประเทศไทยกำลังประสบกับภัยแล้งที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 40 ปี
ภาพจาก EarthObservatory, NASA
ปัญหาภัยแล้งในประเทศไทยกำลังส่งผลให้อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ในประเทศจำนวนมากกว่าครึ่งหนึ่งมีปริมาณน้ำกักเก็บในเขื่อนต่ำกว่า 50 % ของความจุเขื่อน
ระดับน้ำในแม่น้ำก็ลดต่ำจนส่งผลให้น้ำเค็มสามารถลุกล้ำเข้าไปได้ไกลกว่าปกติที่เคยเป็นมา ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำดื่มเป็นวงกว้าง
สภาวะภัยแล้งในประเทศไทยเกิดจากฤดูมรสุมที่สั้นกว่าปกติ และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยทั้งปี 2562 ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย คาดว่าเกษตรกรทั่วประเทศประมาณ 11 ล้านคน จะได้รับผลกระทบ
ตามรายงานของคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง กล่าวว่าปรากฏการณ์เอลนีโญที่กำลังเกิดขึ้นทำให้พื้นที่ลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ซึ่งประกอบด้วย สปป.ลาว ไทย กัมพูชาและเวียดนาม มีอุณหภูมิสูงกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดการระเหยของน้ำในดินสูงกว่าปกติและทำให้ระดับความชื้นในดินลดต่ำลงไปด้วย
สำหรับปีนี้คาดว่าประเทศไทยจะได้รับผลกระทบอย่างหนัก ซึ่งผลกระทบก็เริ่มปรากฏให้เห็นแล้ว คือ ปัจจุบันทั้งที่เพิ่งเข้าสู่ฤดูแล้งได้เพียงแค่ 2 เดือน แต่นำ้ในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่ก็อยู่ในระดับต่ำแล้ว
แผนที่ด้านบนแสดงให้เห็นความผิดปกติของความชื้นในดินหรือปริมาณน้ำที่อยู่ใกล้ผิวดินเทียบจากค่ามาตราฐาน ครอบคลุมพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ระหว่างวันที่ 1 มกราคมถึง 7 กุมภาพันธ์ 2563
โทนสีน้ำตาลยิ่งเข้ม คือ ยิ่งต่ำกว่าค่ามาตราฐาน หรือยิ่งความชื้นในดินมีน้อยมาก และตรงกันข้าม โทนสีเขียวยิ่งเข้ม คือ ยิ่งสูงกว่าค่ามาตราฐาน หรือน้ำในดินสูงมากกว่าค่ามาตราฐาน
ข้อมูลดังกล่าวได้มาจากการตรวจวัดโดยเซนเซอร์ของดาวเทียม Soil Moisture Active Passive (SMAP) ซึ่งเป็นดาวเทียมของนาซ่า ดาวเทียมดวงแรกที่มีวัตถุประสงค์เพื่อการวัดปริมาณความชื้นในดินโดยเฉพาะ (ความลึกจากผิวดินประมาณ 5 เซนติเมตร หรือ 2 นิ้ว)
ข้อมูลดังกล่าวนักวิทยาศาสตร์สามารถนำไปสร้างแบบจำลองทางอุทกวิทยาเพื่อประเมินปริมาณน้ำในโซนที่รากพื้ชแพร่ขยายได้ ซึ่งจะมีความสำคัญต่อการเกษตรเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนั้น ภัยแล้งยังทำให้เกิดการบุกรุกของน้ำเค็มสู่แหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค การเกษตรและผลิตน้ำดื่ม เนื่องจากมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอที่จะผลักน้ำเค็มออกไป ซึ่งเป็นหนึ่งในสัญญาณที่บ่งบอกถึงสถานการ์ณความแห้งแล้งในประเทศที่มีความรุนแรงกว่าที่เคยปรากฏ
ประเทศไทยในฐานะประเทศที่ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ของโลก หากได้รับผลกระทบแล้ว คาดว่าจะทำให้ผลิตน้ำตาลได้น้อยลงประมาณ 30% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งนี่อาจจะเป็นฤดูกาลที่เลวร้ายที่สุดในรอบ 5 ปีสำหรับในประเทศอื่นๆในลุ่มแม่น้ำโขง คาดว่าจะมีความรุนแรงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม แจ้งว่าบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเวียดนามได้รับปริมาณน้ำฝนลดลงประมาณ 8 %
สำหรับในประเทศอื่นๆในลุ่มแม่น้ำโขง คาดว่าจะมีความรุนแรงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ซึ่งข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและการพัฒนาชนบทของเวียดนาม แจ้งว่าบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขงที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของเวียดนามได้รับปริมาณน้ำฝนลดลงประมาณ 8 %
ปรากฏการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ เวียดนามเริ่มประสบปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็ม ซึ่งทำลายนาข้าวจำนวนมากในจังหวัด Trá Vinh นอกจากนั้นพื้นที่ปลูกข้าวกว่า 6 หมื่นไร่ กำลังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเช่นกัน
ทั้งนี้หากสถานการณ์ภัยแล้งในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงยังคงดำเนินต่อไป คือมีน้ำเหลืออยู่ในระดับต่ำและมีการรุกคืบของน้ำเค็มเข้ามาอย่างต่อเนื่อง อาจจะส่งผลกระทบต่อนาข้าวประมาณ 6 แสนไร่ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
Reference
- NASA Earth Observatory (2020, February 15) Drought Hits Thailand. Accessed February 28, 2020
- Asia News (2020, January 8) Seawater from water taps: Bangkok faces worst drought in 40 years. Accessed February 14, 2020.
- Bangkok Post (2020, February 8) Thailand tackles worst drought in 40 years. Accessed February 14, 2020.
- Bloomberg (2020, January 7) The Worst Drought in 40 Years Has Turned Bangkok Tap Water Salty. Accessed February 14, 2020.
- Mekong River Commission (2019, November 19) Drought continues to hit Mekong countries, risking stress on crop production, water shortages. Accessed February 14, 2020.
- Ministry of Agriculture and Rural Development (2020, February 11) Mekong Delta takes measures to reduce saltwater intrusion. Accessed February 14, 2020.
- ReliefWeb (2020, February 5) Vietnam - Drought and Saltwater Intrusion Emergency Plan of Action (EPoA) DREF operation. Accessed February 14, 2020.
- Vietnam Plus (2020, February 10) Thailand works to alleviate drought, smog problems in all areas. Accessed February 14, 2020.
โฆษณา