ชาลส์ โรเบิร์ต ดาวินส์
(อังกฤษ: Charles Robert Darwin FRS; 12 กุมภาพันธ์ 1809 – 19 เมษายน 1882) เป็นนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ผู้ทำการปฏิวัติความเชื่อเดิม ๆ เกี่ยวกับที่มาของสิ่งมีชีวิต และเสนอทฤษฎีซึ่งเป็นทั้งรากฐานของทฤษฎีวิวัฒนาการสมัยใหม่ และหลักการพื้นฐานของกลไกการคัดเลือกโดยธรรมชาติ (natural selection) เขาตีพิมพ์ข้อเสนอของเขาในปี ค.ศ. 1859 ในหนังสือชื่อ The Origin of Species (กำเนิดของสรรพชีวิต) ซึ่งเป็นผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขา ผลงานนี้ปฏิเสธแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ทั้งหมดที่เคยมีมาก่อนหน้านี้เกี่ยวกับการกลายพันธุ์ของสปีชีส์[1][2] ช่วงคริสต์ทศวรรษ 1870 ชุมชนวิทยาศาสตร์และสาธารณชนส่วนมากจึงยอมรับทฤษฎีวิวัฒนาการในฐานะที่เป็นความจริง อย่างไรก็ดี ยังมีคำอธิบายที่เป็นไปได้ทางอื่นๆ อีก และยังไม่มีการยอมรับทฤษฎีนี้เป็นเอกฉันท์ว่าเป็นกลไกพื้นฐานของวิวัฒนาการ ตราบจนกระทั่งเกิดแนวคิดการสังเคราะห์วิวัฒนาการยุคใหม่ (modern evolutionary synthesis) ขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930-1950[3][4] การค้นพบของดาร์วินยังถือเป็นรูปแบบการรวบรวมทางทฤษฏีของศาสตร์เกี่ยวกับชีวิต ที่อธิบายถึงความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิต[5][6]เกิด
12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1809
Mount House, ชรูสบรี, ชร็อพไชร์, อังกฤษ
เสียชีวิต
19 เมษายน ค.ศ. 1882 (73 ปี)
Down House, Downe, เคนท์, อังกฤษ
ถิ่นที่อยู่
อังกฤษ
พลเมือง
อังกฤษ
สัญชาติ
อังกฤษ
ชาติพันธุ์
อังกฤษ
สาขา
ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ
สถาบันที่ทำงาน
Geological Society of London
ศิษย์เก่า
มหาวิทยาลัยเอดินเบอระ
มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
อาจารย์ที่ปรึกษา
John Stevens Henslow
Adam Sedgwick
งานที่เป็นที่รู้จัก
The Voyage of the Beagle
On the Origin of Species
การคัดเลือกโดยธรรมชาติ
มีอิทธิพลต่อ
โจเซฟ ดาลตัน ฮูเกอร์
โทมัส เฮนรี ฮักซ์เลย์
George Romanes
Ernst Haeckel
ได้รับอิทธิพลจาก
อเล็คซันเดอร์ ฟ็อน ฮุมบ็อลท์
จอห์น เฮอร์เชล
Charles Lyell
รางวัลที่ได้รับ
Royal Medal (1853)
Wollaston Medal (1859)
Copley Medal (1864)ความสนใจเกี่ยวกับธรรมชาติตั้งแต่วัยเด็กทำให้ดาร์วินไม่สนใจการศึกษาวิชาแพทย์ในมหาวิทยาลัยเอดินเบอระเลย แต่กลับหันไปช่วยการตรวจสอบสัตว์น้ำที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เมื่อศึกษาที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ได้ช่วยกระตุ้นความหลงใหลในวิทยาศาสตร์ธรรมชาติมากขึ้น[7] การเดินทางออกไปยังท้องทะเลเป็นเวลา 5 ปีกับเรือบีเกิล (HMS Beagle) และโดยเฉพาะการเฝ้าสำรวจที่หมู่เกาะกาลาปากอส เป็นทั้งแรงบันดาลใจ และให้ข้อมูลจำนวนมาก ซึ่งเขานำมาใช้ในทฤษฎีของเขา ผลงานตีพิมพ์เรื่อง การผจญภัยกับบีเกิล (The Voyage of the Beagle) ทำให้เขามีชื่อเสียงในฐานะนักเขียน[8]