Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
พุทธวจน (เปิดธรรมที่ถูกปิด)
•
ติดตาม
3 มี.ค. 2020 เวลา 05:23 • การศึกษา
"ข้อปฏิบัติให้ถึงความสิ้นกรรม"
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๐/๓๓.
-บาลี มหาวาร. สํ. ๑๙/๑๒/๔๑.
ภิกษุทั้งหลาย ! เราจักแสดง จักจำแนก ซึ่งอริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) แก่เธอทั้งหลาย. เธอทั้งหลายจงฟังความข้อนั้น จงทำในใจให้สำเร็จประโยชน์ เราจักกล่าว.
ภิกษุทั้งหลาย ! อริยอัฏฐังคิกมรรค (อริยมรรคมีองค์แปด) เป็นอย่างไรเล่า ?
ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาทิฏฐิ (ความเห็นชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ?
ภิกษุทั้งหลาย ! ความรู้อันใดเป็นความรู้ในทุกข์ เป็นความรู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นความรู้ในความดับแห่งทุกข์ เป็นความรู้ในทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาทิฏฐิ.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาสังกัปปะ (ความดำริชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ? คือ ความดำริในการออกจากกาม ความดำริในการไม่มุ่งร้าย ความดำริในการไม่เบียดเบียน. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสังกัปปะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาวาจา (การพูดจาชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ? คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดไม่จริง เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดส่อเสียด เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดหยาบ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวาจา.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมากัมมันตะ (การทำการงานชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ? คือ เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการฆ่า เจตนาเป็นเครื่องเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้แล้ว เจตนาเป็นเครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมากัมมันตะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาอาชีวะ (การเลี้ยงชีวิตชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! สาวกของพระอริยเจ้าในกรณีนี้ ละการหาเลี้ยงชีวิตที่ผิดเสีย ย่อมสำเร็จความเป็นอยู่ด้วยการเลี้ยงชีวิตที่ชอบ. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาอาชีวะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาวายามะ (ความเพียรชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความไม่บังเกิดแห่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลายที่ยังไม่ได้บังเกิด; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการละเสียซึ่งอกุศลธรรมอันเป็นบาปทั้งหลายที่เกิดขึ้นแล้ว; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อการบังเกิดขึ้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่ยังไม่บังเกิด; ย่อมปลูกความพอใจ ย่อมพยายาม ย่อมปรารภความเพียร ย่อมประคองจิต ย่อมตั้งจิตไว้ เพื่อความยั่งยืน ความไม่เลอะเลือน
ความงอกงามยิ่งขึ้น ความไพบูลย์ ความเจริญ ความเต็มรอบแห่งกุศลธรรมทั้งหลายที่บังเกิดขึ้นแล้ว. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาวายามะ.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาสติ (ความระลึกชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติผู้พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้; เป็นผู้มีปกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม มีสติ นำความพอใจและความไม่พอใจในโลกออกเสียได้. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสติ.
ภิกษุทั้งหลาย ! สัมมาสมาธิ (ความตั้งใจมั่นชอบ) เป็นอย่างไรเล่า ? ภิกษุทั้งหลาย ! ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดแล้วจากกามทั้งหลาย สงัดแล้วจากอกุศลธรรมทั้งหลาย เข้าถึงปฐมฌาน อันมีวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่; เพราะความที่วิตก วิจารทั้งสองระงับลง เข้าถึงทุติยฌาน อันเป็นเครื่องผ่องใสแห่งใจในภายใน ให้สมาธิเป็นธรรมอันเอกผุดมีขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดจากสมาธิ แล้วแลอยู่; อนึ่ง เพราะความจางคลายไปแห่งปีติ ย่อมเป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม และย่อมเสวยสุขด้วยกาย ชนิดที่พระอริยเจ้าทั้งหลาย ย่อมสรรเสริญผู้นั้นว่า “เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติ อยู่เป็นปกติสุข” ดังนี้ เข้าถึงตติยฌาน แล้วแลอยู่; เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับไปแห่งโสมนัสและโทมนัสทั้งสอง ในกาลก่อน เข้าถึงจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่. ภิกษุทั้งหลาย ! อันนี้เรากล่าวว่า สัมมาสมาธิ.
อ้างอิงจาก : พุทธวจนหมวดธรรม เล่มที่ ๕
พุทธวจน แก้กรรม
หน้าที่ ๑๓๐ - ๑๓๔
พุทธวจน (ธรรมะจากพระโอษฐ์)
เว็บไซต์ข้อมูลเพิ่มเติม :
http://watnapp.com
ศึกษาดูพระสูตรเพิ่มเติม :
https://etipitaka.com/search/
ฟังเสียงธรรมะพระสูตรเพิ่มเติม :
https://m.soundcloud.com/search?q=พุทธวจน
2 บันทึก
1
1
ดูเพิ่มเติมในซีรีส์
"พุทธวจน" (ธรรมะจากพระโอษฐ์)
2
1
1
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย