Blockdit Logo
Blockdit Logo (Mobile)
สำรวจ
ลงทุน
คำถาม
เข้าสู่ระบบ
มีบัญชีอยู่แล้ว?
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
อาจวรงค์ จันทมาศ
•
ติดตาม
1 มี.ค. 2020 เวลา 12:14 • วิทยาศาสตร์ & เทคโนโลยี
ดาวยูเรนัส และเนปจูน : สองยักษ์น้ำแข็งแห่งระบบสุริยะ
ดาวยูเรนัส มีขนาดใหญ่กว่าดาวเนปจูนเล็กน้อย ทั้งสองมีรัศมีใหญ่กว่าโลกราว 4 เท่า แต่เนื่องจาก ดาวเคราะห์ทั้งสองดวงนี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มาก เมื่อเทียบกับระยะทางจากดาวเสาร์ถึงดวงอาทิตย์ ดาวยูเรนัสโคจรห่างจากดวงอาทิตย์ราว 2 เท่า ส่วนดาวเนปจูนห่างจากดวงอาทิตย์ราว 3 เท่า ระยะห่างระดับนี้ทำให้การศึกษาดาวเคราะห์ทั้งสองจากบนโลกทำได้ยากมาก
อุณหภูมิของดาวเคราะห์ทั้งสองต่ำมากพอกัน คือ ราวๆ -200 องศาเซลเซียส
องค์ประกอบของชั้นบรรยากาศดาวทั้งสอง คือ แก๊สไฮโดรเจน รองลงมาคือ ฮีเลียม คล้ายกับดาวพฤหัสฯและดาวเสาร์ อันดับสามคือ แก๊สมีเทน ซึ่งดูดกลืนสีแดงและรังสีอินฟราเรด ทำให้ดาวยูเรนัสปรากฏเป็นสีน้ำเงินอมเขียว ส่วนดาวเนปจูนเป็นสีน้ำเงิน
นอกจากนี้ ทั้งดาวยูเรนัสและเนปจูนยังมีวงแหวนด้วย
จะเห็นได้ว่าดาวเคราะห์ทั้งสองดวงนี้มีอะไรคล้ายกันหลายอย่างราวกับเป็นฝาแฝด
ดาวยูเรนัสใช้เวลาโคจรรอบดวงอาทิตย์ 84 ปี ส่วนดาวเนปจูนใช้เวลา 165 ปี ระยะเวลาในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ทำให้ฤดูกาลบนดาวเคราะห์ทั้งสองนี้ยาวนานมาก ตั้งแต่การค้นพบมาถึงวันนี้ ดาวเนปจูนเพิ่งโคจรไปได้เพียง 1 รอบเท่านั้น ทำให้การศึกษาผลของฤดูกาลทำได้ยากเช่นกัน
ที่ผ่านมามีเพียง ยานอวกาศ วอยเอเจอร์ 2 เท่านั้นที่โคจรเข้าไปโฉบดาวเคราะห์ทั้งสองดวงนี้เพื่อเก็บข้อมูล
ดาวยูเรนัส หมุนรอบตัวเองด้วยลักษณะประหลาดคือ แกนหมุนของมันเอียงราว 98 องศา เทียบกับแกนตั้งฉากระนาบวงโคจร หรือ พูดอีกอย่างว่าแกนหมุนของมันวางตัวเกือบจะอยู่ในระนาบวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ของมัน
ดวงจันทร์ทั้งหลายของดาวยูเรนัสก็โคจรรอบดาวยูเรนัสในแนวใกล้เคียงกับที่มันหมุนรอบตัวเอง
ดาวยูเรนัส
นักดาราศาสตร์จำนวนมากเชื่อว่า ในขณะที่ดาวยูเรนัสเพิ่งเกิด มันอาจถูกชนโดยวัตถุขนาดใหญ่อย่างแรงจนแกนหมุนของมันเอียง ส่วนวัตถุต่างๆที่กระเด็นออกมาก็กลายเป็นดวงจันทร์ที่โคจรไปรอบๆมัน
การหมุนรอบตัวเองของดาวยูเรนัสทำให้เกิดฤดูกาลที่แปลกประหลาดคือ ช่วงที่ขั้วเหนือของมันหันเข้าหาดวงอาทิตย์ ซีกเหนือของดาวเกือบทั้งหมดจะเป็นกลางวันยาวนานที่ดวงอาทิตย์ไม่ตกเลย ส่วนซีกใต้จะเป็นกลางคืนที่ยาวนานที่ดวงอาทิตย์ไม่ขึ้นเลย ช่วงเวลานี้กินเวลานานหลายปี
ในช่วงที่ยานวอยเอเจอร์ 2 โคจรโฉบเข้าใกล้ดาวเคราะห์ทั้งสองดวง ในปี ค.ศ. 1989 ผิวดาวยูเรนัสนั้นปรากฏราบเรียบจนแทบไม่เห็นรายละเอียด ส่วนดาวเนปจูนนั้นมีแถบเมฆปรากฏ และมีพายุสีน้ำเงินเข้มขนาดใหญ่ (Great Dark Spot) ปรากฏให้เห็น ลักษณะคล้ายกับจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสฯ แต่ปรากฏเล็กกว่า แต่ในปี ค.ศ. 1994 กล้องโทรทรรศน์ฮับเบิลศึกษาดาวเนปจูนก็พบว่าพายุสีน้ำเงินเข้มนั้นหายไปแล้ว แต่กลับพบพายุขนาดเล็กปรากฏในอีกซีกของดาวแทน
พายุบนดาวเนป
พายุบนดาวเนปจูนนั้นมีความเร็วลมสูงมากที่สุดในระบบสุริยะ ซึ่งอาจเร็วที่สุดมากถึง 2,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ปิดท้ายด้วย #เรื่องไม่ต้องรู้ก็ได้
นั่นคือ ดาวยูเรนัสใหญ่พอจะใส่โลกลงไปได้ถึง 63 ดวงทีเดียว
1
19 บันทึก
97
2
19
97
2
โฆษณา
ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน
© 2024 Blockdit
เกี่ยวกับ
ช่วยเหลือ
คำถามที่พบบ่อย
นโยบายการโฆษณาและบูสต์โพสต์
นโยบายความเป็นส่วนตัว
แนวทางการใช้แบรนด์ Blockdit
Blockdit เพื่อธุรกิจ
ไทย